ReadyPlanet.com


เห็นคนอื่นทำผิดกฎหมาย "ต้อง" แจ้งความหรือไม่


เรียน ท่านผู้เกี่ยวข้อง

คำถามค่อนข้างตรงไปตรงมาครับ

หากเราได้พบเห็นผู้อื่นทำผิดกฎหมาย (เช่น เห็นคนอื่นกำลังเสพสารเสพติด) เรามีหน้าที่ตามกฎหมาย (มีการระบุไว้ในกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง) ว่าต้องแจ้งความให้แก่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบหรือไม่

ขอคำตอบแบบระบุตัวบทกฎหมายเลยนะครับ เพราะพูดกันปากต่อปากว่าเป็นหน้าที่พลเมืองดี แต่ไม่ทราบว่ามีกฎหมายระบุบังคับไว้หรือไม่

ขอบคุณมากครับ
นพ.มาโนช โชคแจ่มใส

ปล. ต้องการนำข้อมูลไปใช้สอนนักศึกษาแพทย์ครับผม



ผู้ตั้งกระทู้ นพ.มาโนช โชคแจ่มใส :: วันที่ลงประกาศ 2005-05-02 13:14:26 IP :


[1]
ความคิดเห็นที่ 1 (99309)

เรียน ท่าน นพ.มาโนช ครับ

กฎหมาย ยาเสพติด ที่ใช้กันอยู่ในบ้านเรา ก็จะมีแต่ พรบ.ยาเสพติดให้โทษ ฯครับ ซึ่งตาม พรบ.ดังกล่าวนั้นก็ จะเอาผิด แก่ ผู้เสพ หรือผลิต ,ผู้จำหน่าย ,นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ มีไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต  ส่วนกฎหมายที่ให้บุคคลทั่วไปที่พบเห็นการกระทำความผิด (เสพยา) แล้วต้องแจ้งความให้แก่เจ้าหน้าที่ทราบ นั้น คงไม่มีการกำหนดให้เป็นหน้าที่ไว้เป็นกฎหมายครับ ถ้า ยังไง ลองตรวจสอบจากข้อกฏหมายดูนะครับ


:: พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตราที่ 1-106

:: พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช 2464
(2) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479
(3) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2502
(4) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2504
(5) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2518
(6) พระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช 2477
(7) พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พุทธศักราช 2846
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ยาเสพติดให้โทษ" หมายความว่า สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อย ๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วย ยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่
"ผลิต" หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทาง
วิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย
"จำหน่าย" หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้
"นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
"ส่งออก" หมายความว่า นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
"เสพ" หมายความว่า การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือมีอาการ ติดยาเสพติดให้โทษ ซึ่งสามารถตรวจสอบและแสดงผลได้ตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าผู้นั้น ได้รับยาเสพติดให้โทษประเภทใดเข้าสู่ร่างกาย
"สถานพยาบาล" หมายความว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาลสถานพักฟื้นเฉพาะที่รัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นสถานที่ทำการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
"เภสัชกร" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรม
"ตำรับยา" หมายความว่า สูตรของสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มียาเสพติดให้โทษรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ รวมทั้งยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้ แก่คนหรือสัตว์ได้
"ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
"ผู้อนุญาต" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัตินี้
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แต่ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานการรับ การจ่าย การเก็บรักษา และวิธีการปฏิบัติอย่างอื่นที่เกี่ยวกับการควบคุมยาเสพติด ให้โทษให้คณะกรรมการทราบทุกหกเดือน แล้วให้คณะกรรมการเสนอพร้อมกับให้ความเห็นต่อรัฐมนตรี เพื่อสั่งการต่อไป
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดตามค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้าย พระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น กับออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
 

    มาตรา 7 ยาเสพติดให้โทษแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
(1) ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน (Heroin)
(2) ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน (Morphine) โคคาอีน (Cocaine) โคเดอีน (Codeine) ฝิ่นยา (Medicinal Opium)
(3) ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วยตามที่ ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ตาม มาตรา 43 เช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน (Codeine Cough Syrup)
(4) ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chtoride)
(5) ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศระบุชื่อยาเสพติดให้โทษตาม มาตรา 8 (1)
เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ คำว่า ฝิ่นยา (Medicinal Opium) หมายถึงฝิ่นที่ได้ผ่านกรรมวิธี ปรุงแต่งโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้ในทางยา
มาตรา 8 ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(1) ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษว่า ยาเสพติดให้โทษชื่อใดอยู่ในประเภทใดตาม มาตรา 7
(2) เพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทยาเสพติดให้โทษตาม (1)
(3) กำหนดมาตรฐานว่าด้วยปริมาณ ส่วนประกอบ คุณภาพ ความบริสุทธิ์ หรือลักษณะอื่นของ ยาเสพติดให้โทษตลอดจนการบรรจุและการเก็บรักษายาเสพติดให้โทษ
(4) กำหนดจำนวนและจำนวนเพิ่มเติมซึ่งยาเสพติดให้โทษที่จะต้องใช้ในทางการแพทย์และ ทางวิทยาศาสตร์ทั่วราชอาณาจักรประจำปี
(5) กำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษที่ผู้รับอนุญาต ผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือมีไว้ใน ครอบครองได้
(6) ระบุตำรับยาเสพติดให้โทษ
(7) จัดตั้งสถานพยาบาล
(8) กำหนดระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุมการบำบัดรักษาและระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล
มาตรา 9 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ" ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์หรือผู้แทน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือผู้แทน อธิบดีกรมอนามัยหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมอัยการหรือผู้แทน อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือผู้แทน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินเจ็ดคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็น กรรมการ และให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นกรรมการและเลขานุการ และหัวหน้ากองควบคุมวัตถุยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นกรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา 10 ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
มาตรา 11 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออก
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ
(7) ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่ เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว
มาตรา 12 การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 13 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่
(1) ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีตาม มาตรา 5
(2) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติตาม มาตรา 8
(3) ให้ความเห็นชอบต่อผู้อนุญาตในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(4) ให้ความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีในการกำหนดตำแหน่งและระดับของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(5) ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรี เพื่อวางระเบียบปฏิบัติราชการในการประสานงานกับสำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และกระทรวงทบวงกรมอื่น
(6) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 และในประเภท 5
(7) พิจารณาเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา 14 คณะกรรมการอาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะ กรรมการจะมอบหมายก็ได้
การประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้นำ มาตรา 12 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด
ให้โทษในประเภท 1 เว้นแต่การมีไว้ในครอบครองในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
ตามที่รัฐมนตรีจะอนุญาตเป็นหนังสือเฉพาะรายหรือเฉพาะกรณีที่เห็นสมควร
การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณ เป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไปให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อ จำหน่าย
มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2
มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต
การมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่หนึ่งร้อยกรัม ขึ้นไปให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 18 บทบัญญัติ มาตรา 17 ไม่ใช้บังคับแก่
(1) การมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองไม่เกินจำนวนที่จำเป็นสำหรับใช้ รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรมซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา
(2) การมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองไม่เกินจำนวนที่จำเป็นสำหรับใช้ ประจำในการปฐมพยาบาล หรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือ เครื่องบินหรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ใน การขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรแต่ถ้ายานพาหนะดังกล่าว จดทะเบียนในราชอาณาจักรให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตาม มาตรา 17
มาตรา 19 ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 2 ได้เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตเป็น
(1) กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรวมทั้งกรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย หรือองค์การเภสัชกรรม
(2) ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ หรือ
(3) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรมหรือ ทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และ
(ก) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(ข) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก สำหรับความผิดตามกฎหมายว่าด้วย ฝิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
(ค) ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาต ประกอบโรคศิลปะ ใบอนุญาตผู้ประกอบบำบัดโรคสัตว์ หรือใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
(ง) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ในการพิจารณาอนุญาตแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง ผู้อนุญาตจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการมีไว้ เพื่อจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ในการนี้ผู้อนุญาตจะกำหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 21 ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 3 ได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาต
(1) ได้รับใบอนุญาตให้ผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน ตามกฎหมายว่าด้วยยา และ
(2) มีเภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาทำการ
ให้ผู้รับอนุญาตผลิต หรือนำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำหน่ายยาเสพติดให้โทษดังกล่าว ที่ตนผลิตหรือนำเข้าได้โดยไม่ต้องรับใบอนุญาตจำหน่ายอีก
มาตรา 22 ในการนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ของผู้ที่ได้รับใบอนุญาต ตาม มาตรา 20 แต่ละครั้งต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออกจากผู้อนุญาตด้วย
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 23 ใบอนุญาตตาม มาตรา 17 และ มาตรา 20 ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปี ที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น
ถ้าผู้รับใบอนุญาตไม่ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้อนุญาตสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามความใน วรรคหนึ่ง บรรดายาเสพติดให้โทษที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ขอต่อใบอนุญาตมีอยู่ในครอบครองให้ตกเป็น ของกระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุขให้ค่าตอบแทนตามที่เห็นสมควร
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวง
มาตรา 24 ใบอนุญาตตาม มาตรา 20 และ มาตรา 22 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับ อนุญาตด้วย
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า การกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตที่ได้กระทำไปตามหน้า ที่ที่ได้รับมอบหมาย เป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตด้วย
มาตรา 25 ผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่า ด้วยยาและกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีก
มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด ให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้รับอนุญาตโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการเป็นราย ๆ ไป
การมียาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่ สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
การขออนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตาม มาตรา 17 จำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 นอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา 28 ให้ผู้รับอนุญาตตาม มาตรา 17 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดเก็บรักษายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้เป็น***ส่วนในที่เก็บซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมี กุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน
(2) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ถูกโจรกรรมหรือ สูญหายหรือถูกทำลายต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า
มาตรา 29 ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิตแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติดให้โทษ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(2) จัดให้มีการวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ผลิตขึ้นก่อนนำออกจากสถานที่ผลิต โดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้ง และมีหลักฐานแสดงรายละเอียดซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่ากว่า สามปีนับแต่วันวิเคราะห์
(3) จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท หรือคำเตือนหรือข้อควรระวัง กรใช้ที่ภาชนะหรือ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ผลิตขึ้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
(4) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ซึ่งใช้เพื่อการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ต้อง เก็บรักษาไว้ให้เป็น***ส่วนในที่เก็บซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มี สภาพเท่าเทียมกัน
(5) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตาม (4) ถูกโจรกรรม หรือสูญหาย หรือถูกทำลาย
ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า
มาตรา 30 ให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทำการของผู้รับอนุญาตแสดงว่าเป็นสถานที่ นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดง ในป้ายให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(2) จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตแหล่งเดิม แสดงรายละเอียด ผลการวิเคราะห์คุณภาพยาเสพติด ให้โทษในประเภท 3 ที่นำเข้าหรือส่งออก
(3) จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
(4) จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือคำเตือน หรือข้อควร ระวังการใช้ที่ภาชนะหรือ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่นำเข้าหรือส่งออก ทั้งนี้ ให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 31 ให้ผู้รับอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่กำหนดแสดงว่าเป็นสถานที่จำหน่ายยาเสพติด ให้โทษในประเภท 3 ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เห็นไปตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
(2) จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เป็น***ส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น
(3) ดูแลให้มีฉลาก เอกสารกำกับ คำเตือน หรือข้อควรระวังการใช้ยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 3 ที่ภาชนะหรือ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 มิให้ชำรุดบกพร่อง
มาตรา 32 ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิตแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติด ให้โทษในประเภท 4 ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
(2) จัดให้มีการวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ที่ผลิตขึ้นก่อนนำออกจากสถานที่ผลิต โดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้ง และมีหลักฐานแสดงรายละเอียดซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า สามปีนับแต่รับวิเคราะห์
(3) จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือคำเตือนหรือข้อควรระวัง การใช้ที่ภาชนะหรือ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ที่ผลิตขึ้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 33 ให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทำการของผู้รับอนุญาตแสดงว่าเป็น สถานที่นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความ ที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(2) จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตแหล่งเดิม แสดงรายละเอียดผลการวิเคราะห์คุณภาพยาเสพติด ให้โทษในประเภท 4 ที่นำเข้าหรือส่งออก
(3) จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือคำเตือน หรือข้อ ควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ที่นำเข้าหรือส่งออก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
(4) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ซึ่งนำเข้าหรือส่งออก ต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็น***ส่วนใน ที่เก็บซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน
(5) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ถูกโจรกรรม หรือสูญหาย หรือถูกทำลาย ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า
มาตรา 34 ให้ผู้รับอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่กำหนดแสดงว่าเป็นสถานที่จำหน่าย ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ลักษณะของขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง
(2) จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 เป็น***ส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น
(3) ดูแลให้มีฉลาก เอกสารกำกับ คำเตือน หรือข้อควรระวังการใช้ยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 4 ที่ภาชนะหรือ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 มิให้ชำรุดบกพร่อง
(4) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 ถูกโจรกรรมหรือสูญหาย หรือถูกทำลายต้องแจ้ง เป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า
มาตรา 35 ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาต แจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือน
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 36 ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(2) ควบคุมให้มีฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตาม มาตรา 29 (3)
(3) ควบคุมการบรรจุ และการปิดฉลากที่ภาชนะหรือ***บห่อ บรรจุให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(4) ควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ให้เป็นไปตาม มาตรา 31
(5) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา 37 ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ควบคุมการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตาม มาตรา 31 (2)
(2) ควบคุมการปฏิบัติตาม มาตรา 31 (3)
(3) ควบคุมการจำหน่ายให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(4) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา 38 ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่นำเข้าหรือส่งออกให้ถูกต้องตามตำรับยาที่ได้ขึ้น ทะเบียนไว้
(2) ควบคุมการปฏิบัติตาม มาตรา 30 (3) และ (4)
(3) ควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ให้เป็นไปตาม มาตรา 31
(4) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา 39 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ดังต่อไปนี้
(1) ยาปลอมตาม มาตรา 40
(2) ยาผิดมาตรฐานตาม มาตรา 41
(3) ยาเสื่อมคุณภาพตาม มาตรา 42
(4) ยาที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตาม มาตรา 43
(5) ยาที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาตาม มาตรา 46
มาตรา 40 ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือสิ่งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นยาปลอม
(1) ยาหรือสิ่งที่ทำขึ้นโดยแสดงไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยความจริงมิได้มียาเสพติดให้โทษในประเภท 3 อยู่ด้วย
(2) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่แสดงชื่อว่าเป็นยาเสพติดให้โทษอื่น หรือแสดงเดือน ปี ที่ยาเสพติดให้โทษสิ้นอายุเกินความจริง
(3) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ ผลิต ซึ่งมิใช่ความจริง
(4) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือยาเสพติดให้โทษตามที่ระบุชื่อไว้ในประกาศของรัฐมนตรี ตาม มาตรา 8 (1) หรือตามตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ ซึ่งทั้งนี้ มิใช่ความจริง
(5) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน ถึงขนาดสารออกฤทธิ์ ขาดหรือเกินกว่าร้อยละสิบของปริมาณที่กำหนดไว้จากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุดตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ของรัฐมนตรี ตาม มาตรา 8 (3) หรือตามที่กำหนดไว้ในตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้
มาตรา 41 ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษผิดมาตรฐาน
(1) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐานโดยสารออกฤทธิ์ขาดหรือ เกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้จากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุดตามที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรี ตาม มาตรา 8 (3) หรือตามที่กำหนดไว้ในตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับ ยาไว้ แต่ไม่ถึงร้อยละสิบ
(2) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ผลิตขึ้นโดยมีความบริสุทธิ์หรือลักษณะอื่นซึ่งมีความสำคัญ ต่อคุณภาพของสารออกฤทธิ์ผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้
มาตรา 42 ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษเสื่อมคุณภาพ
(1) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่สิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในฉลากซึ่งขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้
(2) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่แปรสภาพจนมีลักษณะเช่นเดียวกับยาปลอมตาม มาตรา 40 หรือยาเสพติดให้โทษผิดมาตรฐานตาม มาตรา 41
มาตรา 43 ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จะผลิตหรือนำเข้า ซึ่งยาเสพติดให้โทษดังกล่าวต้องนำตำรับยาเสพติดให้โทษนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับยาต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อนและเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษ และรัฐมนตรีได้ประกาศ ตำรับยาเสพติดให้โทษนั้นในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษนั้นได้
การขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และการออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ตำรับยาเสพติดให้โทษดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 44 ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตาม มาตรา 43 แล้ว จะแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็น หนังสือจากผู้อนุญาต และรายการที่ขอแก้ไขนั้นได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
การขอแก้ไขรายการและการอนุญาตให้แก้ไขรายการทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 45 ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ ออกใบสำคัญ ถ้าผู้รับใบสำคัญประสงค์จะขอต่ออายุใบสำคัญ จะต้องยื่นคำขอก่อนใบสำคัญสิ้นอายุและ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบสำคัญนั้น
การขอต่ออายุใบสำคัญและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 46 เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ใดที่ได้ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนไว้แล้วต่อมาปรากฏว่าไม่มีสรรพคุณตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ หรืออาจไม่ ปลอดภัยแก่ผู้ใช้หรือมีเหตุผลอันไม่สมควรที่จะอนุญาตให้ต่อไป ให้คณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 นั้นได้ โดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา 47 ในกรณีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 สูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือน
การขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และการออกใบแทน ใบสำคัญดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 48 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษเว้นแต่
(1) การโฆษณายาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรมหรือเภสัชกรรมหรือผู้ประกอบการบำบัด โรคสัตว์ชั้นหนึ่ง หรือ
(2) เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือประเภท 4 ที่ภาชนะหรือ ***บห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท 4
มาตรา 49 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะใด ๆ ในเวลากลางวันระหว่าง พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจ ค้นยึดยาเสพติดให้โทษที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามี ยาเสพติดให้โทษซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกำหมาย ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดำเนินการ ในทันที ยาเสพติดให้โทษนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลาย ก็ให้มีอำนาจเข้าไปในเวลากลางคืนภายหลัง พระอาทิตย์ตกได้
(2) ค้นเคหสถาน สถานที่ หรือบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดให้โทษ ซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยึดยาเสพติดให้โทษหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ตำแหน่งใดและระดับใดจะมีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยทำเอกสาร มอบหมายให้ไว้ประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายนั้น
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ตามสมควร
มาตรา 50 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวและเอกสาร มอบหมายตาม มาตรา 49 วรรคสอง ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 51 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 52 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง หรือประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต ได้โดยมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ในกรณีที่มีกรฟ้อง ผู้รับอนุญาตต่อศาลว่าได้ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้รอคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้
ผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ ใบอนุญาตอีกไม่ได้
มาตรา 53 ถ้าปรากฏว่าผู้รับอนุญาตผู้ใดขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 19 หรือกระทำความผิด ตาม มาตรา 39 ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นสองปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 54 คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับ อนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ถูกสั่งหรือผู้ถูกสั่งไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ปิดคำสั่งไว้ ณ ที่เปิดเผย เห็นได้ง่ายที่สถานที่ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้ถูกสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ตั้งแต่วันที่รับหรือ ปิดคำสั่งแล้วแต่กรณี
มาตรา 55 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดยาเสพติดให้โทษที่เหลือของผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือ เพิกถอนใบอนุญาต และใบอนุญาตที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต และใบอนุญาตที่ ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต และใบอนุญาตที่ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนนั้นไปเก็บรักษาไว้ที่สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือในกรณีจำเป็นจะเก็บรักษาไว้ที่อื่นตามที่ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดก็ได้
ในกรณีเพิกถอนใบอนุญาต ให้ยาเสพติดให้โทษที่ยึดไว้ตามวรรคหนึ่งตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข
มาตรา 56 เมื่อพ้นกำหนดการพักใช้ใบอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนยาเสพติดให้โทษและใบ อนุญาตที่ยึดไว้ตาม มาตรา 55 ให้ผู้รับอนุญาต
มาตรา 57 ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท 5
มาตรา 58 ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เว้นแต่การเสพนั้นเป็นการเสพ เพื่อการรักษาโรคตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ในสาขาทันตกรรมที่ได้รับใบอนุญาตตาม มาตรา 17
มาตรา 59 ให้รัฐมนตรีกำหนดจำนวนยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ที่จะต้องใช้ในทาง การแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ทั่วราชอาณาจักรประจำปี โดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ช้ากว่าเดือนมกราคมของแต่ละปี และให้กำหนดจำนวนเพิ่มเติมได้ในกรณีจำเป็นโดยให้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเช่นกัน
มาตรา 60 ให้รัฐมนตรีกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ที่ผู้รับอนุญาตจะจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองได้ประจำปี
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์ที่จะจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 2 เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 61 ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตายก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ให้ทายาทผู้ครอบครองหรือผู้จัดการมรดกแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบภายใน เก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดยาเสพติดให้โทษที่ผู้รับ อนุญาตมีเหลือมาเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ยาเสพติด ให้โทษที่ยึดไว้นั้นให้กระทรวงสาธารณสุขจ่ายค่าตอบแทนตามที่เห็นสมควร
มาตรา 62 ให้ผู้รับใบอนุญาตตาม มาตรา 17 มาตรา 20 และ มาตรา 26 จัดให้มีการทำบัญชี รับจ่ายยาเสพติดให้โทษและเสนอรายงานต่อเลขาธิการเป็นรายเดือนและรายปี บัญชีดังกล่าวให้ เก็บรักษาไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาในขณะเปิดทำการ ทั้งนี้ ภายใน ห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี
บัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 63 เมื่อได้จัดตั้งสถานพยาบาลสำหรับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษตาม มาตรา 8 (7) แล้ว ให้รัฐมนตรีกำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการบำบัดรักษา และระเบียบวินัยสำหรับ สถานพยาบาลดังกล่าวด้วย
มาตรา 64 ในการนำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 4 และ ประเภท 5 ต้องมีใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นมาพร้อมกับยาเสพติดให้ โทษและต้องแสดงใบอนุญาตดังกล่าวต่อพนักงานศุลกากร กับต้องยินยอมให้พนักงานศุลกากรเก็บ รักษาหรือควบคุมยาเสพติดให้โทษนั้นไว้
ให้พนักงานศุลกากรเก็บรักษาหรือควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 4 และประเภท 5 นั้นไว้ในที่สมควรจนกว่าผู้ที่นำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษจะนำยาเสพติดให้โทษ ดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร
ในกรณีที่ผู้นำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเทศ 1 ประเภท 2 ประเภท 4 และประเภท 5 ไม่นำยาเสพติดให้โทษดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันนำเข้า ให้พนักงานศุลกากรรายงานให้เลขาธิการทราบ เลขาธิการมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้นำผ่านซึ่งยาเสพติด ให้โทษนำยาเสพติดให้โทษดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ออกคำสั่ง ในกรณีผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม ให้ยาเสพติดให้โทษดังกล่าวตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข
มาตรา 65 ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ต้องระวางโทษ จำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษประหารชีวิต
มาตรา 66 ผู้ใดจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
ถ้ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องระวางโทษ จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
มาตรา 67 ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ไม่ถึงยี่สิบกรัมโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 68 ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 16 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นมอร์ฟีนหรือโคคาอีน ผู้นั้นต้องระ วางโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท
มาตรา 69 ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 17 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ผู้ใดจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 อันเป็น การฝ่าฝืน มาตรา 17 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึง หนึ่งแสนบาท
ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นมอร์ฟีนหรือโคคาอีนมีปริมาณคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ สามหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้ามอร์ฟีนหรือโคคาอีนนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไปต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตตาม มาตรา 17 กระทำการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 70 ผู้ใดผลิต หรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 71 ผู้ใดจำหน่าย หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 72 ผู้ใดนำเข้า หรือส่งออกแต่ละครั้งซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 22 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 73 ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 อันเป็น การฝ่าฝืน มาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 74 ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 75 ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อันเป็น การฝ่าฝืน มาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึง หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
มาตรา 76 ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สอบปีถึงสิบห้าปี และปรับ ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
มาตรา 77 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 27 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 78 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 29 มาตรา 30 หรือ มาตรา 31 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 79 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 32 มาตรา 33 หรือ มาตรา 34 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 80 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 35 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 81 เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมผู้ใดไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตาม มาตรา 36 มาตรา 37 หรือ มาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 82 ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ปลอม อันเป็นการ ฝ่าฝืน มาตรา 39 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึง สองแสนบาท
มาตรา 83 ผู้ใดจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ปลอม อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 39 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 84 ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ผิดมาตรฐาน หรือ ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 39 (2) หรือ (3) ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 85 ผู้ใดจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ผิดมาตรฐานหรือยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 3 เสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 39 (2) หรือ (3) ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 86 ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ต้องขึ้นทะเบียน ตำรับยาแต่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอน ทะเบียนตำรับยาอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 39 (4) หรือ (5) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 87 ผู้ใดจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่มิได้ขึ้น ทะเบียนตำรับยา หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อัน เป็นการฝ่าฝืน มาตรา 39 (4) หรือ (5) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท
มาตรา 88 ผู้ใดแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 44 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 89 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 48 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 90 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรา 49 หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 55 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 91 ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 57 หรือยาเสพติด ให้โทษในประเภท 2 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และ ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 92 ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 57 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 93 ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปี ถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าได้กระทำโดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สอง
ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-05-02 20:08:59 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.