ReadyPlanet.com


ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือฉ้อโกงประชาชนหรือไม่


สืบเนื่องจากกรณีรถชนแล้วไฟแนนซ์จะยึด ซึ่งเคยเรียนปรึกษากับคุณปมุขไปแล้วนั้น ปัจจุบัน จากการติดตามเรื่องพบว่าในประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงเวลาการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม116ตอน23ง วันที่ 23 มี.ค.2542 ซึ่งให้อำนาจนายทะเบียน(อธิบดีกรมการประกันภัย หรือ ผู้ที่อธิบดีฯมอบหมาย)ในการลงโทษบริษัทประกันภัย ในกรณีที่มีการประวิงการจ่ายค่าสินไหม ใน พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 6 กำหนดโทษ มาตราที่ 88 จากหลักการดังกล่าว ตามที่เราเคยร้องเรียนที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด โดยแจ้งให้เราทราบว่ารอให้เจ้าหน้าที่ของบ.พาณิชย์ฯ มาชี้แจง ซึ่ง เรารอมา 2 สัปดาห์แล้ว ได้มีการโทรติดตามงานเป็นระยะๆ ได้คำตอบว่าที่กรมการประกันภัยมีเรื่องเป็นพันเรื่อง บ.พาณิชย์ฯขาดสภาพคล่องแล้ว(ทราบว่ามีหนังสือเวียนมาที่ สนง.ประกันภัยทุกจังหวัด ให้สำรวจเรื่องร้องเรียนและรวบรวมเรื่องทั้งหมดและ จำนวนเงินค่าสินไหมค้างจ่าย)แต่ในปัจจุบัน บ.พาณิชย์ก็ยังมีการขายประกันภัย ให้กับบุคคลทั่วไป ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ไม่รู้เรื่อง เช่นที่นครสวรรค์มีร้องเรียนทุกวัน อยากถามท่านว่า 1.กรณีเช่นนี้ หัวหน้าสำนักงานประกันภัยจังหวัดและอธิบดีกรมการประกันภัย มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ สามารถแจ้งความเอาผิดได้หรือไม่ ถ้าผิดต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง 2.บ.พาณิชย์ฯ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ทำประกันภัยกับบริษัทพาณิชย์ฯ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ในกรณีฉ้อโกงประชาชนได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องดำเนินการอย่างไร 3.จากที่คุณปมุคเคยแนะนำให้ร้องเรียนที่ รมต.ว่าการกระทรวงพาณิชย์ นั้น เห็นว่าช่วงน้อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงและจัดตั้ง ครม. หากรอจน ได้ รมต.แล้วไปร้องเรียนท่านคิดว่าจะได้ผลหรือไม่ 4.หากร้องผ่านสื่อมวลชน เหมือนกรณีฮอนด้าซีอาร์วี ท่านว่าจะได้ผลหรือไม่ ถ้าได้ต้องดำเนินการอย่างไร 5.ตาม พรบ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 3 การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการวินาศภัย มาตรา 59 รมต. มีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เมื่อปรากฎแก่ รมต.ว่าบริษัท (1)มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน หรือมีฐานะการเงินไม่มั่นคงอันอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน และ(5)ถ้าประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันหรือประชาชน

       จากข้อกฏหมายที่อ้างถึงข้างต้นท่านคิดว่าเห็นควรดำเนินการอย่างไรบ้างเนื่องจากเป็นความเดือดร้อนของประชาชน บอกได้ว่ามีลักษณะเช่นนี้แทบทุกจังหวัด ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณโอกาสนี้

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ อธิการ :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (60590)

คือ กรณีที่ถามมา เป็นปัญหาที่ต้องเข้าใจกันทั้งฝ่ายผู้เสียหาย และฝ่าย  เจ้าหน้เที่ของรัฐนะครับ  จนท.ของรัฐ งบประมาณน้อย และมีจำนวนบุคคลากร น้อย ไม่เพียงพอที่จะมาแก้ปัญหาให้ได้  บางที่ ก็อาจจะขาดประสบการาณ์และความเข้าใจในวิธีปฏิบัติ จึงทำงานให้ได้ ไม่ทันใจผู้เสียหาย  ซึ่งต้องใจเย็นๆ ครับ 

1.กรณีเช่นนี้ หัวหน้าสำนักงานประกันภัยจังหวัดและอธิบดีกรมการประกันภัย มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ สามารถแจ้งความเอาผิดได้หรือไม่ ถ้าผิดต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

ตอบ  ถ้าหาก เป็นเช่นนั้น จริง เช่น คุณไปร้องเรียนแล้ว เค้าไม่ดำเนินการให้เลย โดยเห็นได้ชัดว่ามีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งคุณ คุณ ก็สามารถร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวน ได้ครับ ซึ่งโดยทั่วๆ ไป เค้าก็จะเรียกให้ไปไกล่เกลี่ยให้ครับ

 2.บ.พาณิชย์ฯ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ทำประกันภัยกับบริษัทพาณิชย์ฯ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ในกรณีฉ้อโกงประชาชนได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ  คงเป้นเรื่องผิดสัญญา หรือผิดข้อตกลงกันธรรมดาครับ ไม่ถึงกับเป็นการฉ้อโกงหรอก 

 3.จากที่คุณปมุคเคยแนะนำให้ร้องเรียนที่ รมต.ว่าการกระทรวงพาณิชย์ นั้น เห็นว่าช่วงน้อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงและจัดตั้ง ครม. หากรอจน ได้ รมต.แล้วไปร้องเรียนท่านคิดว่าจะได้ผลหรือไม่

ตอบ  ก็ต้องทำดูครับ เค้าจะมี จนท.รับเรื่องให้

 4.หากร้องผ่านสื่อมวลชน เหมือนกรณีฮอนด้าซีอาร์วี ท่านว่าจะได้ผลหรือไม่ ถ้าได้ต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ  ไม่ทราบครับ

 5.ตาม พรบ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 3 การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการวินาศภัย มาตรา 59 รมต. มีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เมื่อปรากฎแก่ รมต.ว่าบริษัท (1)มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน หรือมีฐานะการเงินไม่มั่นคงอันอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน และ(5)ถ้าประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันหรือประชาชน       จากข้อกฏหมายที่อ้างถึงข้างต้นท่านคิดว่าเห็นควรดำเนินการอย่างไรบ้างเนื่องจากเป็นความเดือดร้อนของประชาชน บอกได้ว่ามีลักษณะเช่นนี้แทบทุกจังหวัด ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณโอกาสนี้

ตอบ  กรณี แบบนี้ กรมการประกันภัย เค้าก็มีทางออกนี่ครับ คุณเอารถไปซ่อมที่ อู่กลางกรมการประกันภัยได้นี่ครับ , หรือ ทดรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน แล้วมาฟ้องเรียกร้องเอาในภายหลัง หรือ ถ้า จน?ดำเนินการลาช้า คุณต้องขอให้กรมการประกันภัยแจ้งปรับ บริษํทประกันภัยได้นี่ครับ หาก กรมการประกันภียไม่ดำเนินการ คุณก็ต้องฟ้องศาลปกครอง ให้มีคำสั่งให้ กรมการประกันภัย ดำเนินการได้ เพียงแต่ว่า จะคุ้มกับที่ต้องเสียเวาลาหรือเปล่า

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 018202236 วันที่ตอบ 2005-02-25 16:12:00 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.