ReadyPlanet.com


ขอเรียนถามอาจารย์


ปัญหามีว่า นาย ก เป็นประธานสหกรณ์แห่งหนึ่งได้รัมอบอำนาจากคณะกรรมการสหกรณ์ให้แจ้งความดำเนินคดีแก่นาง ว ซึ่งเป็นผู้จัดการสหกรณ์ ในฐาน ยักยอกเงินของสหกรณ์จำนวนสามล้านบาทต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ เวียง พงส.ออกหมายจับนาง ว นาง วเข้ามอบตัว ต่อ พงส.สภ.เวียง
และได้รับประกันตัวไปในชั้น พงส. และต่อมาพงส.สอบสวนเสร็จส่งสำนวนให้อัยการต่อมานาง วได้ตกลงกับนาย ก ประธานกรรมการว่าจะนำเงินมาคืนให้สหกรณ์และให้นาย ก ถอนคำร้องทุกข์ต่อ พงส.ต่อมานายก ได้มาถอนคำร้องทุกข์ต่อพงส.ว่าจะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่นาง ว อีกต่อไปจึงขอถอนคำร้องทุกข์ต่อ พงส. พงส.จึงถอนคำร้องทุกข์ตามที่นาย ก แจ้งและได้ถอนหลักประกันไป ต่ออีกสามวัน นาย กจึงมาแจ้งความดำเนินคดีแก่นาง ว ต่อพงส.ว่าตามที่นาย ก มาถอนคำร้องทุกข์นั้นเป็นการมิชอบเพราะมิได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการให้มาถอนคำร้องจึงมาแจ้งความดำเนินคดีแก่นาง ว ในข้อหาเดิมอีก พงส.สภ.อ.เวียงจึงรับคำร้องทุกข์ไว้ ขอถามว่า
1.พงส.สภ.อ.เวียงมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้หรือไม่
2.พงส.จะใช้สำนวนเดิมได้หรือไม่
3.พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องหรือไม่
4.นาย ก จะอ้างว่าที่มาถอนคำร้องทุกข์นั้นเป็นการมิชอบได้หรือไม่ถ้าได้เพราะเหตุใด
5.สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับหรือไม่

จากคุณ : ผู้ไม่รู้


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้ไม่รู้ :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (42308)

กรณี เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา ว่า สิทธิการดำเนินคดีอาญา ของสหกรณ์ ระงับไปหรือไม่

1.พงส.สภ.อ.เวียงมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้หรือไม่ 

ตอบ  พสส. มีหน้าที่ ,อำนาจรับคำร้องทุกข์ครับ เพราะหากไม่รับ ก็จะเป็นความผิดฐานละเว้น แต่เมื่อ รับไว้แล้ว จะมีความเห็นทางคดี สั่งฟ้อง หรือไม่ฟ้อง เพราะเหตุใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ ,ในเบื้องต้น หากมีการร้องทุกข์ ก็ต้องรับไว้ครับ


2.พงส.จะใช้สำนวนเดิมได้หรือไม่

ตอบ  ไม่ได้ครับ เป็นคนละคดีกันครับ เพราะมีการร้องทุกข์กันคนละครั้ง


3.พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องหรือไม่

ตอบ  ก็ต้องดูพยานหลักฐานพอฟ้องหรือเปล่าละครับ


4.นาย ก จะอ้างว่าที่มาถอนคำร้องทุกข์นั้นเป็นการมิชอบได้หรือไม่ถ้าได้เพราะเหตุใด

ตอบ  ต้องพิจารณาหนังสือมอบอำนาจ และรายกงานการประชุมครับ ว่า มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ และประนีประนอมยอมความได้หรือไม่


5.สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับหรือไม่
ตอบ  ต้องพิจารณา จาก หนังสือมอบอำนาจ และรายงานการประชุม แหละครับ ว่า สหกรณ์ ได้มอบอำนาจ นาย ก. มาร้องทุกข์ และนาย ก. มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ และมีอำนาจประนีประนอมยอมความกันหรือไม่

หากมี ข้อความดังกล่าว ก็ถือว่า นาย ก. มีอำนาจในการถอนคำร้องทุกข์ และมีอำนาจในการประนีประนอมยอมความกันโดยชอบ  เมื่อ สหกรณ์ฯ ได้ถอนคำร้องทุกข์ไปแล้ว สิทธิการดำเนินคดีอาญามาฟ้อง ย่อมระงับ ไป ตาม ปวิ อ. มาตรา ๓๙(๒) ครับ

3596/25 จำเลยเป็นสหกรณ์อำเภอท่าใหม่ และเป็นเลขานุการคณะ

กรรมการร้านสหกรณ์ท่าใหม่จำกัดไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการที่จำเลยเก็บ

และรักษาเงินจากการจำหน่ายปุ๋ยให้แก่สมาชิกร้านสหกรณ์แล้วเบียดบังเอาไว้

จึงไม่ใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อทำจัดการหรือรักษาทรัพย์

ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.147

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเพราะการยอม

ความตาม ป.ว.อ.ม.39(2) โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านปัญหานี้ไว้จึงยุติ เมื่อ

โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุดังกล่าว ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่

ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้

ยกฟ้องได้ ฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่

คดี ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ 

 

หมวด 2

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

มาตรา 147 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด

เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่น

เอาทรัพย์สินนั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีหรือจำคุกตลอดชีวิต และ

ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่น

เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็น

เหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ป.วิอาญาฯ

***************************************************************************

มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้

(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด

(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้องหรือยอมความกัน

โดยถูกต้องตามกฎหมาย

(3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37

(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง

(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น

(6) เมื่อคดีขาดอายุความ

(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-01-26 12:12:00 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.