ReadyPlanet.com


อยากทราบว่า ประมวลกฎวิธีพิจรารณาความอาญา แก้ใขใหม่หรือยังครับ


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับล่าสุดได้มีการแก้ใขใหม่หรือยังได้ยินข่าวว่าจะมีการแก้ให้สอดข้องกับ รัฐธรรมนูญ อยากทราบว่าแก้หรือยัง ถ่าแก้แล้วๆได้ประกาศลงใน ราชกิจจาณุเบกษาหรือยังครับ


ผู้ตั้งกระทู้ หมวย :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (58840)

แ ก้ไปแล้วครับ เปลี่ยนแปลงเรื่องเกี่ยวกับการตรวจค้น และจับกุม ตลอดจนการสอบสวนครับ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๗

 

มาตรา ๕๙/

 

Q:        ในกรณีมีผู้ยื่นคำร้องว่าถูกเจ้าพนักงานค้นบ้านและยึดทรัพย์สินไป ซึ่งทรัพย์สินนั้นตนเองมีสิทธิยึดหน่วงทางแพ่งไม่ใช่เรื่องทางอาญา  และขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง  ศาลควรจะดำเนินการอย่างไร

A:      ศาลควรไต่สวนคำร้องโดยให้ผู้ร้องแสดงพยานหลักฐานและถึงแม้ว่าจะเป็นการค้นโดยมีหมายค้นของศาลก็ตาม ศาลควรออกหมายเรียกเจ้าพนักงานที่ทำการค้นนั้นมาไต่สวนเพิ่มเติม ว่ามีเหตุที่จะออกหมายค้นได้ตามมาตรา ๕๙/๑ ประกอบมาตรา ๖๙ หรือไม่
เนื่องจากในชั้นไต่สวนคำร้องขอออกหมายค้นเป็นการไต่สวนพยานหลักฐานฝ่ายเดียว  
ข้อเท็จจริงอาจคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง หรือถ้าเป็นการค้นโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานได้ปฏิบัติถูกต้องตามมาตรา ๙๒ หรือไม่ และหากฟังได้ว่า
กรณีดังกล่าวไม่มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ร้องน่าจะได้กระทำความผิดอาญาหรือการค้นกระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดไปนั้นแก่ผู้เสียหายได้

มาตรา ๖๖

 

Q:        การจับหรือขังพยานหรือบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๗ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๖๖ และมาตรา ๗๑ หรือไม่

A:      บทบัญญัติรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่กล่าวถึงข้างต้นใช้เฉพาะการจับหรือขังในคดีอาญา ถ้าเป็นการจับหรือขังบุคคลตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติดังกล่าว หากแต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา ๗๑

 

Q:        การขอฝากขังถ้าผู้ต้องหาคัดค้านว่าพนักงานสอบสวนไม่มีพยานหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหากระทำความผิดหรืออ้างว่าตนเองไม่ได้กระทำความผิดศาลต้องไต่สวนตามข้อคัดค้านของผู้ต้องหาก่อนหรือไม่

A:      เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๒๓๗ และ ป.วิ อาญา มาตรา ๗๑ กำหนดว่า
การที่ศาลจะออกหมายขังตามมาตรา ๘๗ (ขังระหว่างสอบสวน) และ ๘๘ (ขังระหว่างพิจารณา) ต้องปรากฏว่ามีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหานั้นน่าจะได้กระทำความผิดและถ้าเป็นความผิดไม่ร้ายแรงต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นประกอบด้วย ดังนั้น ในการยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งแรก พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานตามสมควรว่า ผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดและถ้าเป็นความผิดไม่ร้ายแรงต้องแสดงให้เห็นด้วยว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ดังนั้น ศาลจะพิจารณาแต่เพียงว่ามีความจำเป็นต้องขังผู้ต้องหานั้นไว้เพื่อทำการสอบสวนหรือไม่ไม่ได้ แต่ต้องพิจารณาว่าการจับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเหตุที่จะออกหมายขังได้หรือไม่ก่อน แม้ผู้ต้องหานั้นจะไม่ได้คัดค้านแต่ประการใด อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ต้องหานั้นเป็นผู้ที่ศาลได้ออกหมายจับไว้ก่อนแล้วและเจ้าพนักงานจับผู้ต้องหานั้นมาตามหมายจับไม่น่าจะเป็นภาระแก่พนักงานสอบสวนในการเสนอพยานหลักฐานต่อศาลเท่าใดนักเพราะสามารถอ้างอิงหลักฐานเดิมที่เสนอไว้ในชั้นยื่นขอออกหมายจับได้ เว้นแต่ผู้ต้องหาจะมีพยานหลักฐานอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าข้อมูลหรือหลักฐานของพนักงานสอบสวนที่เสนอต่อศาลในชั้นแรกนั้นเป็นเท็จหรือไม่ถูกต้อง

 

Q:        ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และจำเลยไม่ได้ถูกคุมขังระหว่างสอบสวนเพราะจำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวหรือเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีการขอฝากขังต่อศาล  ครั้นเมื่อศาลประทับฟ้องของโจทก์แล้วจะสั่งขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาทันทีดังเช่นที่เคยปฏิบัติได้หรือไม่

A:      ถึงแม้ว่ามาตรา ๘๘  กำหนดว่า “….คดีที่พนักงานอัยการโจทก์ เมื่อได้ยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว  ศาลจะสั่งขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวก็ได้”  แต่การออกหมายขังตามมาตราดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา ๗๑ ซึ่งให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๖ เรื่องเหตุที่จะออกหมายจับ  มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว แต่ถ้าคดีนั้นยังไม่ได้มีการไต่สวนมูลฟ้องหรือเสนอพยานหลักฐานใด ๆ ต่อศาล หากศาลจะออกหมายขังจำเลยจะต้องปรากฏหลักฐานตามสมควรว่า  จำเลยน่าจะได้กระทำความผิดอาญา
และหากเป็นความผิดไม่ร้ายแรงต้องมีเหตุอันควรเชื่อด้วยว่าจำเลยจะหลบหนีหรือจะไป
ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น  จึงจะออกหมายขังได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าพนักงานอัยการโจทก์ประสงค์จะขอให้ขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาจะต้องร้องขอมาพร้อมคำฟ้องและแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวต่อศาลก่อน  ศาลจึงจะออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาได้

มาตรา ๘๓

 

Q:        ในกรณีที่ราษฎรเป็นผู้จับและแจ้งให้เจ้าพนักงานไปรับตัวผู้ถูกจับ ณ สถานที่จับกุมเจ้าพนักงานดังกล่าวต้องดำเนินการตามมาตรา  ๘๓  วรรคสองหรือไม่

A:      กรณีตามปัญหาเป็นเรื่องที่ราษฎรเป็นผู้จับเพียงแต่ราษฎรนั้นไม่ได้นำผู้ถูกจับ
ไปส่งยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยตรง หากแต่ติดต่อให้เจ้าพนักงานไปรับตัว
ผู้ถูกจับทันที ณ สถานที่จับกุม เมื่อได้ส่งมอบผู้ถูกจับให้แก่เจ้าพนักงานแล้ว ถือได้ว่า
เจ้าพนักงานผู้นั้นเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวและต้องปฏิบัติตามมาตรา ๘๔
() โดยเจ้าพนักงานต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้จับและพฤติการณ์
แห่งการจับ พร้อมทั้งแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิต่าง ๆ ให้ผู้ถูกจับทราบ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถกลับไปดำเนินการ ณ ที่ทำการของเจ้าพนักงานนั้นก็ได้ แต่ถ้าเจ้าพนักงานนั้นประสงค์จะสอบปากคำผู้ถูกจับ ณ สถานที่จับกุมก็ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบตามมาตรา ๘๔ (๒) ก่อน มิฉะนั้น ถ้อยคำดังกล่าวไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นตามมาตรา ๘๔ วรรคสี่

 

Q:        เหตุใดในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับจะต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาถึงสองครั้ง คือ ณ สถานที่ทำการจับกุมครั้งหนึ่งและ ณ ที่ทำการของพนักงานสอบสวนที่นำ
ผู้ถูกจับไปส่งอีกครั้งหนึ่ง

A:      ตามกฎหมายเดิมในขณะจับกุม เจ้าพนักงานผู้จับมีหน้าที่แจ้งเพียงว่าผู้ที่จะถูกจับนั้นจะต้องถูกจับโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาหรือแสดงหมายจับ (แม้จะมีหมายจับ) ซึ่งอาจ
ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าพนักงานและผู้ถูกจับได้ กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงกำหนดให้เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งข้อกล่าวหา ให้ผู้ถูกจับทราบ
ตั้งแต่ขณะทำการจับกุมเพื่อให้ผู้ถูกจับทราบถึงเหตุที่ต้องถูกจับ อย่างไรก็ตาม ในขณะ
จับกุมเจ้าพนักงานผู้จับอาจยังไม่สามารถตรวจสอบและแจ้งข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน กฎหมายจึงได้คงหลักการที่ให้มีการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบอีกครั้งหนึ่งเมื่อไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนแล้ว เพื่อให้โอกาสแก่ผู้จับกุมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ครบถ้วนและแจ้งข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง

มาตรา ๘๔

 

Q :       ถ้อยคำที่เป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับหรือถ้อยคำอื่นของผู้ถูกจับที่ให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานในชั้นจับกุม (โดยที่ไม่มีการแจ้งสิทธิตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง และมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง) ซึ่งกระทำก่อนวันที่กฎหมายใหม่มีผลใช้บังคับ (วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗) ศาลจะรับฟังถ้อยคำเหล่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

A :      ตามมาตรา ๒ ของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติมาตรา ๑๓๔/๑ วรรคสอง
ที่แก้ไขใหม่เท่านั้นที่ให้ใช้บังคับต่อเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนั้น มาตรา ๘๔ วรรคสี่ จึงมีผลใช้บังคับทันที
ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ และใช้บังคับแก่คดีทุกคดีรวมทั้งคดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวนหรือค้างพิจารณาอยู่ในศาลซึ่งได้เริ่มทำการสอบสวนหรือพิจารณามาก่อนวันที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ และใช้บังคับแก่การดำเนินการหรือกระบวนพิจารณาที่ต้องกระทำตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไปเท่านั้น โดยไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการใดๆ ที่ได้กระทำไปก่อนวันที่กฎหมายใหม่ใชับังคับ กล่าวคือ การใดที่ได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนก็ยังคงชอบด้วยกฎหมายอยู่เช่นเดิม ไม่จำเป็นต้องกลับไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือดำเนินการใหม่ ซึ่งเป็นหลักทั่วไปของการบังคับใช้กฎหมายวิธีสบัญญัติ ดังนั้น ถ้อยคำที่เป็นคำรับสารภาพหรือถ้อยคำอื่นใดของผู้ถูกจับที่เจ้าพนักงานได้มาโดยชอบภายใต้หลักกฎหมายเดิมยังคงต้องถือว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายแม้วิธีการได้มาจะแตกต่างไปจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่การจะรับฟังถ้อยคำเหล่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าการรับฟังนั้นจะเป็นการขัดแย้งกับหลักการรับฟังพยานหลักฐานตามกฎหมายใหม่หรือไม่ ซึ่งต้องแยกพิจารณาระหว่างถ้อยคำที่เป็นคำรับสารภาพกับถ้อยคำอื่น เนื่องจากมีหลักการในการรับฟังแตกต่างกัน

 

          ๑. กรณีที่เป็นคำรับสารภาพ กฎหมายใหม่ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดโดยเด็ดขาดโดยถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ไม่มีความน่าเชื่อถือในตัวเองทำนองเดียวกับถ้อยคำที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยการจูงใจหรือถูกบังคับขู่เข็ญ ถึงแม้การสอบถามถ้อยคำรับสารภาพนั้นเจ้าพนักงานกระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่อาจทำให้ถ้อยคำนั้นกลายเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ ดังนั้น คำรับสารภาพของผู้ถูกจับในชั้นจับกุมที่ให้ไว้ก่อนวันที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ แม้จะได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายเดิม ก็ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นได้

 

          ๒. กรณีที่เป็นถ้อยคำอื่น กฎหมายใหม่ไม่ได้ห้ามรับฟังโดยเด็ดขาดเพียงแต่วางบทลงโทษหรือสภาพบังคับไว้โดยไม่ให้รับฟังถ้อยคำดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ถ้าเจ้าพนักงานไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบก่อนตามที่กฎหมายบัญญัติ เสมือนหนึ่งว่าเป็นพยานที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้ามีการแจ้งสิทธิถูกต้องก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เพราะมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ไม่มีความน่าเชื่อถือดังเช่นคำรับสารภาพข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าพนักงานผู้จับหรือเจ้าพนักงานผู้รับมอบตัวปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย การไม่รับฟังถ้อยคำเหล่านี้จึงอยู่บนพื้นฐานว่าเจ้าพนักงานได้ถ้อยคำนั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น เมื่อถ้อยคำของผู้ถูกจับที่ให้ต่อเจ้าพนักงานในชั้นจับกุมก่อนวันที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ แม้ไม่ได้มีการแจ้งสิทธิ ก็ถือเป็นถ้อยคำที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวจึงไม่ได้ขัดแย้งกับหลักการของมาตรา ๘๔ วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่แต่ประการใด (แนวทางการวินิจฉัยทำนองนี้น่าจะปรับใชัได้กับการรับฟังถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนซึ่งได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับเนื่องจากหลักการตามมาตรา ๑๓๔/๔ วรรคสาม เป็นอย่างเดียวกับหลักการในข้อนี้ )

มาตรา ๘๗

 

Q :       ในระยะเริ่มแรกที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ มีคดีที่อยู่ระหว่างการฝากขังจำนวนมาก ที่พนักงานสอบสวนยังไม่ได้จัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาตามมาตรา ๑๓๔/๑ วรรคหนึ่ง (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) ในการไต่สวนคำร้องขอฝากขังตามมาตรา ๘๗ วรรคสามและวรรคเจ็ด ศาลมีหน้าที่ต้องสอบถามความประสงค์และแต่งตั้งทนายความให้แก่ผู้ต้องหาตามมาตรา ๘๗ วรรคแปด ทุกกรณีหรือไม่

A:      กรณีตามมาตรา ๘๗ วรรคแปด เป็นกรณีที่ผู้ต้องหาต้องร้องขอ ซึ่งแตกต่างจากมาตรา ๑๓๔/๑ และมาตรา ๑๗๓ ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและศาลต้องตั้งทนายความให้หรือต้องถามว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องการทนายความหรือไม่แล้วแต่กรณี โดยที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นไม่ต้องร้องขอ ดังนั้น โดยปกติศาลจึงไม่มีหน้าที่ต้องถาม
ผู้ต้องหาในเรื่องนี้ แต่ถ้าผู้ต้องหามีสิทธิที่จะมีทนายความตามมาตรา ๑๓๔
/๑ และพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓๔/๑ เมื่อผู้ต้องหานั้นร้องขอต่อศาล ศาลต้องแต่งตั้งทนายความให้ก่อนทำการไต่สวน ซึ่งถ้าไม่สามารถจัดหาทนายความให้ได้ย่อมส่งผลกระทบต่อการพิจารณาคำร้องขอฝากขัง ในกรณีเช่นว่านี้จึงควรกำชับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาตามมาตรา ๑๓๔/๑ ให้เรียบร้อยก่อนยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลตามมาตรา ๘๗

 

Q:        ระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับไว้
จะนับรวมเวลาเดินทางตามปกติที่ต้องนำตัวผู้ถูกจับจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนไปศาลด้วยหรือไม่

A:      เนื่องจากมาตรา ๘๗ ที่แก้ไขใหม่ได้ตัดข้อความที่ว่า “...แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ถูกจับมาศาลรวมเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย…” ดังนั้น พนักงานสอบสวนจึงต้องนำผู้ถูกจับไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับ
มาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยนับรวมเวลาเดินทางดังกล่าวด้วย แต่ถ้ามีเหตุ
สุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ก็อาจขยายเวลาออกไปได้จนกว่าเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นนั้นจะสิ้นสุดลงตามมาตรา ๘๗ วรรคสาม

 

Q:        เจ้าพนักงานยื่นคำร้องขอฝากขังโดยอ้างว่าอยู่ระหว่างเสนอสำนวนให้
ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเป็นเหตุที่จะอนุญาตให้ฝากขังได้หรือไม่

A:      การยื่นคำร้องขอฝากขังตามมาตรา ๘๗ ต้องมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวน
ซึ่งกรณีตามคำถามหากเป็นความจริงอาจถือว่าเป็นเหตุจำเป็นประการหนึ่งที่ศาล
จะอนุญาตให้ฝากขังได้ แต่ระยะเวลาที่ศาลจะอนุญาตต้องกำหนดให้ตามความจำเป็นแห่งกรณี ซึ่งกรณีเช่นนี้ศาลควรไต่สวนผู้ร้องขอเพื่อกำหนดเวลาให้เท่าที่เห็นว่าจำเป็นได้

มาตรา ๑๐๘/

 

Q:        เหตุใดจึงต้องแจ้งคำสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งผู้ยื่น
คำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบเป็นหนังสือ และควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร

A:         ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่ปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกขังและ
ไม่สะดวกแก่การที่จะตรวจสอบรายละเอียดของเหตุผลในคำสั่งศาลเพื่อใช้สิทธิใน
การอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว กฎหมายจึงกำหนดให้ศาลแจ้งคำสั่งไม่ปล่อยชั่วคราว
ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งผู้ยื่นคำร้องขอทราบเป็นหนังสือ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับทราบถึงเหตุผลของคำสั่งเช่นว่านั้นและสามารถจัดทำอุทธรณ์ได้อย่างถูกต้อง ส่วนวิธีการแจ้ง
คำสั่งนั้น เพื่อความรวดเร็วอาจใช้วิธีถ่ายสำเนาคำสั่งและมอบให้
เจ้าพนักงานผู้ควบคุมนำไปมอบแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยทำหลักฐานการรับส่งไว้ให้ชัดเจนก็ได้

มาตรา ๑๑๙

 

Q:        ตามมาตรา ๑๑๙ วรรคสอง ที่กำหนดให้ศาลชั้นต้นที่พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีมีอำนาจออกหมายบังคับคดีผู้ผิดสัญญาประกัน และให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา นั้น มีความมุ่งหมายอย่างไร

A:        ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดีผู้ถูกปรับตามสัญญาประกันในปัจจุบันคือ เรื่องของความล่าช้าในขั้นตอนของการออกหมายบังคับคดีและการนำยึด เนื่องจากมีหลายศาลต้องรอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอออกหมายบังคับคดีก่อนจึงจะออกหมายได้ ส่วนการนำยึดพนักงานอัยการมักจะปฏิเสธว่าไม่มีหน้าที่ต้องทำ ทำให้มีกรณีค้างบังคับคดีอยู่เป็นจำนวนมากและมีหลายคดีที่ผู้ถูกปรับตามสัญญาประกันตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายและในคดีเหล่านั้นมีการนำยึดทรัพย์ซึ่งเป็นหลักประกันไปขายทอดตลาดเป็นเหตุให้สำนักงานศาลยุติธรรมตกอยู่ในฐานะที่ต้องไปขอเฉลี่ยทรัพย์หรือขอรับชำระหนี้ในคดีเหล่านั้น ทำให้ได้รับความเสียหาย ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งปรับนายประกันแล้วสามารถออกหมายบังคับคดีได้ทันที และให้ผู้อำนวยการประจำศาลมีหนังสือแจ้งการนำยึดพร้อมทั้งส่งโฉนดที่ดินหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเร็ว ก็เท่ากับเป็นการยึดทรัพย์อันเป็นหลักประกันไว้แล้ว และสามารถดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ไม่ได้ยกเลิกหรือมีผลกระทบต่ออำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการเกี่ยวกับการบังคับคดีผู้ถูกปรับตามสัญญาประกันที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการแต่อย่างใด

มาตรา ๑๓๔

 

Q:        ในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกคุมขังโดยหมายของศาลอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนอีกครั้งหนึ่งได้แจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหานั้นทราบแล้ว หากพนักงานสอบสวนในคดีหลังประสงค์จะควบคุมผู้ต้องหานั้นไว้ในคดีหลังด้วยเพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องหาหลบหนี จะมีวิธีดำเนินการอย่างไร

A:      พนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการได้สองทาง คือ

ประการแรก ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับผู้ต้องหานั้นไว้ก่อน โดยแสดงให้ศาลเห็นว่ามีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดและถ้าเป็นความผิดไม่
ร้ายแรงต้องแสดงให้เห็นด้วยว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ซึ่งเงื่อนไขประการหลังนี้น่าจะหาข้อมูล
ได้จากคดีที่ผู้ต้องหานั้นถูกคุมขังอยู่ เพราะคดีนั้นหากไม่มีเหตุดังกล่าวศาลจะออกหมายขังไม่ได้

ประการที่สอง นำมาตรา ๑๓๔ วรรคห้า มาใช้บังคับแต่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม
โดยขอให้ศาลเบิกตัวผู้ต้องหานั้นมาศาล เพราะผู้ต้องหานั้นถูกคุมขังไม่อาจมาศาลด้วยตนเอง
และเมื่อเบิกตัวผู้ต้องหามาแล้ว พนักงานสอบสวนมีอำนาจขอฝากขังผู้ต้องหานั้นได้ตามมาตรา ๘๗ เช่นเดียวกับการขอฝากขังผู้ถูกจับ

Q:        คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง หรือคดีในศาลจังหวัดที่ต้องใช้วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง จะนำมาตรา ๑๓๔ วรรคห้า มาใช้บังคับได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร

A:        ตามมาตรา ๔ แห่ง พ...จัดตั้งศาลแขวง ฯ กำหนดให้นำกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไปใช้บังคับ ในกรณีที่ พ...จัดตั้งศาลแขวง ฯ ไม่มีบทบัญญัติที่จะใช้บังคับ
ได้โดยตรง ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ฯ ไม่มีบทบัญญัติลักษณะอย่างเดียวกับมาตรา ๑๓๔ จึงต้องนำมาตรา ๑๓๔ วรรคห้าไปใช้บังคับ กล่าวคือ ในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงหรือคดีที่ต้องใช้วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงบังคับหากพนักงานสอบสวนเห็นว่า มีเหตุที่จะขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนก็อาจสั่งให้ผู้ต้องหานั้นไปศาลเพื่อขอฝากขังได้เช่นกัน แต่วิธีการร้องขอฝากขัง ตาม พ
...จัดตั้งศาลแขวง ฯ
มีระบบการผัดฟ้องฝากขังบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ พนักงานสอบสวนจึงต้องขอผัดฟ้องฝากขังไปตามระบบวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และจะนำ ป.วิ อาญา มาตรา ๘๗ มาใช้บังคับไม่ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 018202236 วันที่ตอบ 2005-02-22 19:38:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (59207)
แต่เท่าที้ทราบมาแก้แล้วก็จริงแต่ยังอยู่อในขั้นรอลงพระปรมาภิทัยอยู่ไม่ใช้หรือครับยังไม่ได้ประกาศใช้ผมว่าใช้ไปตามรัฐธรรมนูญก็น้าจะได้อยู่นะ
ผู้แสดงความคิดเห็น สมหมาย วันที่ตอบ 2005-02-23 11:53:00 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.