ReadyPlanet.com


มีปัญหาเรื่องจำนอง ครับ ช่วยเหลือด้วยครับ


ปัญหาผมมีอยู่ว่า พ่อของผมได้เอาบ้านหลังปัจจุบันซึ่งผมอาศัยอยู่กับแม่(พ่อไม่ได้กลับบ้านมา 8 ปี ไม่ได้หย่าร้างกับแม่ผม พ่อมีชื่อเป็นเจ้าของบ้าน บ้านหลังนี้มีตอนหลังพ่อกับแม่แต่งงานกัน) ได้นำเอาไปจำนองกับเจ้าหนี้รายหนึ่ง ในวงเงิน 680,000 บาท ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี สัญญาจำนองมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี ซึ่งปีใหม่นี่จะครบกำหนดจำนอง และเมื่อไม่นานมานี้เจ้าหนี้ได้ส่งคนมาดูบ้านและทวงให้ไปจ่ายหนี้ให้เค้าแค่ 400,000 บาทพอ โดยที่เค้าไม่เอาตามวงเงินเต็ม โดยได้บอกว่าจะให้พ่อ โอนเป็นชื่อผม ถ้าผมจ่ายแค่ 400,000 บาท ซึ่งแม้จำนวนวงเงินดังกล่าวจะไม่ใช้วงเงินเต็มแต่ ก็สูงอยู่เหมือนกัน ซึ่งผมไม่มีปัญญาจะจ่ายได้ เพราะทางบ้านไม่ได้มีฐานะดีอะไรเลย ตัวผมเองเพิ่งเรียนจบด้วย ซึ่งเจ้าหนี้ได้บอกว่าได้ทำสัญญาถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง ซึ่งผมได้โต้แย้งไปว่า 1. บ้านหลังนี้เป็นสินสมรส จะทำการใดๆแม่ผมต้องทราบเรื่องหรือยินยอมด้วย แต่ทำไมพ่อผมถึง นำไปจำนอได้ เค้าบอกอย่างเดียวยังไงก็ทำถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่างยังไงผมก็ต้องใช้หนี้ให้เค้าโดยเป็นหนี้ที่ผมกับแม่ไม่เคยรับทราบหรือรับรู้มาก่อนเลย 2.ผมจะทำไงได้บ้างครับ  เจ้าหนี้ได้แนะนำให้ผมเอาบ้านไปขายทอดตลาดซะ ซึ่งผมคงไม่ทำหรอกครับดังนั้นผมได้เดินทางไปยังกรมที่ดิน ไปถามว่าบ้านที่ผมอยู่ปัจจุบัน ได้มีใครนำมาจำนองหรือซึ่งเจ้าหน้าที่ได้บอกว่ามี ซึ่งพ่อผมเป็นคนจำนองเอง ผมเลยถามว่าทำไมถึงทำได้ทั้งที่แม่ผมไม่ได้รับทราบการกระทำครั้งนี้และมันก็เป็นสินสมรสด้วย เจ้าหน้าที่ท่านก็งงบอกว่าทำได้ไง ขนาดเจ้าหน้าที่ยังงงเอง เจ้าหน้าที่ท่านนี้จึงได้ไปถามคนเซ็นอนุมัติซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงท่านหนึ่งว่าทำได้ยังไง คำตอบที่ได้จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงท่านนั้นคือ เค้า(พ่อผม) บอกว่าเป็นโสด ไม่มีภรรยา  แต่เอกสารจำนองที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงนำมาให้ดูได้เขียนว่าเลิกร้างกับภรรยา ผมจึงได้แย้งไปว่าทำไมถึงเขียนว่าเลิกร้างกับภรรยาเจ้าหน้าที่ระดับสูงได้แต่พูดว่าไม่รู้ คือตอบแบบเลี่ยงๆๆ 3.ผมอยากถามว่าการกระทำยังนี้เป็นโมฆะได้หรือเปล่าครับ ผมคิดในใจว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงคงไม่ชอบมาพากลแน่ เค้าหน้าจะเช็ดจากคอมพิวเตอร์ได้ว่า ไม่ได้หย่าร้างกัน(ผมคิดเอาเอง ณ ตอนนั้น) 4.ผมจะทำการไรได้บ้างครับที่จะแก้ปัญหานี้มีวิธีไหนบ้างครับผมจะเป็นบ้าแล้วครับ หาทางออกไม่เจอเลย เพราะไม่มีปัญญาใช้หนี้ที่ตัวเองและแม่ไม่ได้ก่อขึ้นมาโดยไม่รับรู้ใคๆด้วยเลย ผมจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด ขอความเป็นธรรมด้วยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เด็กที่มืดแปดด้าน :: วันที่ลงประกาศ 2005-06-14 22:48:43 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (130774)

เรื่องของคุณนี้ นะครับ เป็นเรื่องของการที่ คู่สมรส จัดการสินสมรส ไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนด ครับ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่ได้ให้ความยินยอม สามารถฟ้องศาลขอเพิกถอนนิติกรรม จำนอง ที่บิดาคุณไปจำนองไว้ ได้ครับ

พอดี มีเวลาเลยค้นคว้าข้อกฎหมาย และคำพิพากษาฎีกาให้ ลองดูนะครับ   ถ้าไม่เข้าใจ ก็โทรมาถามนะครับ

 

 

 

มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจาก

อีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง

ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอมสิทธิอาศัย สิทธิ

เหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

(4) ให้***้ยืมเงิน

(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล

เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

(6) ประนีประนอมยอมความ

(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้

มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

 

มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอม

จากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่าย

เดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

อาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่

นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและ

เสียค่าตอบแทน

การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่

วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

7978/2542

โจทก์ นางใช่เจงหรือใช่เจ็ง แซ่เบ๊

จำเลย นายวิตรชัย โอตรวรรณะ กับพวก

แพ่ง อายุความที่ให้ฟ้องคดีใหม่ สัญญาระหว่างสมรส จัดการสินสมรส

ความยินยอมให้จัดการสินสมรส (มาตรา 193/17 วรรคสอง,

1469,1476,1480)

วิธีพิจารณาความแพ่ง อำนาจฟ้อง (มาตรา 55)

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วย

กฎหมาย มีสินสมรส คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 256 เนื้อที่ 401 ตารางวา

พร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารพาณิชย์เลขที่ 500 จำเลยที่ 1 นำที่ดินพร้อม

สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยิน

ยอมจากโจทก์ และจำเลยที่ 2 กระทำการโดยไม่สุจริต เพราะรู้อยู่แล้ว

ว่า จำเลยที่ 1 มีคู่สมรส สัญญาจำนองจึงไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วย

กฎหมาย โจทก์รู้ถึงการทำนิติกรรมจำนองดังกล่าว จึงได้ฟ้องขอให้

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นแล้ว แต่ศาลแพ่ง

กรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง เพราะไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เนื่อง

จากคดีอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวโจทก์จึงนำคดีมา

ฟ้องที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ขอให้เพิกถอนสัญญาจำนอง

ที่ดินโฉนดเลขที่ 256 แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสามเพ็ง กรุงเทพ

มหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 ระหว่าง

จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2

จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำ

สัญญาจำนองตามฟ้องมาแต่ต้น และโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำ

สัญญาระหว่างสมรสยอมให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างตามฟ้อง โดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โจทก์จึงไม่มี

อำนาจฟ้อง โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต อย่างไรก็ตามโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1

ปี นับแต่วันรู้เหตุเพิกถอน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย

คือ นางวิพร อาภาวศิน ไม่ใช่โจทก์ จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินตาม

ฟ้องเพราะเชื่อโดยสุจริตตามที่จำเลยที่ 1 แจ้งว่ามีนางวิพรเป็นภริยา

จำเลยที่ 2 กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดิน

โฉนดเลขที่ 256 แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสามเพ็ง กรุงเทพ

มหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างฉบับลงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 ระหว่าง

จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว

ข้อเท็จจริงได้ความตามที่คู่ความไม่โต้แย้งกันว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูก

สร้างพิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น

สามีภริยากัน ต่อมาคนทั้งสองแยกกันอยู่แต่มิได้จดทะเบียนหย่า แล้ว

จำเลยที่ 1 ได้นางวิพรเป็นภริยาใหม่ ครั้นวันที่ 15 มิถุนายน 2536

จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองทรัพย์ดังกล่าวเป็นประกันหนี้เงิน***

จำนวน 8,000,000 บาท ไว้แก่จำเลยที่ 2 ปัญหาต้องวินิจฉัยตาม

ฎีกาโจทก์และคำแก้ฎีกาจำเลยทั้งสองว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่

จำเลยทั้งสองมีนางสาวสมปอง ภู่แกมแก้ว พนักงานของจำเลยที่ 2

เบิกความเป็นพยานว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้จำเลยที่ 1 ***้ยืมเงินและ

จดทะเบียนจำนองโดยมีการให้ความยินยอมของคู่สมรสถูกต้อง เนื่อง

จากจำเลยที่ 1 และนางวิพรอ้างว่าเป็นสามีภริยากันปรากฏตามสำเนา

ทะเบียนบ้านเอกสารหมาย ล.6 แต่ได้ความจากคำเบิกความของ

โจทก์และนายชัชวาลย์ โอตวรรณะ พยานโจทก์ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับ

จำเลยที่ 1 ว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ได้นางวิพรเป็นภริยาใหม่แล้ว

โจทก์จึงให้จำเลยที่ 1 แบ่งสินสมรสระหว่างกันตามบันทึกข้อตกลง

เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินในตระ***ลโอตวรรณะ เอกสารหมาย ล.4

หลังจากนั้น จำเลยที่ 1 ได้ประกาศขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตาม

ฟ้องเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ โจทก์สงสัยในพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1

จึงดำเนินการตรวจสอบเรื่องราวที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร

ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กับนางวิพรนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว

ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงิน***้ไว้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์

ไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมมาก่อน เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1

นำทรัพย์พิพาทตามฟ้องซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2

โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย

ของจำเลยที่ 1 อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่ง

และพาณิชย์ มาตรา 1476 (1) แต่จำเลยที่ 2 กลับรับจำนองไว้ โดย

อ้างว่านางวิพรซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 1

ให้ความยินยอมแล้ว ย่อมถือได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำนิติกรรม

จำนองดังกล่าวโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นการ

โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนอง

ดังกล่าวเสียได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง สำหรับเรื่องข้อตกลง

เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อตกลง

เกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินในตระ***ลโอตวรรณะ เอกสารหมาย ล.4

นั้น แม้จะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ศาลอุทธรณ์

วินิจฉัย แต่ก็มีลักษณะเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน

ที่ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่ง

และพาณิชย์ มาตรา 1469 ด้วย เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้

จดทะเบียนหย่า โจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายย่อม

มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่จำเลยที่ 1 ตามที่มาตรา 1469

ให้อำนาจไว้ได้ การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นขอหย่า

และแบ่งสินสมรสตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 737/2537 และจำเลย

ที่ 1 ได้ยืนคำให้การแก้คดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537

แล้วต่อมาโจทก์ได้ยื่นฟ้องให้เพิกถอนสัญญาจำนองระหว่างจำเลย

ทั้งสองต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2537 โดย

จำเลยทั้งสองเข้าต่อสู้คดีแล้ว แต่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง

เนื่องจากเป็นคดีครอบครัวไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่

จะพิจารณาพิพากษา ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญา

ระหว่างสมรสแล้วตั้งแต่ยื่นฟ้องขอหย่าและแบ่งสินสมรสต่อศาลชั้นต้น

หรือตั้งแต่วันที่ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นอย่างช้า จึงเห็นการ

ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสดังกล่าวภายในกำหนดขณะที่

โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงเป็นสามีภริยาตามบทบัญญัติแห่งมาตรา

1469 ดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ย่อมมีผล

ให้บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินในตระ***ลโอตรวรรณะ

เอกสารหมาย ล.4 ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาระหว่าง

สมรสนั้นสิ้นความผูกพัน ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม

ดังนั้นเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณา

พิพากษาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและ

พาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง ต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลง

เกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินในตระ***ลโอตรวรรณะ เอกสารหมาย

ล.4 ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างสมรสได้สิ้นผล

แล้ว ทรัพย์พิพาทตามฟ้องจึงเป็นสินสมรสอยู่ขณะฟ้อง โจทก์จึงมี

อำนาจฟ้องคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาจำเลยที่ 2 ว่า นิติกรรมจำนอง

ยังคงสมบูรณ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า การขอ

ให้เพิกถอนนิติกรรมตามมาตรา 1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรม

ทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ คำแก้ฎีกาจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษากลับ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

(สุวัตร์ สุขเกษม -อธิราช มณีภาค -ชวลิต ธรรมฤาชุ)

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-06-15 22:15:29 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.