ReadyPlanet.com


รบกวนคุณปมุข ด่วนมากครับ เรื่องสัญญาตั๋วเงินครับ


“การสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาตั๋วเงินนั้น ขัดต่อหลักนิติกรรมสัญญาทั่วไปหรือไม่”

 

การลงชื่อในสัญญาตั๋วเงินนั้น แม้จะมีเจตนาแต่สำคัญผิดในสาระสำคัญนั้นก็ไม่อาจทำให้สัญญาเป็นโมฆะได้ ซึ่งไม่ตรงกับหลักของการกระทำนิติกรรมสัญญาโดยทั่วไปที่ว่า สัญญาจะเป็นโมฆะเมื่อสำคัญผิดในสาระสำคัญ

อยากรบกวนถามว่า เพราะเหตุใด กฎหมายตั๋วเงินกับหลักนิติกรรมสัญญาทั้งสองอย่างนั้นถึงไม่ขัดต่อกัน (ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ)



ผู้ตั้งกระทู้ ป่าน :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (47157)

ต้องท้าว ความกันนิดหนึ่งนะครับ 

หนี้ มีบ่อเกิด อยู่สอง อย่าง คือ

 1. นิติเหตุ คือ ละเมิด และลาภมิควรได้

  2. นิติกรรม คือ การแสดงเจตนา ของผู้ทำนิติกรรม

      ซึ่งการทำนิติกรรม นั้น จะมีผลผูกพันเมื่อมีการแสดงเจตนา ออกมา แต่ การแสดงเจตนานั้น จะต้องเป็นการแสดงเจตนาโดยสมัครใจ มีเจตนาที่จะผูกพันตามนิติกรรมนั้นๆ ไม่ได้เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด  หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ อันจะมีผลทำให้ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ  

ซึ่งในเรื่องของนิติกรรม นั้น ก็จะที่มา จาก " เอกเทศสัญญา" 23 ลักษณะ ตาม ปพพ. ครับ ซึ่งนิติกรรม จะมีผลสมบูรณ์ หรือไม่ กฎหมายก็จะกำหนดรูปแบบ ของนิติกรรมต่างๆ ไว้ 

สัญญาตั๋วเงินนั้น เป็น เอกเทศสํญญาชนิดหนึ่ง ลักษณะที่ 21  ซึ่งกฎหมายกำหนดรูปแบบไว้โดยเฉพาะ ในมาตรา 900 ว่า " ผู้ใดลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน ย่อมรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น..." ซึ่งเป็นการกำหนดรูปแบบ สิทธิและหน้าที่ ของผู้ออกตั๋วเงินไว้โดยเฉพาะแล้ว  ดังนั้น ผู้ออกตั๋ว จึงต้องรับผิดในเนื้อความแห่งตั๋วเงินนั้นตรมบทบัญญัติ ของกฎหมายครับ  กฎหมายกำหนดรูปแบบของข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ออกตั๋วไว้โดยเฉพาะแล้ว ในเรื่อง ตั๋วเงินหาย , ตั๋วเงินปลอม ,ผู้ทรงกับผู้ทรงคนก่อนสมคบคิดกันฉ้อฉล ฯลฯ  ดังนั้น จึงต้องว่ากันไปตาม บทบัญญัติของ กฏหมาย ปพพ. ว่าด้วยตั๋วเงินครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 018202236 วันที่ตอบ 2005-02-02 13:16:00 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.