ReadyPlanet.com


ลิขสิทธิ์


ได้รับการติดต่อจากสำนักพิมพ์ให้เขียนหนังสือ และจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นเปอร์เซ็นการขาย เมื่อเขียนโดยใช้แนวทางจากหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งปกติใช้เป็นคู่มือการสอนอยู่ เสร็จแล้วก็มอบให้ทางสำนักพิมพ์ไป ทางสำนักพิมพ์ก็ทำการพิมพ์ขายโดยทางเราไม่ทราบเลยว่าพิมพ์จำนวนเท่าไรขายได้เท่าไร สอบถามไปก็ไม่ได้รับรายละเอียด  เวลาผ่านไปประมาณหนึ่งปี ทางสำนักพิมพ์แจ้งว่าถูกเจ้าของหนังสือที่ได้นำมาเป็นแนวทางการเขียนจะฟ้องลิขสิทธิ์  เป็นค่าเสียหาย 100,000 บาท ก็ไปพบเจ้าของหนังสือที่สำนักพิมพ์ขอขมาเขาซึ่งเขาก็ยอมรับการขอขมาแล้ว แต่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากสำนักพิมพ์  ต่อมาทางสำนักพิมพ์แจ้งว่าขอให้ค่าตอบแทนที่จะได้รับให้แก่เจ้าของหนังสือ ซึ่งเราก็ยิมยอมเดินทางไปทำหนังสือยินยอมให้ถึงสำนักพิมพ์  แต่เว้นระยะไปอีกประมาณ 3 เดือน ก็มีจดหมายทวงหนี้จากสำนักงานทนายความให้ชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 250,000 บาท ภายใน 15 วัน ถ้าไม่จ่ายจะดำเนินการตามกฎหมาย  ตอนนี้กลุ้มใจมากเขียนหนังสือก็ไม่ได้เงินแล้วยังต้องมาเสียเงินอีก  อยากให้คุณปมุข ช่วยหาทางออกให้ด้วยว่าควรดำเนินการอย่างไรต่อไปดี เหตุที่เขียนหนังสือก็เพราะต้องการเงินเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ไม่มีเลยจึงทำผิดกฎหมายแบบไม่ได้ตั้งใจแต่เราก็ไม่ได้ทำซ้ำหรือลอกเรียนแบบ เพียงแต่ใช้เป็นแนวทางในการเขียน คู่มือที่ใช้ก็ใช้หลายเล่ม



ผู้ตั้งกระทู้ กลุ้มใจมาก :: วันที่ลงประกาศ 2005-05-06 22:02:15 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (102267)

-การกระทำของคุณเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์แน่นอน

-ทางออกต้องหาทางประนีประนอมกับเจ้าของลิขสิทธิ์  โดยการผ่อนชำระน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด  เรื่องคุณกับสำนักพิมพ์คุณต้องเจรจากับเขาอีกต่างหาก

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2005-05-07 14:56:29 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (102403)
ขอบคุณท่านผู้เฒ่า แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าค่าเสียหายควรเป็นเท่าไร และมีเกณฑ์การคิดอย่างไร หรือว่าเขาจะเอาเท่าไรก็ต้องให้เขา
ผู้แสดงความคิดเห็น กลุ้มใจมาก วันที่ตอบ 2005-05-07 20:19:29 IP :


ความคิดเห็นที่ 3 (102422)

งานเขียน ถือว่าเป็นงานที่มีลิขสิทธิประเภทวรรณกรรม  ถ้าหากลอกเลียน หรือทำซ้ำ หรือดัดแปลง เพื่อหากำไร ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ อย่างที่ท่านผู้เฒ่าบอกน่ะครับ แต่ ถ้าหาก นำเอา ความคิด ของงานเขียนที่มีอยู่แล้ว มาเป็นแนวทาง เขียนต่อ หรือ ทำการต่อยอด โดยมีการอ้างอิง หรือ ไม่ได้เป็นไปเพื่อหากไหร ก็เป็นการกระทำในลักษณะที่กฎหมายยกเว้น ว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ ตาม พรบ.     ลิขสิทธิ มาตรา 32 บัญญัติไว้

มาตรา32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติ

นี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของ

ลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์

เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกรทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน

อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดัง

ต่อไปนี้

(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและ

บุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็น

เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็น

เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ใน

การพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการ

รายงานผลพิจารณาดังกล่าว

(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อ

ประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดย

ผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือ

ในสถาบันศึกษาทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

 

มาตรา 33 การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควร

จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็น

เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติ ตาม

มาตรา 32 วรรคหนึ่ง

งานลิขสิทธิ์ จะคุ้มครองส่วนที่แสดงออกมา ดังนั้น แนวทางการดำเนินคดี ต้องดู งานเขียนของทั้งสองฉบับเปรียบเทียบกันครับว่า เหมือน หรือคล้าย จนเห็นได้ว่า เป็นการเลียนแบบ,ทำซ้ำ   ,ดัดแปลง  หรือเป็นการนำเอา แนวความคิดเดิมมาทำการต่อยอด ครับ ต้องดูรายละเอียดทั้งหมด ครับ  และเข้าเหตุตามข้อยกเว้นหรือไม่

ไม่ทราบว่า พอจะหายกลุ้มใจหรือเปล่าครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-05-07 20:54:17 IP :


ความคิดเห็นที่ 4 (103820)

ขอบคุณครับ

แต่เขาส่งหนังสือจากสำนักทนายความให้ไปชำระหนี้ค่าความเสียหาย จากการที่ได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ (ผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์)เป็นเงิน250,000 บาท ภายใน 15 วัน หนังสือลงวันที่ 4 พค.48 ได้รับวันที่ 6 พค.48

หมายความว่า 1. ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการเรียกจากผู้เขียนคนเดียวหรือเรียกจากทั้งผู้เขียนและสำนักพิมพ์

                      2. ค่าเสียหายดังกล่าวเขาคิดมาจากไหน และคิดอย่างไร 

                       3. การที่เขาส่งหนังสือให้ชำระหนี้ค่าเสียหายแสดงว่าเขาแน่ใจแล้วว่าทางผู้เขียนและสำนักพิมพ์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเพียงแต่ให้เป็นไปตามกฎหมาย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น กลุ้มใจมาก วันที่ตอบ 2005-05-09 23:20:33 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.