ReadyPlanet.com


จดทะเบียนสมรสกับไม่จดอะไรดีกว่ากัน


ก็เห็นหลาย ๆคู่แต่งไปแล้วก็มีทั้งจดและไม่จด ขอความคิดเห็นถึงผลดีผลเสียด้วยในทาง กฎหมาย


ผู้ตั้งกระทู้ อยากทราบ :: วันที่ลงประกาศ 2005-07-10 22:28:39 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (156047)

ถ้ายังไม่มีลูกก็ไม่จดดีกว่า แต่หากมีลูกแล้วควรจดเพราะต้องแสดงหลักฐานในการศึกษาของบุตร และอีกหลายๆด้านทางกฎฎหมาย แต่ในด้านทรัพย์สินหากไม่จดก็ใช้กฎหมายเรื่องหุ้นส่วนมาใช้แทนได้อยู่แล้ว ในด้านความคิดของผู้เขียนหากคิดจะอยู่กันจนตายจากกันควรจดทะเบียนดีกว่า ซึ่งมีสุภาษิตฝรั่งกล่าวไว้ว่า "การแต่งงานคือการเดินทางไกลที่ไม่มีวันสิ้นสุดจนกว่าจะตาย" คุณคิดเองเพราะคุณยังมีสิทธิ

ผู้แสดงความคิดเห็น สาวยโสธร วันที่ตอบ 2005-07-11 14:06:36 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (156075)

การจดทะเบียน สมรส คือการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายครับ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับคนที่ สุจริต

การจดทะเบียนสมรส ได้ประโยชน์กับทุกๆ ฝ่ายครับ เช่น

-ระหว่าง คู่สมรสกันเอง  ทั้งสองฝ่ายก็จะได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพย์สิน ,สิทธิและหน้าที่ ๆ มีต่อกัน  เช่น การที่คู่สมรสฝ่ายใดต้องทำนิติกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สิน จะต้องเป็นการจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ มีการแยกทางกัน กฎหมายก็จะมาคุ้มครองให้ทั้งสองฝ่ายได้รับส่วนแบ่ง เท่าๆ กัน  หาก ไม่จดทะเบียน ทรัพย์สินใส่ชื่อใคร ก็ต้องเป็นของคนนั้น หากไม่แบ่งก็ต้องไปฟ้องกันเป็นคดีครับ  

-ระหว่าง สามีภรรยา และบุตร ก็จะได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมาย เช่น หากไม่จดทะเบียนสมรส  บุตรที่เกิดมา ก็จะถือว่าเป็นบุตรนอกสมรส ซึ่งจะถูกจำกัดสิทธิบางอย่างต่อ บิดา เช่น หากบิดา ถูกรถชนตาย บุตรนอกสมรส ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากคนที่ขับรถชนนะครับ

-ระหว่าง สามี-ภรรยา และบุคคลภายนอก ก็จะได้รับการคุ้มครอง ครับ ทั้งฝ่าย สามีภรรยา และบุคคลภายนอก เช่น การก่อหนี้ การทำนิติกรรมสัญญาใดๆ ที่จะต้องได้รับความยินยอม จากอีกฝ่ายหนึ่ง  

เอา เป็นว่า คุณเป็นห่วงในแง่ใด ก็กรุณาโทรมาสอบถามได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-07-11 14:36:50 IP :


ความคิดเห็นที่ 3 (2917310)

อยากจะปรึกษาเรื่อง การจดทะเบียนสมรส ซึ่ง ตั้งแต่ทีแรกได้มีการจดทะเบียนสมรสการปกติ แต่อยู่กินกันมาสักพัก และระหว่างมีบุตร สามีขอจดทะเบียนหย่า แต่ยังไม่ได้ทำการใด ๆ จึงขอปรึกษาว่า การหย่าหลังจากคลอดบุตรเสร็จ จะทำให้บุตรมีสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะเกิดขึ้นภายหลังหรือไม่ หากผู้เป็นบิดาได้ เสียชีวิต และภรรยาจะมีสิทธิ์อะไรหรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น แม่มือใหม่ วันที่ตอบ 2008-10-03 13:26:25 IP : 222.123.122.64


ความคิดเห็นที่ 4 (2992318)
การอยู่กินกับสามีฝรั่งโดยยังไม่มีการกระทำใดๆ ที่ถูกต้องตามกฏหมาย คือแต่งงานกันและมีทะเบียนสมรสจะมีผลอย่างไรบ้างค่ะ และต้องทำอย่างไรบ้างกับความมั่นคงในสถานะภาพของการอยู่กินโดยไม่มีทะเบียนสมรส
ผู้แสดงความคิดเห็น นางสาว นันท์นภัส เพ็งจันทร์ (bannueng1977-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-04-06 13:32:33 IP : 61.19.67.249


ความคิดเห็นที่ 5 (3202998)

แต่งงานมาย่างเข้าปีที่ 3 แล้วแต่ยังไม่จดทะเบียนเลยและคิดว่าจะไม่จดด้วยถ้าเกิดมีอะไรเกิดขึ้นจะมีผลต่ออะไรบ้างเช่น สมมุติเราเสียชีวิตส่วนที่เป็นของเราจะตกเป็นของสามีหรือของพ่อแม่เรา แต่เราไม่ลูกด้วยกันนะ ทุกอย่างเราได้แบ่งกันเรีอบร้อยแล้วก่อนแต่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น คนไม่อยากคนทะเบียน วันที่ตอบ 2010-08-15 21:52:05 IP : 125.26.119.181


ความคิดเห็นที่ 6 (3202999)

แต่งงานมาย่างเข้าปีที่ 3 แล้วแต่ยังไม่จดทะเบียนเลยและคิดว่าจะไม่จดด้วยถ้าเกิดมีอะไรเกิดขึ้นจะมีผลต่ออะไรบ้างเช่น สมมุติเราเสียชีวิตส่วนที่เป็นของเราจะตกเป็นของสามีหรือของพ่อแม่เรา แต่เราไม่ลูกด้วยกันนะ ทุกอย่างเราได้แบ่งกันเรีอบร้อยแล้วก่อนแต่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น คนไม่อยากคนทะเบียน วันที่ตอบ 2010-08-15 21:53:17 IP : 125.26.119.181


ความคิดเห็นที่ 7 (3298946)

 ไม่จดดีกว่าค่ะถ้าไม่มีลูก ปลอดภัยที่สุดสำหรับสองฝ่าย เพียงแต่บางคนอาจจะเสียความรู้สึกเพราะว่ามันขัดจารีต แต่อย่าลืมว่าความรักไม่ขึ้นอยู่กับทะเบียนสมรสนะคะ ไม่ได้สินสมรสแต่ทรัพย์สินที่หามาได้ระหว่างแต่งงานที่ทำมาหากินด้วยกัน ก็ถือเป็นทรัพย์สินร่วมค่ะ ก็แฟร์ดียิ่งสำหรับผู้หญิงบางคนมีศักดิ์ศรีมากๆไม่ชอบให้สามีเลี้ยงก็จะตรงความต้องการ

ยิ่งถ้าทำธุรกิจ ไม่จดทะเบียนสมรส สมมติคนใดคนหนึ่งธุรกิจล้ม อีกคนจะได้ยังอยู่มาช่วยกันได้ไม่ใช่ล่มจมทั้งคู่ หนี้สินในธุรกิจก็แบ่งกันรับผิดชอบได้ ปรึกษาระหว่างครอบครัวสองฝ่ายก่อนค่ะถ้าคุณทั้งคู่มีกิจการส่วนตัว

ผู้แสดงความคิดเห็น tortillaz วันที่ตอบ 2012-09-20 01:03:52 IP : 101.108.155.211



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.