ReadyPlanet.com


อยากถามคุณปมุขว่าวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาคืออะไร


อยากให้คุณปมุขอธิบายให้พอเข้าใจอย่างคร่าวๆ พร้มยกตัวอย่างประกอบด้วยว่า วิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา คือ อะไร และมีขั้นตอนในการปฎิบัติอย่างไร เพราะตอนนี้กำลังเรียนเรื่องนี้อยู่ ขอความกรุณาช่วยตอบคำถามด้วย หากมีปัญหากฎหมายอีกจะขอความกรุณาจากคุณปมุขให้ช่วยตอบอีก



ผู้ตั้งกระทู้ จากคนอยากรู้ :: วันที่ลงประกาศ 2005-06-02 18:31:40 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (120691)

การขอคุ้มครอบชั่วคราวฯ เป็นกระบวนพิจารณาคดีในคดีแพ่ง ครับ เป็นการขอคุ้มครองระหว่างพิจารณาคดี หรือก่อนศาลมีคำพิพากษา  

โดยปกติขั้นตอนการดำเนินคดี เมื่อมีการยื่นฟ้องแล้ว คดีก็ต้องเข้าสู่กระบวนพิจารณาคดี และไปสู่การพิพากษา ซึ่งขั้นตอน ระหว่างการยื่นฟ้องไปถึงการพิพากษา โดยปกติคดีที่ จำเลยต่อสู้คดี ในลักษณะประวิงคดี จะใช้ระยะเวลานาน ประมาณ 1-5 ปี ครับ กว่าจะมีการพิพากษาคดี  ซึ่งในระหว่างนั้น หากจำเลยทำการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินออกไป หรือกระทำการใดๆ ดังที่ ถูกฟ้องร้อง ก็จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้ และไม่สามารถบังคับคดีได้ เมื่อชนะคดีแล้ว  จึงต้องนำวิธีการคุ้มครองประโยชน์ ก่อนศาลมีคำพิพากษามาใช้ ครับ เช่น กรณีเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ทางการค้า หากรอให้ศาลมีคำพิพากษา ลูกหนี้ก็ขายทรัพย์สินหนีหนี้ไปหมดแล้ว , หรือกรณีที่ สร้างตึก มีการตอกเสาเข็ม ทำให้บ้านข้างเคียงร้าว หรือพัง หากรอให้ศาลพิพากษาบ้านคงพังไปแล้ว , หรืออาจจะเป็นกรณี ที่ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากบ้าน หากรอให้ศาลพิพากษา คดีเจ้าของบ้าน คงเสียหายไปเยอะแล้ว

ดังนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องกำหนดให้โจทก์ที่ต้องได้รับความเสียหายจากกรณีดังกล่าวสามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวต่อศาล เพื่อขอให้นำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาใช้บังคับได้ครับ  เช่น ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลย จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน หรือสั่งให้ธนาคารอายัดเงินในบัญชีของจำเลย หรือสั่งให้ เจ้าพนักงานที่ดินสั่งห้ามมิให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิที่ดินของจำเลย ,หรือห้ามมิให้จำเลยหยุดการก่อสร้างบ้านไว้ก่อน ฯลฯ ครับ เพื่อป้องกันไม่ให้โจทกืได้รับความเสียหายในระหว่างการดำเนินคดีครับ

การขอคุ้มครองฯ ดังกล่าวสามารถขอได้ในกรณีฉุกเฉินด้วยครับ

ไม่ทราบว่าเป็นคำตอบที่ต้องการหรือเปล่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-06-03 12:19:50 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.