ReadyPlanet.com


ขอสอบถามเรื่องการทำพินัยกรรม


 เนื่องจากได้ค้นหาเจอกระทู้นี้ http://www.pamook.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1320448

 

ซึ่งก็ทำความเข้าใจด้วยดี จึงค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

จึงไปพบเจอ https://deka.in.th/view-52387.html

 

เลยสงสัยว่า ข้อเท็จจริงควรจะเป็นอย่างไรครับ

 

กราบขอบพระคุณ



ผู้ตั้งกระทู้ เจ๊กตื่นไฟ :: วันที่ลงประกาศ 2019-02-11 12:37:43 IP : 27.130.72.164


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4294553)

 คัดลอกมาตามที่ผุู้ถามอ้างถึง..

 

มีความจำเป็นต้องหย่ากับสามี และต้องการทำพินัยกรรมร่วมเพื่อป้องกันทรัพย์สิน ในพินัยกรรมร่วมจะต้องระบุรายละเอียดทรัพย์สินหมดทุกรายการหรือไม่ หรือแค่ระบุว่าจะยกทรัพย์สินทั้งหมดให้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินทั้งหมดและเพื่อป้องกันฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแก้ไขพินัยกรรม เราสามารถระบุไว้ว่าพินัยกรรมจะแก้ไขได้ต่อเมื่อคนสองคนรับรู้และยินยอมให้แก้ไขถูกต้องหรือไม่ ขอความกรุณาตอบด้วยนะคะ และขอคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อป้องกันพินัยกรรมเป็นโมฆะด้วยคะ ขอบคุณมากคะ

ฎีกา 814/2493


สามีภรรยาเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกันจึงร่วมกันทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์ให้หลานนั้น เป็นการขัดกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 มาตรา 23 ที่ว่า "บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นจะทำพินัยกรรมโดยเอกสารฉบับเดียวกันไม่ได้"
สามีภรรยาร่วมกันทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์หลายอย่างให้หลาน รวมทั้งโจทก์ด้วย สำหรับโจทก์ได้ที่ดินและตึกภายหลังสามีผู้เดียวทำพินัยกรรมฉบับหลัง เพิกถอนข้อความในพินัยกรรมเดิมบางข้อในข้อที่ยกทรัพย์ให้หลานอื่นบางคน แล้วมีข้อความว่า ส่วนข้อความอื่นๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิมดังนี้ เมื่อพินัยกรรมฉบับแรกไม่สมบูรณ์เพราะต้องห้ามตาม พระราชัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 แล้วก็ต้องถือว่าไม่มีการยกที่ดินและตึกให้โจทก์ด้วย ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังแม้จะสมบูรณ์ก็ไม่มีข้อความว่าได้ยกที่ดินและตึกให้โจทก์ เป็นแต่กล่าวว่าส่วนข้อความอื่นๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิม ซึ่งเมื่อพินัยกรรมเดิมใช้ไม่ได้แล้ว จะอ้างข้อความในเอกสารอื่นซึ่งมิใช่พินัยกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของพินัยกรรมจึงไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ที่ดินและตึก

 

ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 814/2493 ก็ชัดเจนแล้ว คงไม่ต้องไปอธิบายอะไรอีก ถ้าต้องการตอบในประเด็นใด   ก็ควรถามเป็นเรื่องๆไป  คงตอบได้ไม่ครบถ้วน ถ้าไม่ถาม ในที่สิ่งที่ยังสงสัย...

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2019-02-11 16:04:19 IP : 1.4.216.204


ความคิดเห็นที่ 2 (4294587)

 กราบสวัสดีท่านอาจารย์ครับ

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 มาตรา 23 ที่ว่า "บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นจะทำพินัยกรรมโดยเอกสารฉบับเดียวกันไม่ได้"

 

จึงสงสัยว่า พระราชบัญญัตินี้ยกเลิกไปแล้วหรือยัง

เพราะ ในกระทู้เก่าตามที่อ้างถึงนั้น มีผู้แนะนำว่า ทำพินัยกรรมร่วมกันได้ ใช้ข้าพเจ้าทั้งสองร่วมกันได้ หนะครับ

 

พินัยกรรม 1 แผ่น ใช้คำว่า ข้าพเจ้าทั้งสองตลอดเนื้อหา และเซ็นทั้งสามีและภรรยา ในฐานะผู้ทำพินัยกรรม เช่นนี้ครับ 

 

เพราะหากว่า "บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นจะทำพินัยกรรมโดยเอกสารฉบับเดียวกันไม่ได้" ในพ.ศ.ปัจจุบัน แล้วนั้น การทำพินัยกรรมก็จะเป็นโมฆะไป กลายเป็นไม่ได้ทำอะไรเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น เจ๊กตื่นไฟ วันที่ตอบ 2019-02-11 23:28:35 IP : 27.130.72.164


ความคิดเห็นที่ 3 (4294771)

พรบ.พินัยกรรมฎีกา  

  ตามฎีกา  814/2493  เป็นฎีกาเก่ามาก  นานกว่า 60 ปี ....  ส่วน พรบ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม พ.ศ.2475  จะถูกยกเลิกหรือไม่  ยังค้นข้อมูลไม่พบ  ว่ามีการยกเลิกแล้ว   ประกอบกับในห้องสมุดกฎหมาย ของ สำนักงานกฤษฎีกา  ก็ค้นหา พรบ.นี้ไม่พบ   อาจถูกยกเลิกไปแล้วก็ได้...ถ้าดูตามฎีกา 814/2493   ที่ห้ามบุคคลสองคนทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน...เราก็แก้ไขง่ายๆ  โดย ต่างคนต่างทำพินัยกรรมของตน เพื่อไม่ให้มีข้อโต้แย้งได้  ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2019-02-12 15:40:24 IP : 1.1.227.66


ความคิดเห็นที่ 4 (4294790)

 เห็นเป็นอย่างนั้น กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น เจ๊กตื่นไฟ วันที่ตอบ 2019-02-12 17:50:59 IP : 27.130.91.213



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.