ReadyPlanet.com


ปัญหาในกงสี เรื่องการแบ่งมรดก เกิดจากอะไร


1. ทำไม กงสี ถึงมีปัญหาเรื่องทรัพย์สิน หลังจากเตี่ยตายครับ

2. มันมีกฏหมายกงสีโดยเฉพาะไหม 

3.ถือแทนทายาทโดยธรรม หมายความว่าอย่างไร 

4.ทำอย่างไร ไม่ให้กงสีมีปัญหาหลังจากเตี่ยตายครับ 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ซุปตาร์กงสี :: วันที่ลงประกาศ 2019-02-09 10:11:04 IP : 27.130.246.27


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4294340)

กรรมสิทธิ์รวม

 

1. ทำไม กงสี ถึงมีปัญหาเรื่องทรัพย์สิน หลังจากเตี่ยตายครับ

ตอบ....เพราะกงสี  จะมีลักษณะเช่นเดียวกับ หุ้นส่วนบริษัท ทรัพย์สินที่มีอยู่ จึงมีทั้งของส่วนตัวของเจ้ามรดก(ผู้ตาย) และทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม  คือพี่น้องทุกคนหรือ หุ้นส่วนทุกคน  ต่างเป็นเจ้าของร่วมกัน วันเวลาผ่านไป เนิ่นนาน  บางที แยกไม่ออกว่า อะไร เป็นของส่วนตัว อะไร เป็นกรรมสิทธิ์รวม  ถ้าทายาท หรือหุ้นส่วน ไม่สามัคคีปรองดองกัน  การแบ่งปันมรดก ย่อมมีเกิดปัญหา...

2. มันมีกฏหมายกงสีโดยเฉพาะไหม 

ตอบ...ก็นำเรื่องหุ้นส่วนบริษัท มาใช้ในการแก้ปัญหาได้  แต่ปัญหาใหญ่คือ ไม่ยอมกัน  ตอนที่เจ้ามรดก (เตี่ย) ยังอยู่  ก็ย่อมไม่กล้าแสดงอาการอะไร  เมื่อขาดเสาหลัก  เสมือนเรือแตก  ก็คงเกิดการชุลมุน ในครอบครัว .....

3.ถือแทนทายาทโดยธรรม หมายความว่าอย่างไร 

ตอบ...การถือกรรทมสิทธิ์แทน  คือ ทายาทที่แท้จริงไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ด้วยตนเองได้  จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  ก็จะใช้วิธีให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์แทน  ซึ่งการให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์แทน   มักเกิดปัญหาเสมอ มีเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ไม่ขาด   เพราะผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน มักอ้างว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นของตน ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ แทนใคร  ดังนั้นถ้าจะมีการถือกรรมสิทธิ์แทน ต้องมีการทำบันทึก หรือมีสัญญาไว้อย่างชัดเจนว่า เขาถือกรรมสิทธิ์แทนใคร  และจะคืนให้เจ้าของที่แท้จริงเมื่อไร..ก็มักเข้าใจผิดกันอยู่เสมอว่า เด็ก ยังไม่บบรรลุนิติภาวะ รับโอนที่ดินไม่ได้ ต้องให้ญาติถือกรรมสิทธิืแทน   แท้จริงเด็ก 1-2 ขวบ ก็สามารถรับโอนที่ดินได้  กฎหมายไม่เคยห้ามไว้....

4.ทำอย่างไร ไม่ให้กงสีมีปัญหาหลังจากเตี่ยตายครับ 

ตอบ...ต้องทำบัญชีทรัพย์สินไว้ให้ชัดเจนว่า  อะไรเป็นของส่วนตัว  อะไร เป็นของส่วนรวม   และทำพินัยกรรมระบุไว้ ให้ชัดเจนว่า ทรัพย์สินส่วนของตนจะให้มอบให้ใคร  ควรทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง คือไปที่อำเภอ หรือเขต  แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ช่วยดำเนินการให้  และใครจะเป็นผู้เก็บรักษาพินัยกรรมไว้  ก็ต้องระบุไว้ให้ชัดเจน...

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2019-02-10 07:40:23 IP : 1.4.216.204



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.