ReadyPlanet.com


หนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้


ตาม ป.วิ แพ่ง ม.59 “การชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้” มีความหมายเดียวกับ ป.พ.พ. ม.301 ใช่หรือไม่ อยากให้ท่านทนายช่วยยกตัวอย่างให้ด้วย และลูกหนี้กับผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ถือว่าเข้าความหมายของม.นี้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ 1 :: วันที่ลงประกาศ 2006-05-05 09:39:08 IP : 124.121.109.242


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (463280)

คำว่า "การชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ " ที่คุณถาม หมายถึง การที่คนหลายคน ต้องเข้ามา เป็นคู่ความในคดีเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีหายกรณีที่ มากไปกว่า กรณี หนี้ร่วม ตาม มาตรา 301  เพราะ กรณี ตาม มาตรา 301 เป็นกรณี ที่เป็นลูกหนี้ร่วมกัน อย่างเดียว แต่การเป็นลูกหนี้ ร่วมกันนั้น ยังมีกรณีที่เป็นหนี้สามารถแบ่งแยกการ ชำระหนี้จากกันได้ครับ เช่น มีการแบ่งแยกสัญญา และความรับผิดไว้อย่างชัดเจน ดังเช่น สัญญา กิจการร่วมค้า หรือ กรณี เป็นหุ้นส่วน,กันครับ 

แต่กรณี การชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยก จากกันมิได้ ตาม มาตรา 59 นั้น มีกรณีอื่น อีกหลายกรณี ที่ กำหนดให้บุคคลหลายๆ คนต้องเข้ามาเป้นคู่ความร่วม กันในคดีครับ

มาตรา 301 ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดเช่นอย่างลูกหนี้ร่วมกัน

มาตรา 59 บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดั่งนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(1) บรรดากระบวนพิจารณา ซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสีย แก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ

(2) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดี ซึ่งเกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ใช้ถึงคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 02693-3331-2 วันที่ตอบ 2006-05-07 10:36:19 IP : 58.136.2.237



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.