ReadyPlanet.com


รับของโจร


ให้คน***้ยืมเงิน มีสัญญาเงิน***้ และ มีสร้อยทองค้ำประกันไว้ หากสร้อยทองนี้เป็นของที่ถูกขโมยมา คนให้***้เงิน จะเจอข้อหา รับซื้อของโจรหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ ปลัดแดง :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (43600)

จะโดนความผิดเรื่องรับของโจร หรือไม่ ต้องดู ว่า ผู้รับ รู้หรือควรจะรู้หรือไม่ว่า ทรัพย์ที่ได้รับไว้ ได้มาจากการกระทำความผิด  ซึ่งต้องดูจากพฤติการณ์เป็นเรื่องๆ ไปครับ หาก ไม่รู้ว่า เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด ก็ไม่ต้องกลัวครับ

มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้

โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะ

ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก

หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจรต้องระวางโทษจำคุก

ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์

อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการ

ลักทรัพย์ตามมาตรา 335ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339ทวิ หรือการปล้นทรัพย์

ตามมาตรา 340ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่

หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

558/2540

โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จำเลย นายอนันต์หรือเปี๊ยก ผุดวรรณา กับพวก

อาญา รับของโจร (มาตรา 357)

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา

83, 357, 334

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวล

กฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคหนึ่ง ให้ลงโทษจำคุกมีกำหนดคนละ 3 ปี

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "....ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสอง

ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานรับของโจรตามฟ้องหรือไม่ โจทก์

มีสิบตำรวจสมบัติ ค้ายาดี และร้อยตำรวจโทสมบูรณ์ ตันติวรพิพัฒน์

เจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับจำเลยทั้งสองมาเบิกความยืนยันว่า ขณะจับ

นายประเสริฐคนร้ายที่ลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไป นายประเสริฐ

รับสารภาพว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้พานายประเสริฐนำรถจักรยานยนต์ไปจำนำ

ไว้แก่จำเลยที่ 2 พยานจึงเดินทางไปที่บ้านจำเลยที่ 2 พบจำเลยที่ 2 และ

จำเลยที่ 2 บอกว่าจำเลยที่ 1 ได้นำนางจันทร์ กระต่ายเทศ มาไถ่ถอนจำ

นำรถจักรยานยนต์คืนแล้ว จำเลยที่ 2 นำพยานไปที่บ้านจำเลยที่ 1 พบ

จำเลยที่ 1 ระหว่างทางสอบถามจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ว่านางจันทร์

นำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาจอดทิ้งไว้ พยานจึงจับจำเลยทั้งสอง

ชั้นจับกุมจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามบันทึกการจับกุมเอกสารหมาย

จ.10 เห็นว่า จากคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองได้ความเพียงว่า จำเลย

ที่ 1 เป็นผู้พานายประเสริฐนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจำนำไว้แก่

จำเลยที่ 2 พยานโจทก์ทั้งสองอ้างว่าชั้นจับกุมจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ

ตามบันทึกการจับกุมเอกสารหมาย จ.10 ศาลฎีกาได้ตรวจดูบันทึกการจับกุม

ดังกล่าวในช่องจำเลยทั้งสองให้การว่าแล้ว หาได้มีข้อความใดระบุว่าจำเลย

ทั้งสองให้การรับสารภาพไม่ หากจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม

จริง เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับจำเลยทั้งสองย่อมจะต้องบันทึกรายละเอียดของ

คำให้การรับสารภาพในบันทึกการจับกุมดังกล่าวไว้ การไม่ระบุรายละเอียด

คำให้การของจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจรังฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การรับ

สารภาพในชั้นจับกุม ทั้งจากคำเบิกความของร้อยตำรวจโทสมบูรณ์พยาน

โจทก์ก็ว่าจำเลยที่ 1 รับกับพยานว่า เป็นผู้ช่วยเหลือนายประเสริฐนำรถ

จักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจำนำไว้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ไม่

ทราบว่ารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวนายประเสริฐได้ลักมา ซึ่งความในข้อนี้

ก็สอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.14

ที่ระบุว่า นายประเสริฐมาอ้อนวอนจำเลยที่ 1 ให้ช่วยจำนำรถจักรยานยนต์

ของผู้เสียหาย ซึ่งนายประเสริฐอ้างว่าเป็นรถจักรยานยนต์ของตน จำเลยที่

1 จึงพานายประเสริฐพร้อมกับนำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปจำนำไว้แก่

จำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณา จำเลยที่ 1 ก็นำสืบสอดคล้องกับคำให้การชั้น

สอบสวนว่า นายประเสริฐเพื่อนของจำเลยที่ 1 มาขอให้จำเลยที่ 1 ช่วย

นำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายซึ่งนายประเสริฐอ้างว่าเป็นของตนไปจำนำ

เพื่อนำเงินมาไถ่ถอนจำนำที่นายประเสริฐนำหม้อหุงข้าวไปจำนำบุคคลอื่นไว้

คืน จำเลยที่ 1 เชื่อใจนายประเสริฐจึงพานายประเสริฐนำรถจักรยานยนต์ไป

จำนำไว้แก่จำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ได้ความจากคำเบิกความของร้อย

ตำรวจโทสมบูรณ์ว่า จำเลยที่ 2 บอกพยานว่าเห็นจำเลยที่ 1 เป็นคนรู้จักกัน

มาก่อนและไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงรับจำนำรถจักรยานยนต์ของนายประเสริฐไว้

แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 จะให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้

การเอกสารหมาย จ.15 ในตอนแรกว่าจำเลยที่ 1 กับนายประเสริฐนำรถ

จักรยานยนต์มาให้ช่วยซ่อม โดยจัดการปะยางล้อหลังเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

1 หัว ตั้งระบบไฟฟ้าให้ แต่จำเลยที่ 1 และนายประเสริฐไม่มีเงินค่าซ่อมรถ

จำเลยที่ 1 ได้ขอยืมเงินจำเลยที่ 2 รวมกับค่าซ่อมรถเป็นเงิน 2,300 บาท

ก็ตาม แต่ตอนที่เจ้าพนักงานตำรวจนำนายประเสริฐมาพบจำเลยที่ 2 นาย

ประเสริฐรับสารภาพว่า ได้นำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาจำนำไว้แก่

จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ให้การทำนองว่านายประเสริฐนำรถจักรยานยนต์

มาจำนำจำเลยที่ 2 ไว้ ครั้งแรกจำเลยที่ 2 ไม่รับจำนำแต่นายประเสริฐอ้อน

วอนประกอบกับจำเลยที่ 2 เกรงใจจำเลยที่ 1 จึงรับจำนำไว้ ซึ่งในชั้น

พิจารณาจำเลยที่ 2 ก็นำสืบยืนยันว่า จำเลยที่ 1 พานายประเสริฐนำรถ

จักรยานยนต์ ซึ่งอ้างว่าเป็นของนายประเสริฐเองมาจำนำไว้แก่จำเลยที่ 2

จำเลยที่ 2 ขอดูใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์จากนายประเสริฐ แต่

นายประเสริฐบอกว่าอยู่ที่บ้าน จำเลยที่ 2 จึงบอกปัดไม่รับจำนำ จำเลยที่

1 บอกว่านายประเสริฐเป็นเพื่อนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เชื่อใจจึงรับ

จำนำไว้ จากคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองประกอบคำให้การชั้น

สอบสวนของจำเลยทั้งสองดังกล่าว ตลอดจนคำเบิกความของจำเลยทั้งสอง

ในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏข้อพิรุธใดที่จะแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่

1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 รับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้ โดยรู้อยู่แล้ว

ว่าเป็นทรัพย์ที่นายประเสริฐได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ อีกทั้ง

หากจำเลยทั้งสองรู้ว่ารถจักรยานยนต์ที่นายประเสริฐนำมาจำนำไว้แก่จำเลย

ที่ 2 เป็นรถจักรยานยนต์ที่นายประเสริฐลักมาจริงจำเลยทั้งสองคงจะช่วยกัน

ปกปิดโดยจำเลยที่ 2 น่าจะนำรถจักรยานยนต์ไปเก็บไว้มิดชิดคงไม่ยอมให้

นางจันทร์นำเงินมาไถ่ถอนจำนำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไป ส่วนข้อที่ศาล

อุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มีอาชีพรับจำนำ จำเลยที่ 2 จำต้อง

ตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย

ก่อนที่จะรับจำนำรถจักรยานยนต์นั้น เห็นว่า จำเลยที่ 2 ก็เบิกความว่า

จำเลยที่ 2 รู้จักกับจำเลยที่ 1 แต่ไม่รู้จักนายประเสริฐผู้นำรถจักรยานยนต์

มาจำนำ ตอนแรกจำเลยที่ 2 ได้ขอดูใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์จาก

นายประเสริฐ เมื่อนายประเสริฐบอกว่าใบคู่มือทะเบียนรถจักรยานยนต์อยู่ที่

บ้าน จำเลยที่ 2 จึงบอกปัดไม่รับจำนำ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 บอกจำเลยที่ 2 ว่า

นายประเสริฐเป็นเพื่อนของตน จำเลยที่ 2 เชื่อใจจำเลยที่ 1 จึงรับจำนำไว้

จากคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวแสดงว่า ในครั้งแรกจำเลยที่ 2 เอง

ก็บอกปัดไม่รับจำนำรถจักรยานยนต์จากนายประเสริฐ สาเหตุที่รับจำนำไว้

เพราะเชื่อใจจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพื่อนกับนายประเสริฐนั่นเอง กรณีจึงอาจเป็น

ไปได้ตามที่จำเลยที่ 2 นำสืบ เพราะแม้นายประเสริฐจะไม่มีใบคู่มือ

จดทะเบียนรถจักรยานยนต์มาจำนำ จำเลยที่ 2 ก็อาจจะรับจำนำได้เพราะ

เชื่อใจจำเลยที่ 1 กรณีจึงมิใช่ข้อพิรุธที่จะแสดงว่าการที่จำเลยที่ 2 รับจำนำ

รถจักรยานยนต์ไว้จากนายประเสริฐ จำเลยที่ 2 น่าจะรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่นาย

ประเสริฐได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนข้อที่ศาลอุทธรณ์

ภาค 3 วินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 กับนายประเสริฐและจำเลยที่ 2 ตกลง

ราคารับจำนำรถจักรยานยนต์เพียง 2,300 บาท ทั้งที่รถจักรยานยนต์

ดังกล่าวมีราคาถึง 10,000 บาท นับว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างยิ่งนั้น

เห็นว่า จำเลยที่ 2 เพียงรับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้ มิใช่

ซื้อรถจักรยานยนต์จากนายประเสริฐ ซึ่งจะต้องชำระเงินเต็มตามราคา

ทรัพย์สินที่ซื้อไว้ แต่การรับจำนำเป็นเพียงการที่ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์

ให้แก่ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น

โดยปกติทั่วไปราคาทรัพย์ที่จำนำขึ้นอยู่กับผู้จำนำและผู้รับจำนำจะตกลงกัน

ผู้จำนำอาจขอจำนำเพียง 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของราคาทรัพย์ที่จำนำก็ได้

เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันมากเกินไป แต่บางรายผู้จำนำอาจขอ

จำนำทรัพย์ในราคาที่สูง ผู้รับจำนำอาจกำหนดราคาทรัพย์ที่จำนำให้ไม่สูงนัก

เพราะอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนถ้าผู้จำนำไม่มาไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำภายใน

ระยะเวลาที่กำหนด และผู้รับจำนำต้องนำทรัพย์ที่จำนำออกขายแล้วได้เงิน

ไม่คุ้มกับเงินที่รับจำนำพร้อมดอกเบี้ยก็ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 รับจำนำ

รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในราคาดังกล่าว จึงมิใช่ข้อพิรุธที่จะแสดงให้

เห็นว่าจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐาน

ลักทรัพย์ พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ประกอบพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว

รูปคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานรับของโจรตาม

ฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองมานั้น ยังไม่

ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น"

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

(กมล เพียรพิทักษ์ - ชูชาติ ศรีแสง - สุพล พันธุมโน)

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-01-28 06:10:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (43959)

fgfdgdrgrgdg

ผู้แสดงความคิดเห็น ffff วันที่ตอบ 2005-01-28 17:36:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 3 (44144)
ของคุณมากขอรับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ปลัดแดง วันที่ตอบ 2005-01-28 21:21:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 4 (44196)

เห็นด้วยกับเหตุผลของคุณปมุข   และฎีกาที่ยกมา  ทุกประการ

แต่มีข้อคิดสำหรับสาธุชนพึงสังวรคือ    แม้ไม่เป็นความผิดรับของโจร   แต่กว่าจะ....หลุดพ้นจากมลทินต้องว่ากันถึง 3 ศาล ตรองดูเถิดว่าคนที่มีคดีต้องทนทุกข์ทรมานมากแค่ไหน...............

ข้อเสนอแนะ.....ถ้าทรัพย์สินใดเราไม่ทราบที่มาที่ไปชัดเจน  เราสาธุชนก็ไม่ควรสุ่มเสี่ยงรับเอาไว้  สู้กันถึงฎีกาถามคนเคยเจอจะรู้เองว่า  สาหัสแค่ไหน

ผู้แสดงความคิดเห็น เคยเจอ วันที่ตอบ 2005-01-28 21:49:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 5 (3311954)

 ทุกข. ทรมานยิ่งนัก ยิ่งใกล้วันตัดสิน ไม่รู้ชีวิตจะอยู่ที่ใด. 

ผู้แสดงความคิดเห็น kaka วันที่ตอบ 2013-07-09 04:45:43 IP : 171.100.111.210



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.