ReadyPlanet.com


เงินประกัน


       ผมได้ทำกิจการโดยจดเป็นบริษัทจำกัด  มีพนักงาน 4 คน  ต่อมาบริษัทเกิดปัญหา  พนักงานจึงลาออก  ปัญหามีอยู่ว่า  พนักงานที่เข้ามาทำงาน  บริษัทได้เรียกเงินค้ำประกันตอนเข้าทำงานคนละ 30,000 บาท(เนื่องจากรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องเงิน) โดยทำสัญญาว่าจะให้คืนเมื่อออกจากงาน  แต่ปรากฎว่าเมื่อพนักงานออกจากงาน  บริษัทยังไม่สามารถใช้เงินทั้งหมดคืนแก่พนักงานได้  เพียงแค่ใช้คืนไปคนละ 3,000 บาท โดยให้เซ็นรับเงินดังกล่าวไป และจะทะยอยผ่อนชำระคืนให้  ซึ่งพนักงาน ทำท่าจะไม่ยอม โดยบอกว่าจะไปแจ้งความจับ  จริงๆแล้วบริษัทและผมในฐานะกรรมการบริษัท ไม่มีเจตนาจะไม่จ่าย แต่ปัญหาเรื่องสถานภาพทางการเงิน  จึงเรียนถามว่า

 1) พนักงานสามารถ แจ้งความดำเนินคดีอาญาได้ไหม

 2) ช่วยแนะนำแนวทางแก้ปัญหา ให้ด้วยครับ

                                      ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้อยากทราบคำตอบ :: วันที่ลงประกาศ 2005-03-21 22:18:43 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (77746)

1) พนักงานสามารถ แจ้งความดำเนินคดีอาญาได้ไหม

ตอบ ได้ครับแบ่งความผิดเป็นสองกรณี

๑.เป็นความผิดตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มีโทษทางอาญาด้วยนะครับ ตาม มาตรา 144

๒.เป็นความผิดตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มีโทษทางแพ่ง คือต้องเสียดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม ตามที่กฎหมายกำหนด มาตรา 9 และ 10 ครับ

 2) ช่วยแนะนำแนวทางแก้ปัญหา ให้ด้วยครับ

ตอบ  ทางแก้ปัญหา ต้องมีรายละเอียดให้พอสมควรล่ะครับ

 

มาตรา 9 ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันตามมาตรา 10 วรรคสอง

หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

ภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชย

พิเศษตามมาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้

แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี

ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดยปราศจาก

เหตุผลอันสมควรเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่าย

ให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา

เจ็ดวัน

ในกรณีที่นายจ้างพร้อมที่จะคืนหรือจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง

และได้นำเงินไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

นายจ้างไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่นายจ้างนำเงินนั้นไปมอบไว้

 

มาตรา 10 ภายใต้บังคับมาตรา 51 วรรคสอง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือ

รับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง

เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน

หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้

ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างได้ ตลอดจน

จำนวนเงินและวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรี

ประกาศกำหนด

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อ

ชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก

หรือสัญญาประกันสิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่

ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออกหรือวันที่

สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี

 

มาตรา 144 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 10 มาตรา 22 มาตรา

24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา

42 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา

51 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 70 มาตรา

71 มาตรา 72 มาตรา 76 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา

95 มาตรา 107 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง ไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120

วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา 121 วรรคสอง หรือมาตรา 122 ต้องระวางโทษ

จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39

มาตรา 42 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 หรือมาตรา 50 เป็นเหตุให้ลูกจ้าง

ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน

หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-03-22 17:25:04 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.