ReadyPlanet.com


การเปลี่ยนนามสกุลของบุตร โดยบิดาไม่ได้ยินยอม


รบกวนสอบถามอาจารย์ครับ ...กรณีบิดา มารดา สมรสกันโดยชอบด้วยกฏหมาย แต่ได้จดทะเบียนหย่าถูกต้อง  โดยบุตรอยู่ในความปกครองของมารดา แต่บิดายังไปหาทุกสัปดาห์ ให้การอุปการะตามสมควร จ่ายค่าเลี้ยงดูทุกเดือน(มารดา-ค่อนข้างกีดกันไม่ให้พบ)  จนถึงวัยเรียน  บุตรได้เข้าโรงเรียน และบิดาพบว่ามารดาได้แจ้งเปลี่ยนนามสกุลของบุตรให้ใช้นามสกุลมารดา โดยที่บิดาไม่ได้ยินยอม (เปลี่ยนตอนบุตรอายุ 1.4 ปี)  ขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้

1.)สามารถดำเนินการใดๆ ได้บ้างโดยไม่มีผลกระทบถึงบุตร

2.)ตามความผิดเกี่ยวกับเอกสาร มาตรา 264,265,266,267,268,269  สามารถทำอะไรได้บ้าง

3.) "คำขอ" เปลี่ยนนามสกุล ถือเป็นโมฆะหรือไม่ / หรือต้องทำอย่างไรให้สามารถยกเลิกได้บ้าง

4.) เจ้าหน้าที่(นายทะเบียน)มีความผิดหรือไม่ที่ดำเนินการให้ 

รบกวนอาจารย์ หรือ ผู้รู้ท่านอื่น ช่วยตอบด้วยครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูง

 



ผู้ตั้งกระทู้ พ่อน้องเหนือ :: วันที่ลงประกาศ 2005-05-16 13:41:22 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (108887)

ในความเห็นของผมนะครับ (หลังจากที่ได้ค้นคว้ากฎหมายมาแล้ว)

เมื่อ มีการจดทะเบียนหย่า และได้มีการบันทึกว่า ให้ มารดา เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ดังนั้น มารดา ก็สามารถใช้อำนาจปกครองได้เต็มที่ (ตามที่บิดา และมารดาตกลงร่วมกัน )  รวมทั้งเปลี่ยนชื่อสกุล ของบุตรได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากบิดา เนื่องจากไม่มีกฎหมายอะไรที่บังคับให้ต้องขอความยินยอมจากบิดา  ซึ่งจาก ดูตาม พรบ.ชื่อสกุล แล้ว ผู้ให้การอุปการะ ฯ สามารถขอตั้งชื่อสกุล เด็กที่ตนอุปการะได้

ตามคำถามที่ถามมา  

1.)สามารถดำเนินการใดๆ ได้บ้างโดยไม่มีผลกระทบถึงบุตร

ตอบ  ไม่ได้ครับ , เพราะ มารดา เป็นผู้ปกครอง โดยความยินยอมของคุณ มารดา มีอำนาจตามกฎหมายทุกอย่าง

2.)ตามความผิดเกี่ยวกับเอกสาร มาตรา 264,265,266,267,268,269  สามารถทำอะไรได้บ้าง

ตอบ  ไม่ได้ครับ เพราะไม่มีการกระทำความผิดอาญา อย่างที่คุณถามมาเลยสักมาตรา ครับ  การที่มารดา ซึ่งเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ โดยลำพังโดยได้รับความยินยอมจากบิดา  มีอำนาจเต็มที่ในการจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ชื่อสกุลของผู้เยาว์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งฯ ครับ  ไม่เป็นการปลอม แปลงเอกสาร หรือใช้เอกสารปลอม หรือแจ้งให้เจ้าพนักงานจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จอย่างใด  และที่สำคัญ ข้อหาต่างๆ ที่คุณถามมา กฎหมายเค้าจะเอาผิดได้ จะต้องฟังได้ว่า มีเจตนาพิเศษ คือ " โดยประการที่จะทำให้บุคคลอื่นหรือประชาชนได้รับความเสียหาย ..."  ครับ จึงจะเป็นความผิด

3.) "คำขอ" เปลี่ยนนามสกุล ถือเป็นโมฆะหรือไม่ / หรือต้องทำอย่างไรให้สามารถยกเลิกได้บ้าง

ตอบ   คำขอเปลี่ยนชื่อ สกุล เป็นไป ตาม พรบ.จดทะเบียนชื่อสกุล และการจดทะเบียนครอบครัว แล้วครับ จะเป็นโมฆะ ได้อย่างไร ครับ เหตุที่ทำให้ นิติกรรม เป็นโมฆะ ได้ ก็จะต้องเป็น การแสดงเจตนา ของผู้ทำ ที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมาย หรือขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด หรือ เป็นนิติกรรมอำพราง ฯลฯ กรณีที่คุณถามมา ไม่มีเหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ ครับ

4.) เจ้าหน้าที่(นายทะเบียน)มีความผิดหรือไม่ที่ดำเนินการให้  

ตอบ  นายทะเบียนดำเนินการ โดยเป็นไปตาม ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ และตาม พรบ.ชื่อบุคคล ฯ ที่ให้อำนาจไว้แล้วครับ ไม่ได้ดำเนินการผิดกฎหมายแต่อย่าง  นายทะเบียน จะผิดได้อย่างไรครับ

 

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1283/22 ตาม ป.พ.พ.ม.1561 บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ในกรณีบิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา เป็นบทบัญญัติใช้สิทธิแก่บุตรมิได้บังคับว่าต้องใช้เช่นนั้น บุตรชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้ แม้ปรากฏบิดาอันชอบด้วยกฎหมาย บิดามารดายอมให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ ข้อที่ว่าบุตร(ผู้เยาว์) ประสงค์เช่นนั้นหรือไม่ไม่มีประเด็นเป็นข้อเท็จจริงให้วินิจฉัยปัญหากฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ชอบที่ศาลจะยกวินิจฉัยยกฟ้อง

ประมวลกฎหมายแพ่ง ฯ

มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา

อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้

(1) มารดาหรือบิดาตาย

(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย

(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน

(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา

(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

 

พรบ.ชื่อบุคคล ฯ

มาตรา 15 ผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็ก หรือเจ้าของสถานพยาบาล สถาน

สงเคราะห์หรือสถานอุปการะเลี้ยงดูเด็กประสงค์จะจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลของ

เด็กซึ่งตนอุปการะเลี้ยงดู หรือเด็กแห่งสถานดังกล่าวซึ่งมีสัญชาติไทย แต่ไม่

ปรากฏชื่อสกุลใช้ร่วมกันหรือแยกกัน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ ที่

อุปการะเลี้ยงดูมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

หรือสถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ และให้นำความในวรรคสองและวรรคสามของ

มาตรา 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 9 ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล ให้ยื่นคำขอ

ต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการ

ทะเบียนราษฎร

เมื่อนายทะเบียนท้องที่พิจารณาเห็นว่าชื่อสกุลที่ขอตั้งนั้นไม่ขัดต่อพระราช

บัญญัตินี้ก็ให้เสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง เมื่อได้รับอนุมัติจาก

นายทะเบียนกลางแล้วให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้น แล้วออก

หนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนชื่อสกุลให้แก่ผู้ขอ

การปฏิบัติการ ตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

ในกฎกระทรวง

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-05-16 21:42:58 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (3720447)
2ั82ึ02ำ3-2ี32า12ึ0 2ี32ะ92ึ02ฯ52ฯ52ำ82ั32ฯ62ะ82ั12ำ62ี22ั42ิ12า22ั32ำ02า12า32ำ02ฮ92ำ72ั3 2ำ32า22ิ52ึ02ฮ92ิ02ั32ฮ92ำ72ั32ะ92ำ82า12ั52ฮ92ะ92ิ0 2ี32ะ92ึ02ั42ิ42ะ92า32ะ92ึ12ำ32ฯ52ฮ92ำ82า32ี22ั52า52ิ12ึ02า22ั32ั32ำ82า12ำ02ฮ92ิ42า5 -2ั42ิ42ะ92า32ำ32ำ82า22ิ42ะ92ึ02ำ92ฮ92า72ึ02ำ8202ั52ิ1 2ะ92ึ12ำ32ฯ52ฮ92ำ82า32ี22ั52า52ิ12ึ02า22ั32ั32ำ82า12ำ02ฮ92ิ42า52ี52ำ12า12ึ02ี22ั52ี92ั32ั32ำ82า12ำ02ฮ92ิ42า52ั12ิ12ึ02ะ92ำ72ึ12ฯ52ฯ02ิ22ึ12ั32ี22ำ32ฯ52ี62ะ82ึ12ำ12า32ิ32ำ32ี62า12ึ0(2ี32ะ92ึ02ั82ึ02ำ32ี32า12ึ02า22ำ72ฯ52ี52ฯ82ึ12ั32ำ82า12ำ02ฮ92ิ42า52ี22ะ82ิ02า1) -2ี22ั52า52ิ12ึ02า22ั32ี32า52ึ12า72ฯ62ำ62า12ิ12ั62า52ี22ำ02ิ12า22ำ32ำ62ี62า32ำ12า32ิ32ำ32ี22ั52า52ึ02ำ82ฯ22ำ6 -2ำ12ำ82ฮ92ะ92ึ12ำ32ฯ52า12ิ12ั82ึ02ำ32ี32า12ึ02า22ิ02ั32า22ำ32า1 2ฯ62ำ62ะ92ึ12ำ32ฯ52า12ิ12ฮ92ำ82า32า22ิ02ั32า22ำ32า12ั12ำ72ึ12ฯ52ั82ึ02ำ32ี32า52ำ62ี32า12ึ0 2ำ12า32ิ32ำ32ี32ฯ22ึ02ั72ึ02ำ82า22ี52ะ82ั72ึ02ำ82า22ำ12ั32ิ22ึ02ฯ52ฮ92ี92ี62ะ82ึ1
ผู้แสดงความคิดเห็น Jiraporn วันที่ตอบ 2014-10-13 15:30:41 IP : 49.230.135.114



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.