ReadyPlanet.com


ขอถามปัญหาเกียวกับการแบ่งมรดกหน่อยค่ะ


นาย ก. กับนาง ข. จดทะเบียบสมรสกัน   นาย ก.   มีนาย ค.น้องร้วมบิดา และมี นาย จ. น้องร่วมมารดา  นาย ก. ทำพินัยกรรมยกมรดกทั้งหมดให้ นาย จ. แต่นาย จ.มาตายลงก่อน นาย ก.  และหลังจากนั้น นาย ก.ก็ตายไปตาม นาย จ.   และนาย จ.ยังมีลูกที่ชอบด้วย กม. คือ ด.ช.M      หาก นาย ก. มีมรดก 300,000 บาท   อยากถามว่าจะแบ่งกันอย่างไรจึงจะถูกต้องตาม  กม.       *และกรณี ด.ช. M เขาจะรับมรดกแทนพ่อเขาที่ตายได้หรือไม่คะ


ผู้ตั้งกระทู้ วิมล :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (73491)

คำถามของคุณ แยกพิจารณาได้ดังนี้ครับ

นาง ก. ได้ทำพินัยกรรม ยกทรัพย์มรดกให้แก นาย จ. แต่นาย จ.ตายก่อนเจ้ามรดก ถือว่า ข้อพินัยกรรมดังกล่าวเป็นอันตกไป ตาม ปพพ. มาตรา1698 (1) และพินัยกรรมดังกล่าวตกทอดแก่ ทายาทโดยธรรมทั่วไป ตาม  ปพพ.1699

ซึ่งการที่มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม นั้น ก็ต้องว่ากันตามการแบ่งทรัพย์มรดก ทั่วไป ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่ให้มา ผู้มีสิทธิได้รับมรดก ของนาย ก. มีอยู่ 2 คนครับ คือ

  1. นาง ข. ในฐานะคู่สมรส มีสิทธิได้รับมรดก ครึ่งหนึ่ง ตาม มาตรา 1635 

  2 เด็ก ชาย M ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ทายาท ตาม 1629 (3) มีสิทธิได้รับครึ่งหนึ่งครับ

 

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630

วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษ

แห่งมาตรา 1635

มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตาย

นั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่

แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาท

ชั้นบุตร

(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดก

แทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2)

แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

(3) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมี

ผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตามมาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่

มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม

(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับ

มรดกทั้งหมด

มาตรา 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

(2) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเสร็จสิ้นลง

และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จหรือปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไข

นั้นไม่อาจสำเร็จได้

(3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม

(4) เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจ

ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมมิได้ได้มาซึ่งของแทน หรือ

ซึ่งสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์สินนั้นสูญหายไป

มาตรา 1699 ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใด

เป็นอันไร้ผลด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือได้แก่

แผ่นดินแล้วแต่กรณี

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-03-16 11:13:27 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.