ReadyPlanet.com


ปล้นไฟฟ้า


การลักเอากระแสไฟฟ้า นี่มีความผิดฐานลักทรัพย์ไหมครับ


ผู้ตั้งกระทู้ ถัง :: วันที่ลงประกาศ 2005-09-04 15:28:43 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (215883)

กระแสไฟฟ้า ถือว่า เป็นทรัพย์สิน ครับ  การลักกระแสไฟฟ้า ถือเป็นลักทรัพย์ครับ

พอดี ค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าไม่เจอ ลองอ่านเรื่องเกี่ยวกับลักโทรศัพท์ เทียบเคียงกันดูนะครับ

1880/2542(ประชุมใหญ่)

โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดชัยภูมิ

จำเลย นายบรรหาร ศรีภิรมย์

อาญา รอการลงโทษ ลักทรัพย์ (มาตรา 56,334)

โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2539 และระหว่าง

วันที่ 16 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2539 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน

วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์

สาธารณะ หมายเลข 821119 และหมายเลข 821145 ขององค์การ

โทรศัพท์แห่งประเทศไทยผู้เสียหายไปคิดเป็นเงิน 861 บาท และ

1,822 บาท ตามลำดับ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา

334,335,91

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 335(1)(10) วรรคสาม,91 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 18 ปี

รู้ผิดชอบดีแล้วจึงไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก

2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทา

โทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก

1 ปี

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล

กฎหมายอาญา มาตรา 334, 91 เป็นความผิด 2 กระทงให้จำคุกกระทง

ละ 6 เดือน รวมจำคุก 1 ปี เมื่อลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุก 6

เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด

ฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ไม่ผิดตามประมวล

กฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(10) วรรคสาม จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว

จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์

ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้าง

ในชั้นฎีกา แต่เมื่อเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลย

ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะเป็นเพียงการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์

โดยไม่มีสิทธิ ไม่ใช่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตนั้น ศาลฎีกาโดย

มติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยเอา

สัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่ง

ประเทศไทยไปใช้จริง คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดย

พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 7 หน้าที่ 250

อธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแส

ไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแส

ไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้า

ที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความ

ครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของ

จำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแส

ไฟฟ้าตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ที่ 877/2501 ระหว่าง

พนักงานอัยการ กรมอัยการ โจทก์ นายฮั่วเชียงหรือฮวดเชียง แซ่เตีย

กับพวก จำเลยส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2539 ระหว่างอัยการ

สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์นายแมน นุ่มละมูล จำเลย ที่จำเลยอ้างมาใน

ฎีกานั้น ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ เนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นเรื่องจำเลย

ปรับจูนและก๊อป***คลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือแล้วใช้รับส่งวิทยุคมนาคม

โดยอาศัยคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายที่ล่องลอยอยู่ในอากาศกรณี

จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องลักสัญญาณโทรศัพท์ที่อยู่ภายใน

สายโทรศัพท์และอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์จึงชอบแล้ว

ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต่อไปมีว่าสมควรรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ เห็นว่า จำเลย

เป็นนักศึกษา อายุยังน้อย ประกอบกับได้บรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินให้แก่

ผู้เสียหายไปแล้วและเพิ่งกระทำความผิดครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่ศาลอุทธรณ์

ภาค 1 ใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษให้จำเลยนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของ

ศาลฎีกา ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้นแต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นสมควร

ลงโทษปรับด้วย"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลยกระทงละ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่ง

ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับกระทง

ละ 1,000 บาท รวม 2 กระทง ปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ

ไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ให้จำเลยไป

รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติภายในกำหนดเวลาที่รอการลงโทษทุก

3 เดือน ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา

29,30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้

ดุลพินิจไม่รอการลงโทษให้จำเลยนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นสมควรลงโทษ

ปรับด้วย"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลยกระทงละ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่ง

ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ

กระทงละ 1,000 บาท รวม 2 กระทง ปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้

รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56

ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติภายในกำหนดเวลาที่รอการ

ลงโทษทุก 3 เดือน ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 29,30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

(ชาญชัย ลิขิตจิตถะ-กนก พรรณรักษา-ชวเลิศ โสภณวัต)

จิตฤดี วีระเวสส์ - ย่อ

*หมายเหตุ

ข้อสังเกตจากคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้มีดังนี้

1. ศาลฎีกาให้วินิจฉัยคดีนี้โดยอ้างนัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ประชุมใหญ่ที่

877/2501 โดยถือว่าเป็น "เรื่องลักสัญญาณโทรศัพท์ที่อยู่ภายในสายโทรศัพท์" จาก

คำพิพากษาศาลฎีกาในปี 2501 ก็ดีหรือในปี 2542 ที่กำลังศึกษาอยู่นี้ก็ดี เลยทำให้

คิดว่าหากมีการลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ที่ส่งตามสายเคเบิ้ลที่กำลังนิยมใช้กันอยู่ในขณะนี้

ก็คงจะถือได้ว่าเป็นการลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แต่ในขณะเดียวกันหากเป็นการ

ลักคลื่นสัญญาโทรศัพท์ที่ส่งผ่านดาวเทียมสื่อสารมายังจานรับสัญญาณดาวเทียมที่ติดอยู่

ตามบ้านแล้ว ก็คงจะไม่ผิดตามมาตราดังกล่าวโดยอาศัยเทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่

5354/2539 ผลของคดีที่ผู้เขียนหยิบยกขึ้นมานี้เป็นเรื่องที่น่าพิเคราะห์โดยละเอียด

อย่างยิ่งเพราะมีการลักขโมยคลื่นสัญญาณเช่นเดียวกันและจากแหล่งที่ส่งเคลื่อนแหล่งเดียวกัน

รวมทั้งรายการโทรทัศน์ที่ปรากฏในเคเบิ้ลทีวีก็เป็นรายการเดียวกัน แต่ผลของคดีจะ

แตกต่างกันตรงที่ว่า การลักคลื่นสัญญานั้นเป็นการลักสัญญาณที่ส่งมาตามสายหรือไม่

2. จากข้อสังเกตตามข้อ 1 ข้างต้น จึงควรมีกฎหมายเฉพาะที่ใช้ในการวินิจฉัย

คดีทำนองนี้ในอนาคต ไม่ใช่ยังคงอาศัยประมวลกฎหมายอาญาที่ร่างขึ้นมาภายใต้หลัก

กฎหมายและแนวความคิดที่แตกต่างจากวิวัฒนาการของโลกปัจจุบัน

3. ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่กำลังศึกษาอยู่นี้ จำเลยกระทำผิดโดยลักสัญญาณ

โทรศัพท์จากผู้เสียหายคิดเป็นเงิน 861 บาท และ 1,822 บาท ตามลำดับ แต่จำเลย

ต้องถูกปรับกระทงละ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่ง โดยศาลฎีกามิได้อ้างเหตุผลไว้ใน

คำพิพากษาว่าศาลฎีกาเห็นอย่างไร คงมีเพียงแต่ "เพื่อให้จำเลยหลาบจำ" ซึ่งคงเป็นเพราะ

คดีนี้กระทบต่อผลประโยชน์ของสาธารณชน หรือมิฉะนั้นก็คงเป็นเพราะศาลพยายามใช้

โทษปรับมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ลงโทษจำคุกซึ่งรอไว้อยู่แล้ว มิฉะนั้น จำเลย

จะรู้สึกเหมือนไม่ได้รับโทษเท่าใดนัก

พรชัย ด่านวิวัฒน์

 

 

2286/2545

โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต

จำเลย นายโรม่าน ไซคอฟสกี้ (นายราฟ เฮอซอค)

อาญา โดยทุจริต รอการลงโทษ เจตนา หลายกรรมต่างกัน ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน

ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ (มาตรา 1, (1), 56, 91, 335 (1), 336 ทวิ)

วิธีพิจารณาความอาญา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย นำวิธีพิจารณา

ในศาลอุทธรณ์มาใช้ในชั้นศาลฎีกา (มาตรา 195 วรรคสอง, 225)

พ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ (มาตรา 31, 12, 18, 58, 62, 81)

โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2542 ถึงวันที่ 18 มกราคม 2542

เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยซึ่งเป็นคนต่างด้าว เชื้อชาติ และสัญชาติ

เยอรมันเข้ามาในราชอาณาจักรไทยทางชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ โดยไม่มีหนังสือ

เดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ไม่เดินทางเข้ามาตราช่องทางด่านตรวจ

คนเข้าเมือง เขตท่า สถานี หรือท้องที่และตามกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีได้ประกาศไว้

ไม่ยื่นรายการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ผ่านการตรวจอนุญาตของพนักงาน

เจ้าหน้าที่หลังจากจำเลยเข้ามาแล้ว จำเลยอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต

และจำเลยได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์หลายกรรมต่างกันกล่าวคือ เมื่อที่ 29, 31

กรกฎาคม 2542 วันที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 9, 10, 12, 14, 16, และ 17

สิงหาคม 2542 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงและหลังเที่ยง จำเลยลักเอาคลื่นสัญญา

โทรศัพท์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย โดยนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับ

สายสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหาย และกดหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศ

รวม 16 ครั้ง โดยทุจริตคิดเป็นเงิน 26,703.50 บาท ในการลักทรัพย์ดังกล่าว

จำเลยใช้รถจักรยนต์หมายเลขทะเบียน ภูเก็ต ธ -07741 เป็นยานพาหนะเพื่อ

สะดวกแก่การกระทำผิดและหลบหนี เหตุเกิดตำบลป่าตอง อำเภอกระทู้ จังหวัด

ภูเก็ต เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดเครื่องโทรศัพท์ 1 เครื่อง รถจักรยานยนต์

หมายเลขทะเบียน ภูเก็ต ธ-0741 จำนวน 1 คัน นามบัตรเขียนหมายเลขโทรศัพท์

ต่างประเทศ 1 ฉบับ และเทปพันสายไฟ 1 ม้วน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการลักทรัพย์และ

เพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์เป็นของกลาง รถจักรยานยนต์ของกลางคืนให้

เจ้าของแล้ว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 334, 335,

336 ทวิ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 11, 12, 18,

58, 62, 81 ริบของกลางที่เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ และให้จำเลยใช้หรือคืนเงิน

26,703.50 บาท แก่ผู้เสียหาย

จำเลยให้การับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง

พ.ศ. 2522 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 81 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1),

336 ทวิ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง

ความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเข้ามาในราชอาณาจักร

โดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 14 วัน ฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก

14 วัน ฐานไม่มีหนังสือเดินทาง (ที่ถูกฐานคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร

โดยไม่มีหนังสือเดินทาง) จำคุก 14 วัน (ที่ถูกความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง

พ.ศ. 2522 ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 11, 12 (1), 18 วรรคสอง, 62

วรรคหนึ่ง, 81ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานเป็นคนต่างด้าว

อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกกระทงละ 14 วัน รวมสองกระทง

จำคุก 28 วัน) ฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ (ที่ถูกฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน

โดยใช้ยานพาหนะ) จำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 16 กระทง รวมจำคุก

ทั้งสิ้น 24 ปี 1 เดือน 12 วัน จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์

แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 78 คงจำคุก 12 ปี 21 วัน รับของกลางที่เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ และ

ให้จำเลยใช้หรือคืนเงิน 26,703.50 บาทแก่ผู้เสียหาย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์

ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1)

วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เข้าตามช่อง

ทางที่รัฐมนตรีกำหนด ฐานคนต่างด้าวเข้ามาในราชจักรโดยไม่มีหนังสือเดินทาง

ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตฐานคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร

โดยไม่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัว ฐานคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร

โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11,

12 (1), 18 วรรคสอง, 58, 62 วรรคหนึ่ง, 81 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

เรียงกระทงลงโทษ แต่เฉพาะฐานคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีหนังสือ

เดินทาง ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานคนต่างด้าว

เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัว เป็นความผิด

กรรมเดียว ลงโทษฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อรวมโทษ

ทุกกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) ให้จำคุก 20 ปี จำเลย

ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้

กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปี ให้ยกโทษจำคุก

ในความผิดฐานคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ มีหนังสือเดินทาง นอกจาก

ที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลย

ประการแรกมีว่า การที่จำเลยแอบต่อพ่วงใช้สัญญาณโทรศัพท์โดยไม่ได้รับอนุญาต

และแอบใช้สัญญาณโทรศัพท์โทรไปต่างประเทศโดยเจตนาจะไม่ชำระค่าใช้โทรศัพท์

เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ ซึ่งจำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียง

การต่อใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ไม่เป็น

ความผิดฐานลักทรัพย์ เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเอาคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของ

การสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย โดยนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับสายสัญญาณ

โทรศัพท์ของผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยกดเลขหมายโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศ

รวม 16 ครั้ง แต่ละครั้งโทรติดต่อหลายรายการ จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง

ซึ่งเท่ากับจำเลยรับว่าได้ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ของผู้เสียหายไปจริง

สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้า

นั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ขุมสายประจำภูมิภาคของผู้เสียหาย แล้วแปลง

สัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งไปยังเครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับ

ปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็น

กระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำ

จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่ง

อยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริตจึงเป็น

ความผิดฐานลักทรัพย์ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ที่ 1880/2542

ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดชัยภูมิ โจทก์ นายบรรหาร ศรีภิรมย์ จำเลย ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2539 ที่จำเลยอ้างมาในฎีกานั้น ข้อเท็จจริงไม่ตรง

กับคดีนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่า การ

กระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวหรือต่างกรรมต่างวาระ ซึ่งจำเลย

ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวมิใช่หลายกรรม เห็นว่า แม้

จำเลยจะกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน

สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน และมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันก็ตาม แต่จำเลย

กระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน และหลัง

จากการกระทำแต่ละครั้งบรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนาแล้ว จำเลยก็เลิกกระทำโดย

ถอนเครื่องโทรศัพท์ออกจากสายสัญญาณโทรศัพท์ที่ต่อพ่วงเชื่อมติดกันไว้ออกอัน

เป็นการเลิกกระทำความผิดในครั้งนั้นๆ โดยเด็ดขาด การกระทำความผิดครั้งต่อไป

ต้องนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับสายสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายใหม่ทุกครั้ง การ

กระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกัน อันเป็นการกระทำ

ความผิดต่างกรรมต่างวาระ หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวดังที่จำเลยฎีกาไม่

ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษานั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

อนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทลงโทษจำเลย ความผิดตามพระราช

บัญญัติคนเข้าเมืองและความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา

335 (1) วรรคแรก, 336 ทวิ แล้ววินิจฉัยว่า เมื่อโทษจำคุกทุกกระทงที่รวมลงแก่

จำเลยนั้น กระทงที่หนักที่สุดคือฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ

มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี ดังนี้ โทษจำคุกทั้งสิ้นที่จะลง

จำเลยนั้นจะเกิน 20 ปี ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) นั้น

ไม่ถูกต้อง เนื่องจากความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและความผิดตาม

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) วรรคแรก, 336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน

ทั้งการที่จะบังคับใช้มาตรา 91 (2) จะต้องเป็นกรณีที่หลังจากลดโทษแต่ละกระทง

ความผิดแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นที่จะลงแก่จำเลยเกิน 20 ปี มิใช่วางโทษทุกกระทงก่อน

เมื่อเกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกได้เพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษภายหลัง คำพิพากษา

ส่วนนี้ของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบ แม้โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกา

ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่จะลงโทษจำเลยโดย

ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วจำคุกเกิน 10 ปี ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามิได้

มิฉะนั้นจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่อย่างไรก็ดีที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ

จำคุกนั้น แม้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องซึ่งห้ามมิให้ฎีกาและศาลชั้นต้นไม่รับ

ฎีกาข้อนี้ของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยในปัญหา

ข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุก

ให้แก่จำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้

ยานพาหนะนั้น โดยเหตุที่จำเลยลักทรัพย์รวม 16 ครั้ง คิดเป็นเงินเพียง 26,703.50

บาท ซึ่งนับว่าไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยมีสุขภาพร่างกายอ่อนแอเพราะมี

โรคเรื้อรังเบียดเบียน การคุมขังจำเลยไว้ต่อไปย่อมจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมไทย

ส่วนรวม ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน สมควรให้โอกาสจำเลย

กลับตัวเป็นคนดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้ แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงให้ลงโทษ

ปรับจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์อีกสถานหนึ่งด้วย สำหรับความผิดตามพระราช

บัญญัติคนเข้าเมืองนั้น พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยไม่ร้ายแรงเช่นกัน

จึงสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยด้วย"

พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่รวมโทษจำคุกทุกกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 91 (2) ความผิดฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานเป็น

คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกกระทงละ 14 วัน รวม

สองกระทงจำคุก 28 วัน ความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ

จำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน และปรับกระทงละ 8,000 บาท รวมทุกความผิด

และทุกกระทงจำคุก 20 ปี และปรับ 128,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ

เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเกตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวล

กฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56

จำเลยถูกคุมขังมาพอแก่โทษปรับแล้วจึงให้ปล่อยตัวไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8

(วิชัย ชื่นชมพูนุท - สุรศักดิ์ กาญจนวิทย์ - พีรพล จันทร์สว่าง)

จิตฤดี วีระเวสส์ - ย่อ

อรรถมิติ ดิษฐอำนาจ - ตรวจ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-18202236 วันที่ตอบ 2005-09-04 22:53:26 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (4065048)

 และถ้ามีคนโดนตัดไฟแต่เขาไม่ได้ไปจ่ายเงินกลับต่อไฟใช้เองโดยปีนขึ้นเสาไปต่อเองผิดยังไงคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กานต์ วันที่ตอบ 2016-08-25 22:54:18 IP : 49.237.203.42



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.