ReadyPlanet.com


ทนายลืมอุทธรณ์ค่ะ


คือเรื่องมีอยู่ว่า ลูกหนี้ยืมเงินไป 50000 บาท และเขียนเช็คไว้ให้ แล้วต่อมาไม่ชำระหนี้
ลูกหนี้สู้คดีว่าไม่ได้รับเงิน 50000 บาท ดิฉันจึงฟ้องศาล ศาลชั้นต้นตัดสินให้ดิฉันแพ้
แล้วยกฟ้องลูกหนี้ ดิฉันจึงให้ทนายอุธรณ์ต่อ ทนายก้อบอกว่าอุทธรณ์ให้เรียบร้อยแล้ว
ต่อมาดิฉันโดนตำรวจเรียกไป และแจ้งข้อกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ เรื่องเช็ค 50000 บาท ที่ดิฉันแพ้คดี
และเขาฟ้องกลับ ม.172 ดิฉันก้อเลยรู้ว่าทนายไม่ได้อุทธรณ์ให้
พอดีวันที่ตำรวจเรียกไปรับข้อกล่าวหาตรงกับวันเสาร์ ซึ่งทนายของดิฉันจะไม่รับโทรศัพวันเสาร์ -
อาทิตย์ แล้วอย่างนี้ยังจะพอมีทางแก้ไขอะไรหรือไม่ค่ะ หรือว่าต้องเปลี่ยนทนายค่ะ

แล้วอย่างนี้ดิฉันจะสู้เขาอย่างนี้ดีป่าวค่ะ อย่างแรกคือดิฉันประกันตัว ต่อมาคือหาทนายมาสู้คดี
ที่เขาแจ้งตำรวจว่าดิฉัน แจ้งความเท็จ ต้องขึ้นศาลอีกใช่ป่าวค่ะ แล้วดิฉันมีสิทธิ์จะชนะคดีหรือป่าวค่ะ
หรือว่าให้เขาฟ้องดิฉันได้ฝ่ายเดียวโดยที่ดิฉันไม่สามารถแก้ต่างได้เลย
หลักฐานที่จะเอามาสู้คดีแจ้งความเท็จ ก้อคือ 1. คดี เช็ค 50000 ดิฉันฟ้องแพ่งเขาด้วยคะ เขาแพ้ค่ะ
แต่อยู่ระหว่างอุทธรณ์ค่ะ ดิฉันจะเอาหลักฐานพวกนี้มาแก้ต่างได้ป่าวค่ะ
ว่าดิฉันไม่ได้แจ้งความเท็จเรื่องคดีอาญา เช็ค 50000 2. คดีเช็ค 200000 อันนี้เขาก้อแพ้ดิฉันค่ะ
แต่อยู่ระหว่างอุทธรณ์ค่ะ 3. เขามีคดีฟ้องร้องกับธนาคาร เขากล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารเป็นพยานเท็จ
คือ เค้ามีคดีกับคนอื่นเยอะเลยค่ะ กับเจ้าหน้าที่ที่ดินเขาก้อฟ้อง
ตอนนี้เจ้าหน้าคนนั้นก้อประกันตัวอยู่ค่ะ 4.
คดีของเขากับคนอื่นก้อมีค่ะบ้านที่เขาอยู่เขาก้อเอาไปจำนองแล้วไม่ชำระหนี้ทีนี้ฝ่ายเจ้าหนี้จะมายึด
เขาก้อฟ้องกลับว่า เจ้าหนี้ปลอมแปลงเอกสาร 5. สามีเค้าเป็น พ.ต.ท. ค่ะ ก้อโดนรอ้งเรียน
เรื่องที่ภรรยาเขา ถือว่าสามีเป็นตำรวจก้อเลยไปโกงแชร์
แล้วตอนนี้โดนย้ายสถานีตำรวจ แต่ก้อยังอยู่ในจังหวัดเดิม แล้วสามีเค้าก้อมีเพื่อนเป็นตำรวจในโรงพัก
ก้อพากันเข้าข้างช่วยเหลือกัน แถมตำรวจในโรงพักที่เป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของคดียังไปเป็นพยานให้เค้าอีก
แล้วเวลาขึ้นศาลตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวนคนนี้ก้อไม่กล่าวคำสาบานด้วยค่ะ ทำเป็นมั่วไม่พูดค่ะ
ศาลเค้ามัวอ่าน สำนวนค่ะ ศาลเลยไม่ทันเห็น
ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ขวัญค่ะ :: วันที่ลงประกาศ 2005-04-23 18:08:57 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (94474)

ศาลพิพากษาวันที่เท่าไร

และเหตุที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุใด ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายใหม่ วันที่ตอบ 2005-04-23 22:14:20 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (94994)

คุณคงโชคร้าย นะครับ เจอลูกหนี้ แสบๆ  พอดีมาเจอทนายขี้ลืมอีก ก็เลยไปกันใหญ่ ครับ สุดท้ายก็คงต้องพึ่งพาศาล ล่ะครับ

ถ้าหากจะให้วิเคราะห์ ปัญหาตามที่ถามมาแล้ว ผม เข้าใจว่า ในระหว่างการดำเนินคดีกับลูกหนี้รายนี้ คงมีปัญหาขัดแย้งกัน ระหว่าง โจทก์ กับจำเลย หรือ ระหว่างทนายโจทก์ และทนายจำเลย  ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในการดำเนินคดี หรือปัญหาเรื่องศักดิ์ศรี ของคู่ความ อะไรก็แล้วแต่ แต่ผลสุดท้าย  ก็ ต้องมาลงที่คู่ความล่ะครับ

ส่วนเรื่องคดีของคุณนั้น ถ้าหากเรื่องที่แจ้งไป เป็นจริง ก็ไม่ต้องกลัวครับ เพราะกฎหมายเอาผิดกับคนที่เอาความเท็จ หรือความไม่จริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน ครับ

หากเรื่องที่คุณนำมาแจ้งเป็นเรื่องจริงแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวครับ ใครก็ทำอะไรคุณไม่ได้

 

ส่วนเรื่องของการลืมอุธรณ์ นั้น ต้องเอารายละเอียดของคคีมาดูครับ คุณ แจ้งความต่อ พนักงานสอบสวน (ตำรวจ) อำนาจในการดำเนินคดี เป็นของพนักงานอัยการครับ คุณและทนายของคุณ จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง ก็เพราะเป็นโจทก์ร่วมเท่านั้นครับ เพราะ ศาลเค้าจะต้องถือเอา สำนวนของอัยการโจทก์เป็นหลัก  ซึ่งปกติแล้ว ถ้าหาก ทนายโจทก์ร่วมลืมอุทธรณ์ แล้ว อาจะไปหาอัยการ เพื่อขอร้องให้อัยการช่วยอุทธรณ์ให้ก็ได้นี่ครับ

หากกรณีไม่ได้จริงๆ ก็ต้องหาเหตุตามกฎหมาย เพื่อยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ นี่ครับ กฎหมายมีช่องทางให้ทำได้อยู่แล้วครับ

พอดี ไม่ได้ให้รายละเอียดส่วนนี้ มาเลยบอกไม่ได้ว่าต้องทำอย่างไร

มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ

ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้

ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

508/24 จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏการกระทำของ

โจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ไม่สำคัญ เพราะการ

แจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย เมื่อฟัง

ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความจริง จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

728/24 ข้อเท็จจริงในคดีก่อนเป็นที่ยุติระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดี

ก่อนเท่านั้น จะนำมาฟังในคดีนี้ว่า การที่จำเลยให้การในชั้นสอบสวนและเบิก

ความในชั้นพิจารณาของศาลตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นการแจ้ง

ความเท็จและเบิกความเท็จหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานนำสืบว่า ความจริง

เป็นดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง

2786/24 ความผิดฐานแจ้งความเท็จมิได้อยู่ในข้อยกเว้นของ ป.อ.ม.

59 ที่ว่าเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำ

โดยไม่มีเจตนา ฉะนั้นจำเลยจะมีความผิดก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา คือ

แจ้งโดยรู้อยู่แล้วว่าความที่แจ้งนั้นเป็นความเท็จ

 

ไม่ทราบว่า เป็นคำตอบที่ต้องการหรือเปล่าครับ ถ้ามีข้อสงสัย โทรสอบถามได้นะครับ 0-1820-2236 ปมุข ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-04-25 11:35:21 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.