ReadyPlanet.com


เหตุการณ์ในโรงเรียน


นักเรียนหญิงม.3 อายุ 15 ย่าง 16 ถูกครู โรงเรียนเอกชน (แต่งงานแล้ว) พาไปกระทำอนาจารย์ในโรงแรมม่านรูด สอบถามแล้วนักเรียนหญิงยินยอมไปกับครูเองโดยไม่ได้บังคับขืนใจ แต่ครูก็ใช้คำพูดหว่านล้อมว่าจะรับผิดชอบ เหตุการณ์ดำเนินมาเป็นระยะเวลาประมาณ 8 เดือนแล้วโดยที่มีเพศสำพันธ์กันประมาณเดือนละ 3-4 ครั้ง อยากทราบว่าผู้ปกครองของนักเรียนจะสามารถเอาผิดกับครูคนนี้ได้หรือไม่ และเป็นความผิดมาตราที่เท่าไหร่ครับ


ผู้ตั้งกระทู้ คนข้างบ้าน :: วันที่ลงประกาศ 2005-04-04 13:22:21 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (85391)

มาตรา 283 ทวิ ผู้ใดพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจาร

แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้

กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำ

ทั้งปรับ

ผู้ใดซ่อนเร้นบุคคลซึ่งถูกพาไปตามวรรคแรกหรือวรรคสอง ต้องระวางโทษตามที่

บัญญัติในวรรคแรกหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี

ความผิดตามวรรคแรกและวรรคสามเฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปี

เป็นความผิดอันยอมความได้

 

มาตรา 285 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 277ทวิ

มาตรา 277ตรี มาตรา 278 มาตรา 279 มาตรา 280 มาตรา 282 หรือมาตรา 283

เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่

ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล ผู้กระทำต้อง

ระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ หนึ่งในสาม

 

มาตรา 318 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดา

มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วยต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่

สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท

ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรกต้องระวาง

โทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น

ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจารผู้กระทำต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หกพันบาท ถึงสามหมื่นบาท

 

7986/2540

โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์

จำเลย นายสุรชัย ศรีงาม

อาญา อายุความร้องทุกข์ของความผิดอันยอมความได้ อนาจาร

ข่มขืนกระทำชำเรามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล อนาจารศิษย์

(มาตรา 96,278,281,285)

วิธีพิจารณาความอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ (มาตรา 39)

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 278,285

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมาย

อาญา มาตรา 278,285 จำคุก 4 ปี

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟัง

ได้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหาย 15 ปีเศษ และเป็นนักเรียนอยู่ในโรง

เรียนบ้านจะหลวย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำเลยรับราชการ

เป็นครูอยู่ในโรงเรียนดังกล่าว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของ

โจทก์ว่า ผู้เสียหายเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยหรือไม่

โจทก์ฎีกาว่า จำเลยเคยสอนผู้เสียหายขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 5 เป็นเวลา 1 ปี จำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบด้านกิจการและวินัย

ของนักเรียน และอาจารย์ใหญ่ได้มอบหมายให้จำเลยสอนทุกกลุ่ม

วิชาในชั้นเรียน ผู้เสียหายจึงเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลและเป็น

ผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการนั้น เห็นว่า

ความหมายของข้อความที่ว่าศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวล

กฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความ

สัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอน

ศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์ต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้อง

รักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์

ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย คดีนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบ

ของโจทก์ได้ความว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ

เพราะเหตุเกิดที่บ้านนายไพศาลและนอกเวลาควบคุมดูแลของ

จำเลย ดังนั้น แม้จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายตามฟ้อง

การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล

ส่วนที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุม

ของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เป็นข้ออ้างที่มิได้กล่าวในฟ้อง

เป็นเรื่องนอกฟ้องซึ่งถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้ว

แต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ให้ เมื่อการกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนัก

ขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 หากเป็นเพียงความ

ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และมิได้กระทำ

ต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย

สาหัสหรือถึงแก่ความตายจึงเป็นความผิดอันยอมความได้

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 281ซึ่งผู้เสียหายต้อง

ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน คดีนี้เกิดเหตุเดือนธันวาคม 2537 ผู้

เสียหายร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2538 เกินเวลา 3 เดือน

นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีจึงขาด

อายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดี

อาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

อาญา มาตรา 39 (6) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่จำต้อง

วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1

พิพากษายกฟ้องชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์

ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

(สมบัติ เดียวอิศเรศ - จำลอง สุขศิริ - ไสว จันทะศรี)

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-04-05 15:17:20 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (85815)

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบครับ

จากที่ท่านกรุณาตอบมา เค้าคดีนี้สรุปว่าทำอะไร ไม่ได้เลยเหรอครับ เพราะครูคนนี้ปฏิเสธที่จะรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น คนข้างบ้าน วันที่ตอบ 2005-04-06 11:30:37 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.