ReadyPlanet.com


การค้างชำระค่าบริการ


กรณีที่ผู้ป่วยค้างชำระค่ายาของโรงพยาบาล  ไม่ทราบว่าถ้าผู้ป่วยไม่กลับมาจ่ายเงินอีก  หายไปเลย  โรงพยาบาลสามารถใช้ข้อกฎหมายบังคับได้หรือไม่ (แจ้งความดำเนินคดี อะไรประมาณนี้)  การค้างชำระไม่ได้ทำหนังสือสัญญาในลักษณะของเงิน***้  แค่กรอกแบบฟอร์มว่าค้างชำระเฉยๆ  ไม่มีอะไรการันตีเลยว่า  ผู้ป่วยจะกลับมาจ่ายเงินที่โรงพยาบาลอีก  จะทำอย่างไรดีครับ  โรงพยาบาลของผมเจอปัญหานี้บ่อยมาก บางรายค้างชำระ 1000 - 2000 บาท  แต่ไม่กลับมาจ่ายเลย ผมเกรงว่าอนาคตโรงพยาบาลของผมจะต้องเจ๊งแน่ ๆ ให้บริการ แต่ไม่มีเงินเข้าโรงพยาบาลเลย  รายได้จากโครงการ 30 บาท ก็ไม่เพียงพออยู่แล้ว  จะมีวิธีการใดบ้างครับ ที่จะบังคับให้ผู้ป่วยกลับมาจ่ายเงิน


ผู้ตั้งกระทู้ คนรักโรงพยาบาล :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (12834)

เรื่องค่ารักษาพยาบาล เป็นหนี้ ประเภท หนึ่งครับ ในลักษณะ ค่าจ้าง หรือค่าบริการ ซึ่งมีอายุความ สองปี  การป้องกันไม่ให้เกิดหนี้สูญในส่วนนี้ ก็ ควรจะหามาตราการ ในการติดตามทวงถาม ครับ เช่น ตั้งแผนก ทวงถาม หรือ ว่าจ้างให้บุคคลภายนอก ดำเนินการทวงถาม ก็ได้ครับ แต่ ไม่ต้องทำแบบ รุนแรงมาก เหมือนกับพวก บัตรเครดิต แต่ ก็ไม่ได้ละเลย จนหนี้เสีย

การทวงถาม ก็ ควรจะเป็นไปตามขั้นตอน เช่น ให้ฝ่ายบัญชี -การเงิน ติดต่อทวงถามก่อน หากเกินกำหนด ก็ควรจะให้ฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน หรือฝ่ายกฎหมาย เข้าดำเนินการ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งในการดำเนินการก็ต้องคำนึงถึงภาพพจน์ โรงพยาบาล ด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2004-11-16 10:29:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (3916584)

กรณีที่ผู้รักษาเสียชีวิตไปแร้ว โดยประมาณ 9 ปี พึ่งมีจดหมายแจ้งหนี้จากโรงพยาบาลส่งมาว่า มียอดค้างจ่ายทางโรงพยาบาลเป็นยอด....บาท

ต้องทำยังไงครับ ต้องไปติดต่อทางโรงพยาบาลหรือเปล่าครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น รบกวนตอบหน่วยนะคร่า (mewyoyo19120207-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-12-20 14:52:14 IP : 58.8.29.140


ความคิดเห็นที่ 3 (4139826)

กรณีไปทำฟันที่ รพ เอกชน แห่งหนึ่ง โดยใช้ประกันสังคมของทันตกรรม 900 บ.ต่อปี แต่ได้ได้ทำไปเกินจำนวนที่ประกันสังคมระบุไว้ แล้วมีส่วนต่างอีก 850 บาท ซึ่งเราไม่ทราบว่าจะมีส่วนต่างด้วย พยาบาลแนะนำให้ทำเรื่องประนอมหนี้ค่ารักษาพยาบาล  แต่เรายังไม่มีเงินจ่าย เราสามารถยืดการจ่ายค่าส่วนต่างได้ถึงตอนไหนคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศิราภรณ์ มุสะกะ (siraporn985-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-02-18 12:15:54 IP : 110.164.252.2


ความคิดเห็นที่ 4 (4264703)

 ถ้าไปรักษาพยาบาลแล้วไม่มีเงินชำระ จึงหนีออกมาเลย มีความผิดร้ายแรงไมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Oan วันที่ตอบ 2018-07-30 16:17:58 IP : 223.24.186.145


ความคิดเห็นที่ 5 (4268383)

 ถ้าไปรักษาแล้วไม่มีเงินชำระหนีออกมามีความผิดมากใหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธารธารา วันที่ตอบ 2018-08-24 11:14:49 IP : 49.229.83.18


ความคิดเห็นที่ 6 (4311316)

 โรงพยาบาลเอกชน แถวสุขาภิบาล 3 ยัดค่ารักหษาเกินที่ใช้บริการ ค่ารักษาแพงเกินขอตรวจใบเสร็จมีรายการนั่งรถเข็นแต่ไม่ได้นั่งเลยมีค่าฉีดยาแต่หมิยังไม่ฉีดเลยแค่ตรวจเช็ดอาการยังไม่มีการฉีดเลยแล้วใบเสร็จทางโรงพยาบาลยัดค่ารักษาแบบนี้คงไม่ต้องจ่ายค่ารักษาเลยได้มั้ย

ผู้แสดงความคิดเห็น ดาว วันที่ตอบ 2019-06-04 07:51:59 IP : 61.90.27.26


ความคิดเห็นที่ 7 (4314469)

 ลูกชายโดนรถชนเข้าโรงพยาบาลในอำเภอแค่ไม่กี่ชั้วโมงแล้วทางโรงพบาส่งต่อไปโรงพบาลในจังหวัดนอนโรงพยบาล 8 วัน แล้ว พรบ. จ่ายสอบถามเรื่องโรงพบาลในอำเภอแล้วเค้าบอกส่งต่อให้โรงบาลในจังหวัดหมดแล้ว จบ ออกจากโรงบาลมาเรื่องจบมาจะปีที่ 4 แล้วค่ะ ลูกไปหาหมอในอำเภอประจำไม่มีปัญหาอะไร พอมาวันนี้ลูกไม่สบายไปหาหมอ แล้วทางโรงบาลบอกติดค่าใช้จ่าย เรื่องอุบัติเหตุ จำนวน 7000 คือเราต้องจ่ายใช่ไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pang วันที่ตอบ 2019-06-23 14:38:04 IP : 182.232.53.74


ความคิดเห็นที่ 8 (4361149)

 ขอความคิดเห็นหน่อนค่ะ ตอนนี้มือแปดด้านแล้ว แม่ป่วยอยู่รพ.แกไม่มีบัตรแต่ทำสงเคราะห์แล้วแต่ต้องจ่ายประมาณ20000บาทเราทำงานรายวันไม่มีค่ารักษาจะขอผ่อนจ่ายกับรพ.ได้มั้ยและต้องทำอย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น ปรียาภา วันที่ตอบ 2020-02-19 12:57:44 IP : 171.6.16.14


ความคิดเห็นที่ 9 (4396297)

 ถ้าไม่ได้จ่ายเงินค่ารถล้มร.พ ตั้งแต่ปี60จนตอนนี้ปี63ร.พพึ่งส่งใบค้างชำระเงินมา จะมีโทษอะไรไหมคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณิชกมล วันที่ตอบ 2020-08-27 17:34:41 IP : 223.24.145.79


ความคิดเห็นที่ 10 (4397521)

 ถ้าไปรักษาพยาบาลแล้วไม่มีเงินจ่าย แล้วหนีออกมามีความผิดไหมค่

ผู้แสดงความคิดเห็น วนิดา วันที่ตอบ 2020-09-03 17:51:28 IP : 49.230.28.92



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.