ReadyPlanet.com


บัญชีเงินฝาก 3 คน กับเรื่องแสนงงของคนไม่รวย


นาย ก และ นาง ข เป็นคู่สมรสกัน ส่วน นาย ค เป็นทายาท

โดย ก และ ข เปิดบัญชีเงินฝากร่วมกัน "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" ยอดเงิน 6 แสน

 

ต่อมาจึงปิดและเปิดบัญชีใหม่ (ฝากประจำ เวลาครบเดือน จะต้องปิดเปิดเล่มใหม่)

โดย ใส่บัญชีร่วมเป็น ก  ข  ค "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" ยอดเงิน 6 แสน

 

ต่อมา เมื่อครบเดือน จึงปิดเปิดเล่มใหม่ 

แต่ครั้งนี้ ใส่ชื่อ ข และ ค "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" ยอดเงิน 6 แสน

 

จากกรณีนี้ อยากสอบถามเป็นความรู้ว่า

1.ถ้านาย ก เสียชีวิต เงินในบัญชี ข และ ค "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" จะต้องแบ่งสินสมรสอย่างไร

2.ถ้านาง ข เสียชีวิต เงินในบัญชี ข และ ค "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" จะเป็นอย่างไรต่อไป (กรณี ก ยังอยู่)

 

 

และ กรณีสุดท้าย

หาก ปิดบัญชี  ข และ ค "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" ยอดเงิน 6 แสน และเปิดใหม่ เป็นบัญชีนาย ค คนเดียว

อยากสอบถามเป็นความรู้ว่า

 

3.เมื่อนาย ก หรือ นาง ข คนใดคนหนึ่งหรือทั้งคู่เสียชีวิต จะต้องนำเงินในบัญชีของ นาย ค (ซึ่งเป็นชื่อนาย ค คนเดียว) มาเข้ากองมรดกไหมของ ก หรือ ข หรือไม่

4.นาย ก หรือ นาง ข สามารถใช้สิทธิทวงคืนสินสมรสได้ไหม



ผู้ตั้งกระทู้ แฟนคลับตัวยง :: วันที่ลงประกาศ 2018-12-13 22:28:00 IP : 27.130.63.177


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4284837)

 การถือกรรมสิทธิ์ร่วม

 

1.ถ้านาย ก เสียชีวิต เงินในบัญชี ข และ ค "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" จะต้องแบ่งสินสมรสอย่างไร

 

ตอบ...เมื่อเปิดบัญชีร่วมกัน ( ข.และ ค ) ถือว่า แต่ละคนมีส่วนเป็นเจ้าของ คนละ  3 แสนบาท  ส่วนของ ข.  เป็นสินสมรส  ข. แบ่งไว้  150,000  บาท  ที่เหลือ  150,000 บาท เป็นมรดก ตกทอดแก่ทายาท อันได้แก่ ข และบุตร (ถ้ามี)  ส่วน ค.ก็รับส่วนแบ่งไป  3 แสนบาท..

2.ถ้านาง ข เสียชีวิต เงินในบัญชี ข และ ค "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" จะเป็นอย่างไรต่อไป (กรณี ก ยังอยู่)

ตอบ..ถ้า  ข.ตาย  ส่วนของ ข.  3 แสน บาท จะเป็นมรดก ตกทอดแก่ทายาท

 

 

และ กรณีสุดท้าย

หาก ปิดบัญชี  ข และ ค "คนใดคนหนึ่งเบิกถอนก็ได้" ยอดเงิน 6 แสน และเปิดใหม่ เป็นบัญชีนาย ค คนเดียว

อยากสอบถามเป็นความรู้ว่า

 

3.เมื่อนาย ก หรือ นาง ข คนใดคนหนึ่งหรือทั้งคู่เสียชีวิต จะต้องนำเงินในบัญชีของ นาย ค (ซึ่งเป็นชื่อนาย ค คนเดียว) มาเข้ากองมรดกไหมของ ก หรือ ข หรือไม่

ตอบ...ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เงิน 6 แสนบาท เป็น ของ ก ข ค  ร่วมกัน  จึงจะนำ เงิน 4 แสนบาท มาเข้ากองมรดกได้  แต่การพิสูจน์ น่าจะทำได้ลำบาก  ค.คงบอกว่าเงินเป็นของเขาผู้เดียว ทั้ง 6 แสยบาท

4.นาย ก หรือ นาง ข สามารถใช้สิทธิทวงคืนสินสมรสได้ไหม

ตอบ...ทวงได้  แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เงิน 6 แสน บาท ให้ ค. ถือกรรมสิทธิ์แทน....ทำไม มาทำเรื่องง่ายๆ ให้เป็นเรื่องยากไปได้  ก็แบ่งกันเปิดบัญชีเป็นสัดส่วน ไม่ดีกว่าหรือ...การฟ้องร้อง มีแต่ความสูญเสีย  โบราณท่านว่า กินขี้หมาดีกว่า การมีคดีฟ้องร้องกัน...

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2018-12-14 11:52:19 IP : 101.51.81.177



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.