ReadyPlanet.com


ผู้ชำระบัญชีของบริษัทฯ ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์


เมื่อบุคคลเด็ดขาดแล้ว ผู้ชำระบัญชีคนดังกล่าวสามารถกระทำหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทได้ต่อไปหรือไม่ เช่นการแต่งตั้งทนายความเพื่อเป็นโจทก์ฟ้องคดีของบริษัทที่ตนเป็นผู้ชำระบัญชีอยู่ ขอคำตอบด้วยครับ


ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษาอยากรู้ :: วันที่ลงประกาศ 2005-05-03 16:26:50 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (99932)

กรณีเป็นปัญหาทางปฏิบัติครับ

ในความเห็นของผมนะ (อาจจะผิดก็ได้)

เมื่อ มีการขอชำระบัญชี บริษัท  กรรมการของบริษัทฯ ก็ต้องเป็นผู้ชำระบัญชีโดยผลของกฎหมาย มาตรา 1252 และ มีอำนาจหน้าที่ในการชำระบัญชีเป็นไป ไปตาม มาตรา 1259 ครับ  ส่วน กรณีที่คุณถามมา ว่า กรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ชำระบัญชี แล้ว จะขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ชำระบัญชี หรือไม่ ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า หาก ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ผู้ชำระบัญชีแล้ว จะทำให้ผู้ชำระบัญชีขาดคุณสมบัติ และไม่มีอำนาจ ในการแต่งตั้งทนายความ ตาม 1259

เพราะ การที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ นั้น เป็นเรื่องของการจำกัดสิทธิ เฉพาะตัวผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เท่านั้น ใน อันเกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ์ต่างๆ และทำให้เกิดหน้าที่ของผู้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เท่านั้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ขาดคุณสมบัติในการเป็นผุ้ชำระบัญชีแต่อย่างใด  ตาม ประมวลกฎหมาย แพ่ง และ พรบ.ล้มละลาย ก็ไมได้ห้ามไว้

แต่ถ้าหากมีปัญหาในการดำเนินคดีทางศาล ของบริษัทฯ ที่ผู้ถูกพิทัก์ทรัพย์แล้ว  

ศาลอาจจะทำการมีการสอบสวน แล้วมีคำสั่งให้แก้ไข เรื่องอำนาจฟ้องได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ครับ

 

 

มาตรา 1252 หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการบริษัทมีอำนาจโดยตำแหน่งเดิมฉันใด

เมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ฉันนั้น

 

มาตรา 1259 ผู้ชำระบัญชีทั้งหลายย่อมมีอำนาจดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(1) แก้ต่างว่าต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในอรรถคดีพิพาทอันเป็นแพ่ง

หรืออาญาทั้งปวง และทำประนีประนอมยอมความ

(2) ดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตามแต่จำเป็นเพื่อการชำระสะสาง

กิจการให้เสร็จไปด้วยดี

(3) ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

(4) ทำการอย่างอื่น ๆ ตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี

 

มาตรา 66 ผู้ใดอ้างว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของตัวความ หรือเป็นผู้แทนของ

นิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องยื่นคำขอโดยทำเป็น

คำร้องในขณะที่ยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ ศาลจะทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้นั้น

ก็ได้ และถ้าเป็นที่พอใจว่าผู้นั้นไม่มีอำนาจหรืออำนาจของผู้นั้นบกพร่อง ศาลมีอำนาจ

ยกฟ้องคดีนั้นเสียหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อ

ประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-18202236 วันที่ตอบ 2005-05-03 21:16:14 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.