ReadyPlanet.com


พยานในศาล


ต้องไปเป็นพยานในคดีอาญาค่ะ คือเราเป็นผู้เสียหายก็แจ้งความกับตำรวจให้ดำเนินคดี ในหมายเรียก มีพนักงานอัยการเป็นโจทย์แทนเรา มีจำเลย 1 คน และเราเป็นพยานหมาย 1 คน

คำถาม

1.เวลาขึ้นศาลพยานกับจำเลยต้องเผชิญหน้ากันหรือไม่ เราไม่อยากเจอเค้าอีกแล้วเพราะกลัว รบกวนอธิบายขั้นตอนด้วยค่ะ

2.เมื่อต้องเล่าเหตุการณ์วันเกิดเหตุต้องแทนตัวเราเองว่าอย่างไร เรียกคู่กรณีซึ่งเป็นจำเลย เรียกท่านผู้พิพากษา และเจ้าพนักงานอัยการว่าอย่างไรคะ

3.รบกวนช่วยบอกขั้นตอนการดำเนินการของศาล และขอคำแนะนำในการไปศาลให้ด้วยนะค่ะขอขอบพระคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ น้อย :: วันที่ลงประกาศ 2006-05-02 12:05:09 IP : 203.113.16.241


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (459738)

ในการได้รับหมายศาล ให้ไปเป็นพยาน ในฐานะที่เป็นผู้เสียหายด้วย นั้น เค้าจะให้พิจารณาคดีต่อหน้า จำเลย ซึ่งหมายความว่า พยานต้องไปเบิกความต่อหน้า จำเลย ด้วย หาก ไม่อยาก เจอ จำเลย ลองติดต่อ พนักงานอัยการดู ว่า พอจะมีทางให้ ใช้ห้องพิจารณาพิเศษ หรือไม่ (ซึ่งในคดีเด็กที่เป็นพยาน )เค้าจะใช้วิธรการถ่ายทอดผ่านระบบวีดีโอ คอมฟอร์เร้นท์ครับ 

ก่อน ที่จะถึงเวลา พิจารณา (หรืออาจจะก่อนวันนัด) ลองติดต่อพนักงานอัยการเจ้าของเรื่องดู ว่า จะต้องพบปะกับคุณก่อนหรือไม่ อย่างไร แต่ถ้าไม่ไปพบก่อนแล้ว ควรไปถึงห้องพิจารณาคดีเช้าๆ แล้ว แจ้งให้ เจ้าหน้าที่ศาล (เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังค์) ว่าพยานมาศาลแล้ว  เมื่อพนักงานอัยการมา เค้าจะได้แจ้งให้พนักงานอัยการ ฯ ทราบ เพื่อพนักงานอัยการจะได้นำเอาบันทึก ปากคำที่คุณเคยบันทึก ต่อพนักงานสอบสวน มาให้ คุณอ่าน และแนะนำ หรือซักซ้อม เบื่องต้น เพื่อทบทวนความจำ 

เมื่อถึง เวลาพิจารณาคดี ผู้พิพากษา ก็จะลงนั่งพิจารณาคดี เสร็จแล้ว พนักงานอัยการ ก็จะนำสาบานตน แล้วก็จะถามความโดยให้คุณเล่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีไป ตามลำดับๆ ซึ่งคุณอาจจะเรียกตัวเอง ว่า ดิฉัน , หรือข้าพเจ้า หรือ พยาน หรือหนู หรือฉัน อะไรก็ได้ ซึ่งหมายถึงตัวคุณ ครับ เรียกผู้พิพากษาว่า ท่าน หรือศาล หรืออัยการว่า ท่านอัยการ ,เรียกทนายจำเลย ว่า คุณ หรือคุณทนาย หรือท่านทนาย จำเลย ก๋ได้ครับ

พยานหมาย

       พยานประเภทนี้จะมีหมายเรียกศาลแจ้งไปถึงว่าไปเป็นพยานศาลในวันเวลาที่ระบุ
ในหมาย พยานหมายต้องเสียเวลาเสียค่าพาหนะหรืออาจต้องเสียค่าที่พักจึงมีสิทธ
ิได้รับค่าป่วยการหรือค่าพาหนะ ในคดีอาญาถ้าพนักงานอัยการเป็นโจทก์ พนักงาน
อัยการ  จะจ่ายค่าพาหนะให้แก่พยานส่วนกรณีราษฎรเป็นโจทก์ศาลจะสั่งให้โจทก์
์จ่ายค่าพาหนะให้แก่พยานโจทก์ แต่พยานฝ่ายจำเลยกฎหมายมิได้บังคับให้จำเลย
ต้องจ่ายค่าพาหนะให้แก่พยานจำเลย

การเตรียมตัวไปเป็นพยานของศาล

       พยานศาลไม่ว่าจะเป็นพยานนำหรือพยานหมายความจริงแล้วเป็นการไปให้ความจริง
ต่อศาลในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นตามที่โจทก์หรือจำเลยอ้างเท่านั้นดังนั้นการ
เตรียมตัวของพยานก็เพียงทบทวนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ตนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็น
เหตุการณ์นั้นเมื่อใดเห็นเหตุการณ์อย่างไรถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเอกสารก็ทบทวน
เรื่องราวนั้น  โดยสอบถามจากฝ่ายที่อ้างเป็นพยานเกี่ยวกับเอกสารนั้น ๆ หรือตรวจ
เอกสารก่อน

ข้อควรปฏิบัติของบุคคลที่จะไปเป็นพยาน

1. ตรวจหมายเสียก่อน
       เมื่อได้รับหมายเรียกให้เป็นพยานต้องตรวจดูในหมายเรียกว่าศาลที่ออกหมายเรียก
เป็นศาลอะไรอยู่ที่ไหน ต้องตรวจดูในหมายเรียกว่า ให้พยานไปเบิกความในวัน เดือน
ปีอะไร และนัดเวลาใด หากไม่แน่ใจก็ควรสอบถามไปที่ศาลซึ่งออกหมายเรียก
สำหรับหมายเรียกต้องเก็บไว้เพื่อนำไปศาลด้วย

2. ไปศาลตามเวลานัด
       พยานที่ได้รับหมายแล้วมีความจำเป็นไม่อาจไปศาลได้ต้องรีบแจ้งให้ศาลทราบเสีย
ก่อนวันนัด เพราะการขัดขืนไม่ไปศาลอาจถูกศาลออกหมายจับพยานควรไปถึงศาล
ให้ตรงตามเวลานัด เพราะถ้าถึงเวลานัดแล้วพยานไม่พร้อม ศาลอาจเลื่อนการสืบ
พยานไป และต้องไปศาลใหม่อีก ทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้น

3. หาห้องพิจารณาและรอการเบิกความ
     เมื่อไปถึงศาลแล้วควรนำหมายเรียกไปสอบถามเจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์หรือตรวจ
ดูการประกาศของศาลว่าคดีที่จะต้องเบิกความเป็นพยานนั้นศาลจะออกพิจารณาที่
ห้องพิจารณาเลขที่เท่าไรแล้วควรไปรอที่ห้องพิจารณานั้นเพื่อคู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน
หรือเจ้าหน้าที่ศาลจะได้ทราบว่าพยานมาแล้วพยานคนใดจะเบิกความก่อนหลังสุดแล้ว
แต่ศาลหรือคู่ความฝ่ายที่อ้างผู้ที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะเบิกความต้องรอนอกห้องพิจารณา
หรือที่ห้องพักพยาน

4. การปฏิญาณหรือสาบานตน
      เมื่อถึงเวลาที่พยานเบิกความเจ้าหน้าที่ศาลจะเป็นผู้เรียกก่อนเบิกความพยานจะต้อง
ปฏิญาณหรือสาบานตนตามลัทธิศาสนาของตน เว้นแต่
•  บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี หรือหย่อนความรู้สึกผิดชอบ
•  ภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา
•  บุคคลที่คู่ความตกลงกันว่าไม่ต้องปฏิญาณหรือสาบานตน

       สำหรับพระภิกษุสามเณรนั้นจะไม่ไปศาลและไม่เบิกความเลยก็ได้ พยานที่ขัดขืน
คำสั่งศาลที่ให้ปฏิญาณหรือสาบานให้เบิกความ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

5. การถามพยาน
      การเบิกความศาลอาจจะให้พยานเบิกความโดยวิธีเล่าเรื่องตามที่ตนได้รู้ได้เห็นหรือ
ได้ยินมาหรืออาจจะให้เบิกความโดยวิธีตอบคำถามของศาลหรือคู่ความพยานจะ
ต้องเบิกความเฉพาะที่ตนได้รู้ ได้เห็น หรือได้ยินมาโดยตรงเท่านั้นพยานจะเบิกความ
ด้วยวาจาห้ามไม่ให้อ่านข้อความที่จดหรือเขียนมาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือ
เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ

6. พยานเบิกความเสร็จ
     เมื่อเบิกความเสร็จแล้วพยานย่อมหมดหน้าที่ที่จะอยู่ในศาลเว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็น
อย่างอื่น

7. เลื่อนการสืบพยาน
     ในกรณีที่มีการเลื่อนการสืบพยานเจ้าหน้าที่ศาลอาจจะให้พยานลงชื่อรับทราบวันเวลา
นัดในครั้งต่อไปและศาลจะมาออกหมายเรียกไปอีกโดยถือว่าพยานได้รับทราบวันเวลา
นัดของศาลแล้ว

8. การเบิกความเท็จ
      พยานเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญใน
คดีมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเป็นการเบิกความเท็จในการ
พิจารณาคดีอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 02693-3331-2 วันที่ตอบ 2006-05-02 18:54:05 IP : 58.8.104.118



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.