ReadyPlanet.com


ชนะคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ขอปรึกษาฟ้องแพ่งค่ะ


ชนะคดีหมิ่นด้วยการโฆษณาขอปรึกษาฟ้องแพ่งดังนี้ค่ะ

-หลักการคร่าวๆในการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหารวิธีการคิดค่าเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้เช่นเสียชื่อเสียงสอบถามระยะเวลาด้วยค่ะ

-อยากจะร้องเรียนเรื่องพรบ.การพิมพ์ทำได้อย่างไร

-จะฟ้องพรบ.การพิม์ทำได้มั๊ย ทำอย่างไร ส่งคำพิพากษาไปที่ไหน แล้วจะเอาคำพิพากษานี้ไปร้องเรียนอะไรได้อีกรึป่าวเจ้าของโรงพิมพ์ และหนังสือ แล้วก็ บก เป็นชาวต่างชาติ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ พัทยา :: วันที่ลงประกาศ 2006-04-29 22:15:42 IP : 203.114.101.101


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (457782)

การตอบ ปัญหา ในเรื่องนี้ ควรต้องมีรายละเอียด เกี่ยวกับคำพิพากษา ในคดีอาญาด้วยครับ ว่า ศาลในคดีอาญาพิพากษา ว่าอย่างไร แล้วใครเป็น จำเลยบ้าง , มีการฟ้องร้อง ผู้พิพิมพ์ และผู้โฆษณา เป็น จำเลยด้วยหรือไม่ และศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับ จำเลยดังกล่าวว่าอย่างไร

๒.การฟ้องคดีแพ่ง การเรียกค่าเสียหายก็ไม่มีหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาตายตัว ส่วนใหญ่ศาลก็จะพิจารณาว่า กรณีเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 หรือไม่ และการพิจารณาค่าเสียหาย นั้นก็เป้นไปตาม 447 ส่วนค่าเสียหาย จะได้เท่าใด นั้น ต้องดู ชื่อเสียงของโจทก์ ฐานะของโจทก์ด้วย ครับ ว่า เป็นอย่างไร และเสียหายมากน้อยขนาดไหน หากโจทก์สามารถพิสูจน์ ค่าความเสียหายได้ ดังที่เรียกร้อง โอกาส ก็จะได้รับเท่าที่เสียหายก็มี ครับ เช่น กรณีที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ชนิดหนึ่ง เมื่อมีการโฆษณา แล้ว ทำให้ยอดขาย ของผลิตภัณฑ์ลดลงไป จากปี ก่อนๆ แบบนี้  ก็ จะได้รับค่าเสียหาย เท่าที่พิสูจน์ได้ ซึ่ง ผม ได้คัดลอก กฎหมาย และตัวอย่างคดี ไว้ด้านล่างแล้วครับ

๓ .กรณี พรบ.การพิมพ์ สามารถดำเนินการได้หลายกรณีครับ ต้องขอทราบรายละเอียดว่า ต้องการดำเนินการในกรณีใด จึงจะตอบได้ครับ

 

 

มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรจะรู้ได้

ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเอง หรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

มาตรา 447 บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อทำให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหายหรือทั้งให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้

4595/2543

โจทก์ นายณรงค์ วงศ์วรรณ

จำเลย บริษัทผู้จัดการ จำกัด กับพวก

แพ่ง ละเมิดโดยการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ค่าสินไหม

ทดแทน จัดการเพื่อทำให้ชื่อเสียงกลับคืนมา

(มาตรา 423, 438, 447)

วิธีพิจารณาความอาญา คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

(มาตรา 46)

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนักการเมืองเคยได้รับเลือกตั้งจาก

ประชาชนจังหวัดแพร่ให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกันมา6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาแล้วหลายตำแหน่ง เคยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงหรือมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการออกและจำหน่ายหนังสือพิมพ์ และเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน อันเป็นหนังสือพิมพ์รายวันพิมพ์จำหน่ายจ่ายแจกให้ประชาชนได้อ่านทั่วราชอาณาจักร มีจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535จำเลยทั้งสองได้ตีพิมพ์ข้อความเป็นหัวข้อข่าวในหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันว่า เหตุเกิดเพราะโกใหญ่... มีรายละเอียดต่อหน้า 15 ตอนหนึ่งว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ มีชื่ออยู่ในแบล็กลิสต์ของ ดีอีเอ ฉบับประจำวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2535พิมพ์ข้อความเป็นหัวข้อข่าวในหน้า 1 ว่า นสพ. ต่างชาติตีแผ่ทั่วณรงค์-ผง-ทหาร... มีรายละเอียดต่อหน้า 15 ตอนหนึ่งว่า นายณรงค์วงศ์วรรณ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย โดยพาดหัวข่าวนักค้ายาเสพติดผู้โด่งดังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย ฉบับประจำวันที่ 30 มีนาคม 2535 พิมพ์ข้อความเป็นหัวข้อข่าวในหน้า 1ว่า เชื่อไร้คำตอบจากสหรัฐ อานันท์ยังไม่ก้าวก่าย...มีรายละเดียดต่อหน้า 15 ตอนหนึ่งว่า เผยอเมริกันแคลงใจหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมนานแล้วเคยส่งทูตเจรจาลับรัฐบาลชาติชาย ยับยั้งนำเข้าร่วมรัฐบาล...ฉบับประจำวันที่ 1 เมษายน 2535 พิมพ์ข้อความเป็นหัวข้อความเป็นหัวข้อข่าวในหน้า 1 ว่า บุญชนะติงนายกฯ ใหม่อย่าทำการค้าตปท. พัง... มีรายละเอียดต่อหน้า 15 และหน้า 16 บทความชื่อโกใหญ่หนึ่งในเส้นเชือกมัดคอฆ่าณรงค์ วงศ์วรรณ มีข้อความตอนหนึ่งว่าในหมู่มือปราบยาเสพติดล้วนให้ข้อมูลตรงกันประการหนึ่งว่า เหตุที่หน่วยปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกาขึ้นชื่อนายณรงค์ไว้ในบัญชีดำนั้น เนื่องเพราะบรรดาผู้ค้ายาเสพติดข้ามชาติในย่านภาคเหนือล้วนมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับณรงค์ วงศ์วรรณฉบับประจำวันที่ 4 และ 5 เมษายน 2535 พิมพ์ข้อความเป็นหัวข้อข่าวในหน้า 1ว่า ออสซี่งดวีซ่าณรงค์เฉยจะเป็นนายก เส้นทางสวรรค์สู่เก้าอี้ผู้นำตึกไทยคู่ฟ้าของณรงค์ วงศ์วรรณ มีอุปสรรคอีกแล้ว รอยเตอร์ตีพิมพ์ใหม่ออสเตรเลียไม่ให้วีซ่าเข้าประเทศอีกแล้ว ข้อหาเดิมยาเสพติด...รายละเอียดต่อหน้า 11 ตอนที่หนึ่งว่า ถ้าเขามาทำเรื่องขอวีซ่าเขาจะได้รับการปฏิเสธ... ซึ่งข้อความที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันลงพิมพ์ดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาด้วยเอกสารหนังสือพิมพ์ทำให้ประชาชนผู้อ่านเข้าใจความหมายไปในทางที่ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี ค้ายาเสพติด เฮโรอีน ซึ่งล้วนเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงโจทก์มิได้ค้ายาเสพติด ไม่เคยค้าเฮโรอีน ไม่เคยมีชื่ออยู่ในบัญชีดำของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทและผิดพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ต่อศาลจังหวัดแพร่ คดีหมายเลขดำที่767/2535 คดีมีมูล ศาลสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณา จำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติคุณถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังจากประชาชนทั่วไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์เป็นที่รักเกียจของสังคม ทำให้ประชาชนเสื่อมความศรัทธาในตัวโจทก์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตหมดความนิยมเชื่อถือของผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนทั่วไปเป็นการขัดขวางและทำลายอนาคตของโจทก์ ไม่ให้โจทก์ได้รับใช้ประชาชนไม่ว่าระดับใดอีกต่อไป นอกจากจะได้รับความเสียหายในด้านจิตใจในทางอนามัยแล้วยังเป็นผลเสียหายต่อคะแนนนิยมของประชาชนที่มีต่อโจทก์ในการที่จะทำงานในหน้าที่สมาชิกผู้แทนราษฎรต่อไป เป็นการตัดหนทางเจริญของโจทก์ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือได้รับเลือกตั้งอื่นใดในการบริหารระดับประเทศอีกต่อไปเมื่อได้พิจารณาถึงความเป็นอยู่ ชื่อเสียง เกียรติคุณของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว โจทก์จึงขอเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน100,000,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน100,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันประกาศคำพิพากษาและคำขออภัยในหนังสือพิมพ์รายวันที่ออกจำหน่ายในกรุงเทพมหานครทุกฉบับด้วยเนื้อที่ 1 ใน 2 ของหน้า1 ของแต่ละฉบับเป็นเวลา 15 วันติดต่อกัน โดยจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นจำเลยทั้งสองให้การว่า ข้อความที่ลงพิมพ์ตามที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องและที่โจทก์อ้างว่าทำให้ประชาชนผู้อ่านเข้าใจความหมายไปในทางที่ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดีค้ายาเสพติดเฮโรอีน จนมีชื่ออยู่ในบัญชีอำของสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของประเทศสหรัฐอเมริกาว่าพัวพันยาเสพติด จำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าข้อความที่ตีพิมพ์และไขข่าวออกไปมิได้มีความหมายถึงขนาดดังที่โจทก์อ้าง ทั้งประชาชนโดยทั่วไปก็มิได้เข้าใจเช่นนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์คิดมากไปเองเพราะข้อความดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองตีพิมพ์และไขข่าว ล้วนแต่ได้มาจากแหล่งข่าวและข้อมูลที่เป็นความจริงทั้งสิ้น โจทก์ก็รับทราบข่าวดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นข่าวจาก "ทัตไวเลอร์" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ข่าวจากหนังสือพิมพ์ "วอลสตรีท เจอร์นับ""วอชิงตันโพสต์" หรือจากการแถลงข่ายของสหพันธ์นักศึกษาไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาเช่นกันจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาไขข่าวหรือตีพิมพ์ข้อความใดอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณ หรือทางทำมาหาได้หรือทางเจริญอื่นของโจทก์แต่อย่างใดเพราะข้อความดังกล่าวทั้งหมดล้วนแต่เป็นความจริงและเป็นการกล่าวหรือไขข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไป ไม่มีข้อความใดเป็นหมิ่นประมาท โจทก์มิได้กล่าวยืนยันให้ชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำเช่นนั้น แต่กลับกันเป็นเรื่องที่สำคัญและเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ส่วนที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหาย100,000,000 บาท โจทก์เพียงแต่กล่าวอ้างมาคลุม ๆ ไม่ได้แยกให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดเป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะมิได้บรรยายให้ชัดแจ้ง ทั้งเป็นการประเมินค่าเสียหายเกิดความจริง ขอให้ยกฟ้องศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงิน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกโจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์และจำเลยทั้งสองฎีกา

ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลฎีกาจึงให้งดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราว ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่1 จากสารบบความศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า โจทก์เป็นนักการเมืองเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันหลายสมัยเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี เมื่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรทั่วไปปี 2535 โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และสมาชิกพรรคสามัคคีธรรมได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นจำนวนสูงสุด โจทก์ได้รวบรวมสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองอื่นที่จะสนับสนุนให้โจทก์จัดตั้งรัฐบาล โดยโจทก์จะได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา เสนอข่าวในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันของจำเลยที่ 1 ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2535 ด้วยการพาดหัวว่าในหน้า 1 ว่า เหตุเกิดเพราะโกใหญ่ มีรายละเอียดต่อหน้า 15ตอนหนึ่งว่า โจทก์มีชื่ออยู่ในแบล็กสิสต์ของ ดีอีเอ ฉบับประจำวันที่28 และ 29 มีนาคม 2535 พิมพ์หัวข่าวในหน้า 1 ของ นสพ. ต่างชาติตีแผ่ทั่วณรงค์-ผง-ทหาร มีรายละเอียดต่อหน้า 15 ตอนหนึ่งว่าโจทก์ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย โดยพาดหัวข่าวว่านักค้ายาเสพติดผู้โด่งดังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยฉบับประจำวันที่ 30 มีนาคม 2535 พิมพ์หัวข้อข่าวในหน้า 1 ว่าเชื่อไร้คำตอบจากสหรัฐอานันท์ยังไม่ก้าวก่าย มีรายละเดียดต่อหน้า 15 ตอนหนึ่งว่าเผยอเมริกันแคลงใจหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมนานแล้ว เคยส่งทูตเจรจาลับรัฐบาลชาติตาย ยับยั้งนำเข้าร่วมรัฐบาลฉบับประจำวันที่ 1 เมษายน 2535 พิมพ์หัวข้อข่าวในหน้า 1 ว่าบุญชนะติงนายกฯ ใหม่ อย่าทำการค้า ตปท.พัง มีลายละเอียดต่อหน้า 15 และหน้า 16 บทความชื่อ โกใหญ่หนึ่งในเส้นเชือกมัดคอฆ่าโจทก์ มีข้อความตอนหนึ่งว่า ในหมู่มือปราบยาเสพติดล้วนให้ข้อมูลตรงกันประการหนึ่งว่า เหตุที่หน่วยปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกาขึ้นชื่อโจทก์ไว้ในบัญชีดำนั้น เนื่องเพราะบรรดาผู้ค้ายาเสพติดข้ามชาติในย่านภาพเหนือบ้วนมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับโจทก์ ฉบับประจำวันที่ 4 และ 5 เมษายน 2535 พิมพ์หัวข้อข่าวหน้า 1 ว่าออสซี่งดวีซ่า โจทก์เฉยจะเป็นนายก เส้นทางสวรรค์สู่เก้าอี้ผู้นำตึกไทยคู่ฟ้าของโจทก์มีอุปสรรคอีกแล้ว รอยเตอร์ตีพิมพ์ใหม่ ออสเตรเลียไม่ให้วีซ่าเข้าประเทศอีกแล้วข้อหาเดิมยาเสพติดมีรายละเอียดต่อหน้า 11 ตอนหนึ่งว่า ถ้าเขามาทำเรื่องขอวีซ่าเขาจะได้รับการปฏิเสธตามเอกสารหมาย จ.2 ถึง จ.6 ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 และความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 คดีดังกล่าว(จำเลยที่ 2 คดีนี้) ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 คดีดังกล่าว (จำเลยที่ 1 คดีนี้)คดีถึงที่สุดแล้ว ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1691/2537 ของศาลจังหวัดแพร่มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาสรุปได้ว่า ข่าวเกี่ยวกับโจทก์นั้นได้มีสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ต่างประเทศต่างกระจายข่าวและตีพิมพ์ลงข่าววิจารณ์กันเกรียวกราวทั่วโลกจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์สื่อมวลชนโดยหน้าที่และจรรยาบรรณแล้ว ต้องนำจ่ายดังกล่าวเสนอต่อประชาชนให้ทราบอันเป็นประโยชน์สาธารณตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสมควรในวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย และขณะนั้นเป็นช่วงระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งมีรายงานว่าโจทก์จะได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอันเป็นตำแหน่งสำคัญยิ่งของประเทศ ดังนั้น บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนี้ต้องเป็นที่ยอมรับนับถือและศรัทธาของประชาชนมีความซื่อสัตย์สุจริตไม่มัวหมองการที่บุคคลใดจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นย่อมถือว่าเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง หากจำเลยที่ 2 ไม่ลงข่าวสารข้อมูลดังกล่าวเท่ากับเป็นการปิดหูปิดตามประชาชนทั่วประเทศ ผิดจรรยาบรรณของสื่อมวลชนนักหนังสือพิมพ์จึงจำต้องเสนอข่าวให้ประชาชนทราบ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสื่อมวลชนนักหนังสือพิมพ์และประชาชนผู้รับข่าวสารมีทางได้เสียโดยชอบและจำเลยที่ 2 ผู้ไขข่าวก็มิได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นความไม่จริง จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 นั้น เห็นว่า แม้โจทก์เป็นนักการเมืองที่ถือว่าเป็นบุคคลสาธารณะที่สมควรต้องถูกตรวจสอบได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความประพฤติ การประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ตามสมควรก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะสื่อมวลชนนักsนังสือพิมพ์ก็ต้องมีวิจารณญาณตามสมควรที่จะไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการล่วงสิทธิขั้นพื้นฐานของโจทก์ ด้วยการเสนอข้อความอันฝ่าฝืนความจริงต่อประชาชนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ทำให้ประชาชนดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 423 วรรคแรกที่บัญญัติว่า "ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้" จำเลยที่ 2 ในฐานะสื่อมวลชนนักหนังสือพิมพ์ที่จะนำข่าวต่าง ๆ ที่ได้รับไม่ว่าทางใดมาไขข่าวให้แพร่หลายต่อไป ย่อมมีหน้าที่ตรวจสอบก่อนว่าข่าวที่ได้รับนั้นเป็นความจริงหรือไม่เพียงใดเพราะการเสนอแต่ข่าวที่เป็นความจริงน่าจะเป็นการกระทำโดยชอบด้วยจรรยาบรรณของสื่อมวลชนนักหนังสือพิมพ์ มิใช่เรื่องที่จะเป็นการปิดหูปิดตาประชาชนแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 2 เสนอข่าวเกี่ยวกับโจทก์ให้ประชาชนทราบโดยอ้างแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2ผู้ไขข่าวมิได้รู้ว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงเท่านั้น ย่อมไม่อาจทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด เมื่อข่าวที่จำเลยที่ 2 ไขข่าวต่อนั้นเป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ประชาชนผู้ไม่รู้ความจริงที่ได้รับข่าวที่จำเลยที่ 2 ไขข่าวเกี่ยวกับโจทก์ให้แพร่หลายย่อมจะดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์ได้ อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณทางทำมาหาได้และทางเจริญของโจทก์ ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 คดีดังกล่าว (จำเลยที่ 2 คดีนี้) ให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 คดีดังกล่าว (จำเลยที่ 1 คดีนี้) คดีถึงที่สุดแล้ว ตามคดี

อาญาหมายเลขแดงที่ 1691/2537 ของศาลจังหวัดแพร่ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวที่รับฟังว่าจำเลยที่ 1 คดีดังกล่าว (จำเลยที่ 2คดีนี้) ใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาด้วยเอกสารซึ่งทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังนั้นโดยคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว คำพิพากษาส่วนอาญาย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยที่ 2 ไม่อาจโต้เถียงข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นอย่างอื่นได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคแรก ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์นั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้นมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหายที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้รับเพียง 5,000,000 บาท นั้น ยังเป็นจำนวนที่ไม่เหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์เป็นบุคคลมีชื่อเสียง มีเกียรติคุณ เป็นนักการเมืองอาวุโส หลังจากจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สูญสิ้นอนาคตทางการเมือง ยิ่งการใส่ร้ายว่าโจทก์พัวพันการค้าเฮโรอีนกระทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียขึ้นบัญชีดำบุคคลผู้ค้ายาเสพติดของหน่ายปราบปรามยาเสพติดของทั้งสองประเทศไม่ให้วีซ่าเข้าประเทศ ฐานเป็นนักค้าเฮโรอีนระดับโลก ซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจและร้ายแรง อันเป็นการเสนอข่าวมุ่งหวังเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ จึงเป็นเรื่องยากจะเยียวยาความเสียหาย จำเลยที่ 2 ได้ทำลายชื่อเสียงของโจทก์และวงศ์ตระ***ลจนยับเยิน ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมากมายมหาศาลขอให้กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 10,000,000 บาท และที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า การที่จำเลยที่ 2 ลงข่าวสารเกี่ยวกับโจทก์ดังกล่าวนั้น ไม่ได้ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง เกียรติคุณ และอาจสูญเสียโอกาสทางการเมืองในภายภาคหน้าแต่อย่างใด เพราะหลังจากจำเลยที่ 2 ลงข่าวแล้ว โจทก์ยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่อีก ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่เกี่ยวกับการลงข่าวของจำเลยที่ 2 แต่ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งกระแสทางการเมือง ความศรัทธาของประชาชนและบารมีที่โดดเด่นของบุคคลด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 5,000,000 บาทจึงเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ได้ไขข่าวกล่าวว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับการค้าขายเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ซึ่งผู้ใดกระทำการดังกล่าวนี้นอกจากจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ยังถือได้ว่าประพฤติตนเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและต่อความมั่นคงของประเทศชาติ ตลอดถึงเป็นภัยต่อเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติเป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป ยิ่งโจทก์เป็นบุคคลที่รู้จักในหมู่ประชาชนคนไทยว่าเป็นนักการเมืองอาวุโส เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันหมายสมัย เป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ตลอดจนมีโอกาสที่จะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย อันถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีชื่อเสียงและเกียรติคุณอย่างมากผู้หนึ่งในประเทศ เมื่อวิญญูชนได้รับข่าวสารที่จำเลยที่ 2 ได้ไขข่าวเกี่ยวกับโจทก์ดังกล่าวให้แพร่หลายเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงเช่นนั้น ย่อมเป็นที่คลายแคลงในตัวโจทก์ทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณของโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งรูปคดีและความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อโจทก์ดังกล่าวนั้น เห็นว่า ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์เหมาะสมชอบแล้วไม่มีเหตุใด ๆ ที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของโจทก์และ

จำเลยที่ 2 ต่างฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์อีกว่า การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 2 โฆษณาคำพิพากษาและคำขออภัยในหนังสือพิมพ์อันเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ได้กลับคืนดีเป็นการไม่ชอบหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อได้มีคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาให้จำเลยที่ 1 คดีดังกล่าว (จำเลยที่ 2 คดีนี้) ที่ถูกลงโทษต้องโฆษณาคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาทั้งหมดในหนังสือพิมพ์รายวัน 4 ฉบับคือ ผู้จัดการรายวัน ไทยรัฐ เดลินิวส์ และมติชน ด้วยเนื่องที่ 1 ใน2 ของหน้าหนังสือพิมพ์และละฉบับติดต่อกัน 5 วัน โดยจำเลยที่ 1คดีดังกล่าว (จำเลยที่ 2 คดีนี้) เป็นผู้ชำระค่าโฆษณาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1691/2537 ของศาลจังหวัดแพร่แล้วนั้น แม้ในคดีส่วนแพ่งนี้ศาลชอบจะมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 รับผิดชอบจัดการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ได้อีก อันเป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณได้กลับคืนดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 447 ก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 447 นั้น เป็นบทบัญญัติให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 จัดการตามที่โจทก์ขอดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ตามสมควรเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า กรณีเรื่องเดียวกันนี้ในคดีส่วนอาญาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1691/2534 ของศาลจังหวัดแพร่ได้พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ต้องโฆษณาคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาทั้งหมดในหนังสือพิมพ์แล้ว แม้จะเป็นกรณีที่ศาลในคดีอาญาได้สั่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332(2) ก็ตาม แต่ก็เป็นการให้จำเลยที่ 2จัดการตามสมควรซึ่งเป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์กลับคืนดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447 นั่นเองซึ่งเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีแล้วจึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาในคดีต่อไปอีก ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

(พินิจ เพชรรุ่ง - โนรี จันทร์ทร - ทวีวัฒน์ แดงทองดี)

 

4008/26 หนังสือพิมพ์เสนอข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ว่า โจทก์ประพฤติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ มีนิสัยชอบใช้อำนาจบาตรใหญ่ หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือขัดความโดยสุจริตชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ เมื่อข้อความนั้นไม่เป็นความจริง ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. ม.423 และการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แม้ผู้กล่าวหรือไขข่าวมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรรู้ได้ก็ต้องรับผิดแม้มูลกรณีเดียวกันนี้ศาลในคดีส่วนอาญา จะได้พิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้วก็ตาม การที่ศาลในคดีส่วนแพ่งยังพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อีกด้วย ก็เป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีตาม ม.447 หาใช่เป็นการลงโทษจำเลยสองครั้งในความผิดเดียวกันไม่ แต่เมื่อจำเลยได้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดี จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาต่อไปอีก จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา แม้จะมิใช่เจ้าของหนังสือพิมพ์ และมิได้เป็นผู้เขียน หรือมีส่วนรู้เห็นในการเขียนข้อความอันเป็นละเมิดก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดชอบในข้อความ หรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด เพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 02693-3331-2 วันที่ตอบ 2006-04-30 03:08:40 IP : 58.136.9.158



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.