ReadyPlanet.com


มีปัญหากับธนาคาร


ข้อเท็จจริงมีอย่างนี้ครับ

  1. ประมาณปี 2530 บิดาของภรรยากระผม ได้ไป***้เงินจากธนาคาร
  2. พอปี 2533 บิดาถึงแก่กรรม และยังมีหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับธนาคาร
  3. ปี 2535 หลังจากแบ่งมรดกกันเป็นเรียบร้อยแล้ว ภรรยาของกระผมเป็นลูกภรรยาน้อย แต่ก็ได้ทรัพย์สินเป็นที่ดินและอาคารพาณิชย์ รวมทั้งหนี้สินอย่างอื่นของคุณพ่อเขามาด้วย
  4. ปี 2539 ธนาคารได้เรียกภรรยาของกระผมเข้าไปเจรจาเรื่องหนี้ที่ค้างชำระ ซึ่งภรรยาของกระผมก็ยินดีชำระให้ โดยได้ทำเป็นสัญญา***้เงินขึ้นมาใหม่ฉบับหนึ่ง เป็นสัญญา***้ยืมเงิน 505,000 บาท (ทั้งมีบันทึกการรับเงินให้ภรรยาของกระผมลงชื่อด้วย) โดยการชำระเงิน***้ดังกล่าว ได้จ่ายเป็นเช็คล่วงหน้ารวม 10 ฉบับ
  5. เมื่อธนาคารได้นำเช็คฉบับแรกไปเบิกเงิน ปรากฏว่าไม่มีเงินในบัญชีพอจ่าย แล้วเรื่องก็เงียบหายไป เข้าใจว่าช่วงนั้น มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ (ช่วงฟองสบู่แตก)
  6. และเมื่อประมาณปลายเดือนที่แล้ว ธนาคารได้ติดต่อมาที่ภรรยาของกระผมให้ชำระหนี้ที่ค้างอยู่ ซึ่งแจ้งว่าเป็นหนี้สินรวมดอกเบี้ยประมาณ 800,000 ทั้งให้ข้อเสนอมาว่า หากยินดีจะชำระ ธนาคารจะไม่คิดดอกเบี้ย โดยยินดีจะรับชำระหนี้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น หรือจะผ่อนชำระอย่างไร ก็ให้เสนอไป

กระผมขอเรียนถามดังนี้

  1. สัญญาเงิน***้ฉบับที่ทำขึ้นระหว่างธนาคารกับภรรยาของกระผม ถูกต้องตามหลักกฎหมายหรือไม่ กระผมเคยได้ยินมาว่า ลักษณะเช่นนี้ เหมือนเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ถ้าเป็น ก็ต้องทำเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ให้ถูกต้องด้วย ใช่หรือไม่ครับ
  2. บันทึกการรับเงิน***้ยืมที่ภรรยากระผมทำกับธนาคาร ถูกต้องหรือไม่ ในเมื่อเราไม่ได้รับเงินจริงๆ
  3. เรื่องเช็คที่จ่ายให้ไป 10 ฉบับ ทราบมาว่า หลังจากธนาคารนำฉบับแรกไปเข้าและไม่ได้รับเงินแล้ว ฉบับต่อๆมา ก็ไม่ได้นำไปเข้าอีก อย่างนี้จะมาผลในทางกฎหมายอย่างไรครับ
  4. และสุดท้าย สมมติว่า หากทางกระผมจะไม่จ่ายเงิน***้ดังกล่าว กระผมจะอ้างเหตุผลใด ต่อสู้กับธนาคาร

หวังว่าคงได้รับความเมตตาตอบคำถามข้างต้นด้วย

จักขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ผู้เดือดร้อน 2548



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้เดือดร้อน 2548 :: วันที่ลงประกาศ 2005-08-09 12:45:50 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (189571)

1.สัญญาที่ภรรยาคุณทำใหม่กับธนาคาร น่าจะเป็นการรับสภาพหนี้ของบิดา ซึ่งย่อมมีผลบังคับได้เพราะภรรยาคุณได้รับมรดกของบิดา ต้องมีส่วนรับผิดในหนี้ของบิดา(แต่รับผิดไม่เกินกว่ามรดกที่ได้รับ) หรือจะเป็นแปลงหนี้ใหม่ก็น่าจะได้เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงลูกหนี้ใหม่ด้วย***สมัครใจของลูหหนี้(ม.350)

2.น่าจะเป็นรับสภาพหนี้หรือแปลงหนี้ใหม่ซึ่งมีผลบังคับได้

3.เรื่องออกเช็คไว้กับธนาคาร น่าจะเป็นเทคนิควิธีป้องกันลูกหนี้เบี้ยว คือถ้าลูกหนี้ไม่ใช้หนี้ ธนาคารจะใช้เช็คขึ้นเงิน ถ้าขึ้นเงินไม่ได้   ผู้ออกเช็คอาจมีความผิดทางอาญาได้  คือเป็นมาตรการป้องกันหนี้สูญ  ตามความความเห็นของผม     ผมว่าเช็คน่าจะใช้บังคับไม่ได้เพราะไม่ได้รับเงินจริงตามเช็ค  แต่..สัญญารับสภาพหนี้ หรือแปลงหนี้ใหม่คงมีผลบังคับได้

4.ต้องดูรายละเอียดในสัญญาอีกครั้งว่าเป็นอย่างไร  แต่ผมมีความเห็นว่าน่าจะเป็นการรับสภาพหนี้ หรือแปลงหนี้ใหม่  ภรรยาคุณคงปฏิเสธความรับผิดในหนี้ก้อนนี้ไม่ได้  แต่คงไม่เกินกว่ามรดกที่ได้รับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2005-08-10 05:55:31 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.