ReadyPlanet.com


ช่วยหน่อยครับเอาไปทำรายงาน


อยากได้ฎีกา ป.อาญา 141กับ142

แล้วฎีกา ป.วิอาญา 162  อย่างล่ะ10ฎีกา

ใครรู้ช่วยผมหน่อยครับขอบคุณมากครับ



ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษาปี4 :: วันที่ลงประกาศ 2005-07-04 20:35:58 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (149495)

มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งตราหรือ

เครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใด ๆ ในการปฏิบัติการตาม

หน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดอายัดหรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจำคุก

ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

544/05 ในฟ้องกล่าวบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยทำลายตราหลักเขต

ป่าสงวน ซึ่งเจ้าพนักงานตรีตราประทับไว้ที่ต้นไม้ส้าน ย่อมไม่มีทางที่จะเข้า

ในได้ว่า เป็นตราที่เจ้าพนักงานประทับไว้ในในการปฏิบัติตามหน้าที่ เพื่อเป็น

หลักฐานในการยึดอายัดหรือรักษาสิ่งนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา

141 ฟ้องอย่านี้ศาลต้องยกฟ้อง

17/06 เจ้าพนักงานที่ดินผู้ไปทำแผนที่พิพาทตามคำสั่งศาลในคดีแพ่ง ไม่

ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา1 และ 67แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพราะ

มิได้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นแต่ศาลขอร้องในฐานผู้ชำนาญ

หรือมีความรู้ในทางนี้ ทั้งไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อ

เป็นหลักฐานในการยึด อายัดหรือรักษาสิ่งใด ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 141 ด้วย ฉะนั้น เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปทำแผนที่พิพาทตามคำสั่ง

ศาลและปักหลักเครื่องหมายเขตที่ดินไว้ จำเลยถอนจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือทำให้สูญหาย

หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือ

สั่งให้ส่ง เพื่อเป็นพยานหลักฐานหรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่า

เจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์ หรือเอกสารนั้นไว้เองหรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่นส่งหรือรักษา

ไว้ก็ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

1528/03 ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายลักษณะ

อาญา ร.ศ.127 มาตรา 290 นั้น หาได้ถูกประมวลกฎหมายอาญายกเลิก

ไปโดยสิ้นเชิงไม่ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดจะไม่มี

บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แต่การเอาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดรักษาไว้

ไปโดยทุจริต ก็คงยังเป็นความผิดตามมาตรา 142 ประมวลกฎหมายอาญาอยู่

665/17 ฮ.ใช้ปืนยิง ป. และ ว. ตาย จ่าสิบตำรวจ ส. ได้รับ

แจ้งความแล้วไปยังที่เกิดเหตุในระหว่างทางพบจำเลยที่ 1 และ 2 และ ฮ.

จึงถามจำเลยที่ 1 ว่าปืนที่ ฮ.ใช้ยิง ป. และ ว. นั้นอยู่กับใคร จำเลยที่ 1

ว่าอยู่กับ จำเลยที่ 3 จ่าสิบตำรวจ ส. บอกจำเลยที่ 1 ให้เก็บปืนไว้ด้วย

เมื่อจ่าสิบตำรวจ ส. มอบตัว ฮ. ที่สถานีตำรวจแล้วกลับไปที่เกิดเหตุเพื่อ

ยึดปืนของกลาง จ่าสิบตำรวจ ส. ถามจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ว่าเมื่อได้

รับปืนจากจำเลยที่ 2 แล้วได้เอาไปวางไว้ที่กล่องเบียร์แล้วหายไป จ่าสิบ

ตำรวจ ส. จึงไม่ได้ปืนนั้นมาเป็นของกลาง ดังนี้บุตรของ ป. กับ ว. และ

มารดาของ ว. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142

3854/25 สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซียห่างเขตแดน

ประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซีย

เมื่อเวลา 8 นาฬิกานายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทยยึดเห็ดหอมไม่

ปรากฏเจ้าของมาจากที่ทำงานพนักงานตรวจรถไฟ ซึ่งอยู่ติดสถานีเพื่อเก็บใน

ด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิดประตูห้อง จำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของ

ขอคืน แล้วเกิดทำร้ายกันขึ้น เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับ

ความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกันคือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และเอาของกลางไป

ดังนี้ ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็น

ความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.

ศุลกากรฯ ม.27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมา

จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.142

2145/31 จำเลยจูงรถจักรยานยนต์ของบุคคลอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ยึดไว้ไปจากที่จอดรถหน้าสถานีตำรวจ โดยไม่มีเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดได้ว่า

รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นของจำเลย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตามไปทันขณะ

จำเลยกำลังจูงรถจักรยานยนต์อยู่ จำเลยก็ไม่ได้โต้เถียงว่าเป็นรถของ

จำเลย เจ้าหน้าที่ตำรวจขอดูใบอนุญาตขับขี่และสำเนาทะเบียนรถจำเลยก็

ไม่มีแสดง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปโดย

เจตนาทุจริต

 

มาตรา 162 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความ

ลงในเอกสาร กระทำการดังต่อไปนี้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่

(1) รับรองเป็นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้นหรือว่าการอย่างใดได้กระทำ

ต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ

(2) รับรองเป็นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้ง

(3) ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจด หรือจดเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้น หรือ

(4) รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

70-71/42 ป่าไม้เขตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่เลือก

ไม้ที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจประเภทไม้แก่จัด มีขนาดโตเกินขนาด

จำกัดมากและอยู่ในวัยเสื่อมหรือยอดไม่สมบูรณ์และให้ตีราคาคัดเลือก

อนุญาตให้ตัดไม้ฟันไม้เพื่อบำรุงป่า หรือ บร. กับทำบัญชีคัดเลือกไม้

เสนอผู้บังคับบัญชา แล้วป่าไม้เขตจะได้ประมูลหาผู้รับจ้างตัดโค่นและ

ซื้อไม้ดังกล่าว โดยแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15

ไปทำการตรวจวัดตีตรารัฐบาลขาย หรือ รข. เป็นการอนุญาตให้ชัก

ลากไม้ได้ โดยจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึง 15 จะต้องตีตราเฉพาะ

ไม้ที่มีตรา บร. เท่านั้น และจะต้องตรวจดูว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตรา

ต้นไม้ถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะตีตรา รข. ไม่ได้ และจะต้อง

รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กลับตีตราไม้ที่ดี

มีค่าทางเศรษฐกิจเป็นการขัดคำสั่ง ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบ

หมาย เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้

และรัฐเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4

ทำบัญชีสำรวจคัดเลือกตีตราไม้เสนอผู้บังคับบัญชา ซึ่งไม่เป็นความจริง

จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารดังกล่าว

จึงมีความผิดฐานรับรองเป็นหลักฐานว่าได้กระทำการตามที่ระบุใน

เอกสารขึ้นอันเป็นความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 162 (1)

จำเลยที่ 16 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด เมื่อจำเลยที่ 17 เป็นกรรมการ

ได้ทำสัญญาตัดฟันไม้และซื้อไม้เหล่านั้นจากกรมป่าไม้ โดยจำเลยที่ 16

ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการตัดฟันไม้แทน และจำเลยที่ 5

ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 ได้ตีตราไม้ที่ยังไม่ตีตรา บร. แสดงว่าเป็น

ไม้ที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นการปฏิบัติ

หน้าที่โดยมิชอบเกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้และรัฐตาม ป.อ.

มาตรา 157 และการที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 เป็น

เจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารได้ทำบัญชีรับรองเป็นหลักฐานว่าตน

ได้ตีตรา รข. บนไม้ที่มีการคัดเลือกแล้วทุกต้น อันเป็นความเท็จ

จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา

162 (1) ด้วย

ขณะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตรา บร. คัดเลือกไม้ที่จะทำการโค่น

จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยังไม่ทราบว่าใครจะเป็นผู้ประมูลโค่นต้นไม้และซื้อ

ไม้ได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 เป็นผู้สนับสนุนการ

กระทำผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17

ตัดโค่นไม้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตราไว้ตามสัญญาจ้างตัดโค่นและขาย

ไม้ที่ทำไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 จึงไม่เป็นผู้สนับสนุนการกระ

ทำผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 อย่างไรก็ดีปรากฏ

ว่าไม้ที่ตัดโค่นบางส่วนไม่มีตราของราชการใดๆ เลยจำเลยที่ 1 ที่ 16

และที่ 17 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป

ไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ

2205/32 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานได้รับ

แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างการก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีหน้าที่

ตรวจและควบคุมการจ้างให้ดำเนินไปตามข้อกำหนดในสัญญา แบบแปลนและ

แผนผัง เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องแล้วให้รับมอบงานแล้วรายงานต่อผู้มี

อำนาจสั่งจ้างทราบพร้อมด้วยหลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลย

ที่ 6 ได้ทำหลักฐานใบตรวจรับงานจ้างเหมาแจ้งว่าจำเลยที่ 7 ได้ก่อสร้าง

บ้านพักครูแล้วเสร็จตามสัญญาจ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นความเท็จโดยงานยังไม่แล้ว

เสร็จเป็นการรับรองเป็นหลักฐาน ซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความ

จริงอันเป็นเท็จเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (4) และเป็นเหตุให้มี

การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้จำเลยที่ 7 รับไป จึงเป็นการปฏิบัติ

หน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับความเสียหายมี

ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ด้วย

4392-4393/31 จำเลยที่ 1 เป็นที่ดินอำเภอได้รับแต่งตั้งให้เป็น

กรรมการตรวจสอบไม้ในที่ดิน น.ส.3 มีหน้าที่ออกไปตรวจสอบว่ามีไม้ขึ้นอยู่

ในที่ดินแปลงที่ขออนุญาตทำไม้หรือไม่ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ออกไปตรวจสอบ

อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อ

รับรองในบันทึกการตรวจสอบไม้ว่า เห็นสมควรให้ทำไม้ยางออกจากที่ดิน

น.ส.3 ได้ เป็นการรับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้ออกไปตรวจสอบไม้ดังกล่าว

อันเป็นความเท็จ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162

(1) ซึ่งเป็นการกระทำต่อเนื่องกันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

โดยมีเจตนา เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับ

ตนเองหรือผู้อื่นในคราวเดียวกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมาย

หลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มี

โทษหนักที่สุด

5581/30 จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกำนันและนายทะเบียนตำบลรู้ว่า ห.ซึ่ง

เป็นลูกบ้านของตนอยู่บ้านเลขที่ 249 มิใช่บ้านเลขที่ 363 เมื่อจำเลยที่ 1

มาแจ้งขอย้ายชื่อ ห.จากทะเบียนบ้านเลขที่ 159 ไปอยู่บ้านเลขที่ 363

จำเลยที่ 3 ย่อมรู้ได้ทันทีว่าข้อความในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17เป็นเท็จ

จำเลยที่ 3 ลงชื่อในฐานะนายทะเบียนตำบลในเอกสารดังกล่าวจึงเป็นการ

ลงชื่อรับรองหลักฐานเป็นเท็จจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร

รับรองเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 แจ้งย้ายที่อยู่ของ ห.ซึ่งจำเลยที่ 3

รู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ และยังรับแจ้งในฐานะนายทะเบียนตำบลเป็นการปฏิบัติ

หน้าที่โดยมิชอบ การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิดตามประมวล

กฎหมายอาญา มาตรา 162(1),157

ในฟ้องเดียวกันโจทก์อาจบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลย

ทั้งสามกรอกข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 162 และ

บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่

ทำเอกสารกรอกข้อความในเอกสารและร่วมกันปลอมลายมือชื่อ ห.โดย

อาศัยโอกาสที่จำเลยที่ 3 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดย

มิชอบและโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชนซึ่งเป็น

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

473/26 จำเลยเป็นตำรวจประจำที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองมีหน้าที่

เขียนประจำวัน มิได้มีหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวเข้าเมือง

แต่อย่างใด แม้จำเลยจะจดข้อความเกี่ยวกับการที่คนต่างด้าวถูกจับ และผล

คำพิพากษาในหนังสือเดินทาง ก็กระทำเป็นส่วนตัวของจำเลยเองโดยไม่มี

หน้าที่ จึงไม่ใช่กระทำการในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันจะเป็นความผิดตาม

ป.อ.ม.162

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-07-05 06:56:50 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (150760)
เรียนท่านผู้ที่รู้ ช่วยด้วยครับเอาไปทำรายงาน

อยากได้ฎีกา ประมวลกฎหมายอาญา 326-333

อย่างละ1 ฎีกา

ขอบพระคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษาสวนดุสิต วันที่ตอบ 2005-07-06 11:11:41 IP :


ความคิดเห็นที่ 3 (151211)

ขอบคุณมากน่าครับสำหรับผู้ที่โพสให้ข้อมูลขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษาปี4 วันที่ตอบ 2005-07-06 17:23:16 IP :


ความคิดเห็นที่ 4 (2945465)
ขอตัวอย่างมาตราที่141หน่อยค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น อ้อม (aomza_hypwes-at-hoymail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-12-02 20:20:51 IP : 117.47.133.62


ความคิดเห็นที่ 5 (3167432)

ถูกกล่าวหาในกฎหมายอาญามาตรา162 โดยไม่ได้กระทำความผิดและมีส่วนรู้เ็ห็นด้วย  ดังนั้นจึงอยากทราบข้อกฎหมายมาตรา162 และจะแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างไร เรียนผู้รู้โปรดตอบด้วย ขอบคุณมาก

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้น้อย วันที่ตอบ 2010-04-03 12:09:08 IP : 58.9.206.54


ความคิดเห็นที่ 6 (3212229)

ขอทราบกรณี  1. จนท.จับกุมไม้สักท่อน บริเวณบ้านของนาย ก.ซึ่งนาย ก.ปฎิเสธ(เป็นคนที่เข้ารับการรักษา ร.พ.ประสาทอยู่) จะมีความผิดหรือไม่  ผิดโทษสุงสุดเท่าไร 2. จนท.ตรวจยึดเครื่องเรี่อยยนต์ ในพื่นที่ของตนเอง จะมีความผิดหรือไม่ โทษสุงสุดเท่าไร

ผู้แสดงความคิดเห็น อนันต์ แก้วทิตย์ วันที่ตอบ 2010-09-17 13:38:21 IP : 118.172.101.192



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.