ReadyPlanet.com


ลักทรัพย์


น้องถูก รปภ.ของห้างสรรพสินค้าจับข้อหาลักทรัพย์  ถูกนำตัวไปทำประวัติ เซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้องบัตรประชาชนและถ่ายรูปกับสินค้าที่ขโมยไว้เป็นหลักฐาน  น้องบรรลุนิติภาวะแล้วจึงไม่ต้องเรียกผู้ปกครองไปรับทราบ  รปภ.ให้จ่ายเงินค่าสินค้าราคา 999 บาท และว่ากล่าวตักเตือน  หลังจากนั้นจึงปล่อยตัวกลับ

ดิฉันอยากทราบว่า

1.หากห้างสรรพสินค้าจะยื่นฟ้องน้องในข้อหาลักทรัพย์อีกหรือไม่  ในเมื่อน้องได้จ่ายเงินค่าสินค้าไปแล้ว

2.หากทางห้างสรรพสินค้ายื่นฟ้องได้ น้องชายควรจะทำอย่างไรต่อไป

3.ความผิดฐานลักทรัพย์ในกรณีนี้มีบทลงโทษอย่างไร

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ  สำหรับคำตอบและคำแนะนำดีดี

 



ผู้ตั้งกระทู้ รสา :: วันที่ลงประกาศ 2006-01-07 14:09:47 IP : 202.69.136.80


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (350337)

1.หากห้างสรรพสินค้าจะยื่นฟ้องน้องในข้อหาลักทรัพย์อีกหรือไม่  ในเมื่อน้องได้จ่ายเงินค่าสินค้าไปแล้ว

ตอบ  สามารถดำเนินคดีได้ครับ , เพราะความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นความผิดต่อแผ่นดิน ไม่สามารถยอมความกันได้ครับ ,การที่ เค้าปล่อยกลับบ้าน โดยไม่ส่ง ตำรวจนั้น ถือว่า เค้าไม่ติดใจดำเนินคดีแล้วล่ะครับ

2.หากทางห้างสินค้ายื่นฟ้องได้ น้องชายควรจะทำอย่างไรต่อไป

ตอบ ห้างคงไม่ทำอะไรแล้วล่ะครับ เพราะหากทำก็คงไม่ปล่อยกลับมา

3.ความผิดฐานลักทรัพย์ในกรณีนี้มีบทลงโทษอย่างไร

ตอบ  มีทั้งจำ และปรับครับ

มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกิน

หกพันบาท

มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์

(1) ในเวลากลางคืน

(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มี

อุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่น

ทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลัง

ตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ

(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่า

นั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ

(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทาง

ช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้

(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้

เห็นหรือจำหน้าได้

(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน

(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป

(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณที่ตนได้

เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ

(9) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานที่จอดรถหรือเรือสาธารณ

สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณ

(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์

(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง

(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือ

เครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ใน

อนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่

หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือ

เครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความ

ยากจนเหลือทนทานและทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อยศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่

บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2006-01-08 01:27:53 IP : 58.136.2.220


ความคิดเห็นที่ 2 (351045)

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำตอบ

ผู้แสดงความคิดเห็น รสา วันที่ตอบ 2006-01-09 02:06:49 IP : 202.69.136.80



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.