ReadyPlanet.com


ถูกรถเลี้ยวตัดหน้าในที่ห้ามเลี้ยวหรือห้ามกลับรถครับ


 ผมขับรถมอเตอไซตามรถเก๋งคู่กรณีครับด้านเลนซ้ายสุด บริเวณนั้นเป็นถนน 4 เลนข้างละ 2 เลน โดยเส้นกึ่งกลางถนนเป็นเส้นทึบสองเส้นคู่ พอถึงจุดเกิดเหตุนั้น รถเก๋งได้เลี้ยวซ้ายเล็กน้อยผมจึงคิดว่าเขาจะจอดข้างทาง เพราะเป็นเลนซ้ายสุด จึงเลี้ยวขวาเพื่อแซงออกไปแต่ปรากฎว่าคู่กรณีได้ทำการหักเลี้ยวขวาทันทีเพื่อจะกลับรถ จึงได้ชนเข้ากับรถผม เหตุทำให้รถผมล้มเสียหาย ตัวผมกล้ามเนื้อและเอ็นเท้าซ้ายบาดเจ็ดเป็นแผลครับ

จากนั้นผมได้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อทำแผล หมอที่โรงพยาบาลทำการเอ็กเรย์แล้วให้ไปทำแผลที่โรงพยาบาลที่มีประกันสังคม โดยค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลแรก คู่กรณีออกให้เลยหลังจากที่ภรรยาผมไปแจ้งความไว้และได้พบกันหลังจากนั้น ประกฎว่าผมต้องเย็บเอ็นและกล้ามเนื้อ และใช้ขาไม่ได้ 1 เดือนโดยใส่เฝือกไว้ หลังจากถอดเฝือก 1 เดือนผมก็ค่อยๆหัดเดินเพราะกล้ามเนื้ออ่อนแรง แผลยังไม่หายดีมีอาการเจ็บที่แผลเป็นระยะครับ หมอลงความเห็นว่าให้เดินอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนครับค่อยออกกำลังกายเบาๆได้

ผมมีคำถามครับ

1 ผมได้ลางานเกินกำหนดของบริษัท ทำให้ถูกหักโบนัส ผมจะขอเรียกเป็นค่าสินไหมได้หรือไม่

2 เหตุการข้างต้นอาจทำให้มีผลกับการประเมินตำแหน่งงานผมสามารถเรียกร้องได้หรือไม่

3 รถที่เสียหายบางชิ้นส่วนถูกซ่อมไม่ได้ถูกเปลี่ยน ผมสามารถเรียกร้องค่าเสื่อมสภาพได้หรือไม่

4 ค่าความเจ็บปวดความลำบากที่เกิดแก่ผมสามารถจะเรียกร้องได้หรือไม่ใช้วิธีคำนวณตัวเลขอย่างไร

5 ผมไม่สามารถเดินได้ปกติ ผมสูญเสียโอกาสมากมายระหว่างนี้ ผมจะเรียกร้องอะไรได้บ้างหรือไม่ครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ รัฐพงษ์ (boyachi-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2019-01-10 14:35:27 IP : 182.52.109.100


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4289222)

 อุบัติเหตุ

1 ผมได้ลางานเกินกำหนดของบริษัท ทำให้ถูกหักโบนัส ผมจะขอเรียกเป็นค่าสินไหมได้หรือไม่

ตอบ...ได้

2 เหตุการข้างต้นอาจทำให้มีผลกับการประเมินตำแหน่งงานผมสามารถเรียกร้องได้หรือไม่

ตอบ...ได้

3 รถที่เสียหายบางชิ้นส่วนถูกซ่อมไม่ได้ถูกเปลี่ยน ผมสามารถเรียกร้องค่าเสื่อมสภาพได้หรือไม่

ตอบ..เรียกค่าซ่อมรถได้....

4 ค่าความเจ็บปวดความลำบากที่เกิดแก่ผมสามารถจะเรียกร้องได้หรือไม่ใช้วิธีคำนวณตัวเลขอย่างไร

ตอบ...ค่าสินไหมทดแทน ตามกฎหมาย ได้แก่  ค่ารักษาพยาบาล   ค่าขาดประโยชน์ ในการทำงาน ( ทำงานไม่ได้กี่วัน ก็คิดคำนวณ ออกมาเป็นตัวเงิน)  ตาม ปพพ. ม.443...ค่าเสียหายแก่ร่างกายจิตใจ ที่คนทั่วไปเรียกว่า ค่าทำขวัญ ตาม ปพ. ม.420 ไม่มีการกำหนดตัวเลขไว้ชัดเจน ก็เรียกร้องได้ตามควรแก่ฐานานุรูป  ถ้าตกลงกันไม่ได้  ศาลก็คงกำหนดให้ตามความเหมาะสม...ปัญหาใหญ่ ในเรื่องอุบัติเหตุ  คือ คู่กรณีมักต่อสู้ว่า ตนไม่ได้ประมาท  จึงไม่ต้องรับผิด  หรือต่างฝ่ายต่างประมาท ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน  ค่าเสียหายก็ย่อมลดลง ประมาณ กึ่งหนึ่ง  ก็ต้องฟังความเห็น จากร้อยเวรเจ้าของคดีด้วยว่า เขาลงความเห็นว่าอย่างไร  เพราะความเห็นของตำรวจ ย่อมมีน้ำหนัก  เพราะไปตรวจที่เกิดเหตุ และสืบสวน และ สอบสวนพยามแวดล้อมต่างๆ ตามภารกิจหน้าที่....ศาลย่อมรับฟัง เป็นพยานหลักฐาน ประกอบการพิจารณาได้...

 

5 ผมไม่สามารถเดินได้ปกติ ผมสูญเสียโอกาสมากมายระหว่างนี้ ผมจะเรียกร้องอะไรได้บ้างหรือไม่ครับ

ตอบ...ตาม ข้อ  4

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2019-01-11 07:51:08 IP : 101.51.209.102


ความคิดเห็นที่ 2 (4289388)

 ขอบคุณครับ

ในที่เกิดเหตุ ร้อยเวร ลงในใบแจ้งความว่า คู่กรณีขับรถโดยประมาณ โดยกลับรถในที่ห้ามกลับรถ

เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บครับผม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น รัฐพงษ์ วันที่ตอบ 2019-01-11 11:03:02 IP : 182.52.109.100



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.