ReadyPlanet.com


ฝังท่อในที่ของเรา


หมู่บ้านจัดสรรติดกับที่ดินหลังบ้านสร้างมา10ปีได้ฝังท่อน้ำทิ้งเข้ามาในที่ดินของเราล้ำเข้ามาประมาณ50เซนติเมตร ยาว12เมตร ถ้าตัดท่อทิ้งหมู่บ้านนี้จะไม่มีที่ให้ทำท่อผ่าน ผมไม่อยากมีเรื่อง ถือเป็นบ้านใกล้กัน และสงสารคนทั้งหมู่บ้านที่มีเจ้าของโครงการมักง่าย รบกวนสอบถามว่า ถ้าผมยกที่ให้ในส่วนที่ฝังท่อไปโดยที่ไม่ต้องแบ่งโฉนดที่ของผมได้มั๊ยและต้องทำสัญญายังไงบ้างครับ ขอบคุณครับ.



ผู้ตั้งกระทู้ ชัยวัช :: วันที่ลงประกาศ 2005-06-16 10:49:20 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (131376)

โดยปกติแล้ว การ กฎหมายห้ามมิให้มีการทำท่อระบายน้ำ หรือวางท่อในระยะดังกล่าวที่คุณว่า มาครับ หากฝ่าฝืน ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของคุณๆ สามารถฟ้องเรียกร้องให้เค้ารื้อถอน และย้ายแนวท่อได้  ครับ หรือหากมีการวางไปแล้ว คุณอาจจะเรียกร้องค่าทดแทน จากหมู่บ้านได้ครับ

แต่ ถ้าหากคุณ ไม่อยากจะฟ้องร้องหรืออยากจะมีเรื่อง กับบ้านจัดสรรดังกล่าว การที่คุณ ยกที่ดินบริเวณที่มีการก่อสร้างรุกล้ำให้แก่หมู่บ้านจัดสรรนั้น น่าจะแบ่งแยก โฉนดเป็น***ส่วนไปเลยจะดีกว่าครับ เพราะจะได้ชัดเจน และไม่มีปัญหาในอนาคต ครับ

มาตรา 1340 เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากที่ดินสูงมาในที่ดิน

ของตน ถ้าก่อนที่ระบายนั้นน้ำได้ไหลเข้ามาในที่ดินของตนตามธรรมดาอยู่แล้ว

ถ้าได้รับความเสียหายเพราะการระบายน้ำ ท่านว่าเจ้าของที่ดินต่ำอาจเรียกร้องให้

เจ้าของที่ดินสูงทำทางระบายน้ำและออกค่าใช้จ่ายในการนั้นเพื่อระบายน้ำไปให้ตลอด

ที่ดินต่ำจนถึงทางน้ำ หรือท่อน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิแห่งเจ้าของที่ดินต่ำใน

อันจะเรียกเอาค่าทดแทน

มาตรา 1342 บ่อ สระ หลุมรับน้ำโสโครก หรือหลุมรับปุ๋ยหรือขยะมูลฝอยนั้น ท่านว่า

จะขุดในระยะสองเมตรจากแนวเขตที่ดินไม่ได้

คูหรือการขุดร่องเพื่อวางท่อน้ำใต้ดินหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันนั้น ท่านว่าจะทำใกล้แนว

เขตที่ดินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งส่วนลึกของคูหรือร่องนั้นไม่ได้แต่ถ้าทำห่างแนวเขตหนึ่งเมตร

หรือกว่านั้น ท่านว่าทำได้

ถ้ากระทำการดั่งกล่าวไว้ในสองวรรคก่อนใกล้แนวเขตไซร้ ท่านว่าต้องใช้ความระมัด

ระวังตามควร เพื่อป้องกันมิให้ดินหรือทรายพังลง หรือมิให้น้ำหรือสิ่งโสโครกซึมเข้าไป

544/16 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1642,1343 มี

เจตนารมณ์ที่จะป้องกันมิให้ที่ดิน ซึ่งอยู่ชิดแนวเขตที่ดินนั้นพังลงตามธรรมชาติ

เนื่องจากมีการขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินจนเกินไป จึงได้กำหนดว่าการขุดคูหรือ

ร่องน้ำจะทำใกล้แนวเขตที่ดิน กว่าครึ่งหนึ่งแห่งส่วนลึกของคูหรือร่องน้ำไม่ได้

โจทก์และมารดาจำเลยตกลงให้ถือเอาคันนาร่วมทั้งคันนา เป็นแนวเขต

ที่ดินร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิร่วมกันใช้คันนาในการทำนาฉะนั้นในการวัด

ระยะซึ่งกฎหมายกำหนดไว้เพื่อป้องกันดินพังทลาย ในกรณีที่จำเลยขุดลำราง

ในที่ดินของมารดานั้น จึงต้องวัดจากริมคันนาร่วมในที่นาด้านของมารดา

จำเลยไปยังลำราง จะวัดจากจุดกึ่งกลางของคันนาร่วมหาได้ไม่

การที่จำเลยขุดลำรางชิดกับคันนาร่วมโดยไม่เว้นที่ว่างไว้ แม้ คันนา

ร่วมจะไม่พังทลายลง ก็เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในคันนาร่วมใน

ฐานะที่เป็นเขตที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1342 แล้ว

1607/18 ถังส้วมจะแข็งแรงถูกสุขลักษณะอย่างไรก็สร้างในระยะ 2

เมตรจากแนวเขตที่ดินต่อไม่ได้ และไม่ต้องนำสืบว่าเป็นละเมิด ศาลพิพากษา

ให้กลบหลุมนั้นได้

1350/22 จำเลยขุดหลุมส้วม ห่างเขตที่ดินโจทก์ 15 เซ็นติเมตร ต้อง

ห้ามตาม ป.พ.พ.ม.1342 ไม่ว่าจะใช้ความระวังอย่างใดโจทก์ก็ขอให้กลบ

ได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-06-16 16:39:53 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (4164506)

 ที่ของเรา มีโฉนด แต่ทางหลวงวางท่อล้ำเข้ามาเราจะทำอะไรได้บ้าง

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ถนอม วันที่ตอบ 2017-03-26 19:42:34 IP : 124.248.184.202


ความคิดเห็นที่ 3 (4306485)

 มี ที่อยู่ หน้า ท่อ ทางหลวงเราอยากจะถมดิน เราต้องทำอย่างไรได้บ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น Winida3803@ Gmail. Com (Winida3803-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-05-01 09:53:53 IP : 182.232.180.23


ความคิดเห็นที่ 4 (4319388)

 ผมได้ขออนุญาตนาย ก.ฝังท่อน้ำทิ้งขนาด 4 นิ้ว ยาวประมาณ 30 เมตร ผ่านที่ดินของเขา มาประมาณ 5 ปี และนาย ก.ได้ขายที่ดินให้นาย ข.และทราบว่ามีท่อฝังผ่านแนวทีดินของตน จึงให้ผมรื้อ แต่ผมได้ทำแค่ตัดท่อในที่ดินของตนเองออกไม่ให้น้ำไหลผ่านไปเท่านั้น แต่มิได้ขุดท่อออกจากที่ดินของนาย ข. เพราะมีแรงกำลังทรัพย์น้อยไม่พอทำการขุดออกมา ถามว่าในกรณีนี้ผมจะมีความผิดหรือไม่อย่างไร และหริอสามารถฟ้องร้องได้หรือไม่อย่างไร 

ขอบคุณครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น พงศ์ศักดิ์ วันที่ตอบ 2019-07-20 18:02:57 IP : 61.91.152.2



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.