ReadyPlanet.com


ฟ้องขับไล่


อยู่ในระหว่างการฟ้องขับไล่ (รอศาลนัดวัน) ประมูลจากการขายทอดตลาดกรมบังคับคดี 1. เมื่อทรัพย์ถูกยึดก่อนที่เจ้าของเก่าจะมีสัญญาเช่ากับผู้อื่น ทางผู้เช่าไม่สามารถนำหนังสือสัญญาเช่ามาอ้างในการโต้แย้ง ใช่หรือไม่อย่างไรครับ(พอจะอธิบายเพิ่มเติมได้ไม๊ครับ) 2. ทางผมซึ่งประมูลได้ จำเป็นต้องหาเอกสารในการยึดแจ้งให้ทางผู้พิพากษาทราบหรือไม่ครับ(จำเป็นหรือไม่ครับ) 3. ถ้าหากบ้านถูกยึดทรัพย์มากนานมากแล้ว(ประมาณ 7- 8 ปี) ทางจำเลยและบริวานหรือบุคคลอื่นๆ ยังสามารถหาข้อโต้แย้งอะไรมาได้แย้งได้อีกหรือไม่ครับ(พออธิบายเพิ่มได้บ้างไหม้ครับ)


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้ประมูลบ้านได้ :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (58224)

ในเรื่องลักษณะนี้ เคยอธิบาย มาหลายครั้งแล้วครับ เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาว่า ระหว่าง" ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเจ้าของเดิม และผู้เช่าจากเจ้าของเดิม ใครมีสิทธิดีกว่ากัน "

ซึ่งโดยหลักกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิทธิ หรือสิทธิในตัวทรัพย์นั้น คนที่มีกรรมสิทธิ์ ย่อมมีสิทธิดีกว่า คนอื่น ครับ โดยเฉพาะในกรณี การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาล สิทธิของผู้ซื้อ ย่อมดี กว่าทุกคน ถึงแม้ จะมีการพิสูจน์ได้ว่า เจ้าของเดิม จะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์นั้น หรือมีผู้อื่นมีสิทธิดีกว่าเจ้าของเดิม 

แต่ถึงแม้ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด จะมีสิทธิดีกว่า ทุกคน แต่การบังคับตามสิทธิของ ผู้ซื้อทรัพย์ ยังต้องเป็นไปตาม กระบวนการที่กฎหมายวิธีสบัญญัติกำหนดไว้ครับ คือ ในกรณีซื้อบ้าน จากกรมบังคับคดี หากจะบังคับตามสิทธิของตน ก็ต้องฟ้องขับไล่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้น  ไม่ว่า ผู้อาศัยในบ้านดังกล่าว จะอยู่ในฐานะอะไร  เช่น เจ้าของเดิม หรือผู้เช่า จากเจ้าของเดิม 

ซึ่งเมื่อคุณฟ้อง ขับไล่แล้ว โดยหลักกการของกระบวนการยุติธรรมก็ต้องเปิดโอกาสให้ ผู้ที่ถูกฟ้อง ต่อสู้คดี หรือพิสูจน์สิทธิของตนต่อศาล  ซึ่งเป็นที่มา ของการต่อสู้คดี ในลักษณะประวิงคดี เพื่อให้มีระยะเวลายืดยาวออกไป เพื่อที่จะให้ได้มีระยะเวลาในการหาประโยชน์ ในบ้านดังกล่าวนานๆ  ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ก็ตาม เท่าที่นิยม ก็คือ ต่อสู้คดี โดยอ้างพยานหลักฐานต่างๆ นาๆ เหตุผล แบบข้างๆ คูๆ และอาศัยความสัมพันธ์พิเศษ ของทนาย  ในการขอเลื่อนคดี หรือขอยืดระยะเวลาออกไป ให้นานๆ  ในกรณีของคุณก็เช่นกัน การยกข้อต่อสู้ อย่างที่คุณเล่ามา ก็ คือ การยกข้อต่อสู้ในลักษณะที่เป็นการประวิงคดี เพื่อหาประโยชน์ในบ้านดังกล่าว  ให้ได้นานที่สุด และ ก็สามารถจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน ออกไปให้พ้นจากอำนาจศาล ในการบังคับคดี เมื่อคุณชนะคดีในที่สุดแล้ว 

ตอบตามปัญหานะครับ

1. เมื่อทรัพย์ถูกยึดก่อนที่เจ้าของเก่าจะมีสัญญาเช่ากับผู้อื่น ทางผู้เช่าไม่สามารถนำหนังสือสัญญาเช่ามาอ้างในการโต้แย้ง ใช่หรือไม่อย่างไรครับ(พอจะอธิบายเพิ่มเติมได้ไม๊ครับ)

ตอบ  เป็นการอ้างเหตุผล ในการต่อสู้คดี เพื่อจงใจให้เป็นการสู้ข้อกฏหมาย ที่จำเลยจะใช้สิทธิในการต่อสู้คดี ถึงสามศาล คือ ศาลชั้นต้น ,ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ครับ

2. ทางผมซึ่งประมูลได้ จำเป็นต้องหาเอกสารในการยึดแจ้งให้ทางผู้พิพากษาทราบหรือไม่ครับ(จำเป็นหรือไม่ครับ)

ตอบ  ไม่จำเป็นครับ , พยานหลักฐานที่จำเป็นของคุณ ก็คือ หลักฐานการได้มา โดยการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดครับ

 3. ถ้าหากบ้านถูกยึดทรัพย์มากนานมากแล้ว(ประมาณ 7- 8 ปี) ทางจำเลยและบริวานหรือบุคคลอื่นๆ ยังสามารถหาข้อโต้แย้งอะไรมาได้แย้งได้อีกหรือไม่ครับ(พออธิบายเพิ่มได้บ้างไหม้ครับ)
ตอบ  มีข้อต่อสู้ อีกสารพัด ครับ  คุณสามารถหาอ่านได้จากคำพิพากษาฎีกา เรื่องขับไล่ ซึ่ง มีเป็นหมื่นๆ เรื่องๆ ครับ

 

 

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-02-21 19:29:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (58283)

มีทางแก้วิธีของจำเลยที่ประวิงคดี โดยการหาทนายที่มีความชำนาญการพิเศษทำคดีจะดีกว่า เพื่อจะได้เข้าอยู่บ้านได้เร็ว ๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น แฟนพันธ์แท้ คณปมุข วันที่ตอบ 2005-02-21 21:09:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 3 (3239020)

พอดีดิฉันอยากถามว่า ตอนดิฉันเลิกกับแฟน เราเคยทำสัญญากู้ร่วมกัน  แล้วทีนี้ดิฉันก็พูดเป็นคำปากกับเขาว่าบ้านมันอยู่แถวบ้านเขาคือพะเยา แต่ฉันเป็นคนเชียงราย ในเมื่อเลิกกันแล้วดิฉันก็จะกลับไปอยู่บ้าน และพอดีน้องชายเขาก็ช่วยกันส่งเขาบอกว่าจะเอาให้ลูกดิฉันและหลาน ถ้ามันส่งเสร็จ ยอดตอนนี้ที่ต้องส่งอยู่ที่ 2 แสนกว่าบ้าน ถ้าหากเขาส่งไม่ไหว แล้วเขายืดบ้านคดีมันก็เป็นชื่อดิฉันกับแฟน แล้วดิฉันควรจะทำไงดีค่ะ ปล่อยให้เขายืดไป หรือหากราคาขายไม่พอให้ธนาคาร เขาจะมาเอาที่เราใหม ถ้าหากเราปล่อยไม่สนใจ ภายในกี่ปีจะยกเลิกสัญญาได้ เป็นคดีแพง น่ะค่ะ  ใครมีประสบการณ์ชวยแชร์ด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แบม (meen_sky1-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-03-04 10:58:44 IP : 11.0.100.86



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.