ReadyPlanet.com


สิทธิ ในการรับมรดก


 ป้าเป็นลูกคนโตของยาย   ป้าอายุ 89 ปี   เสียชีวิต 1 ก.พ. 60    โสด ไม่มีบุตร  มีพี่น้องที่มีชีวิตอยู่อีก 5 คน   

มีที่ดิน 2 ไร่  ที่ดิน 2 ไร่นี้  และเงินในธนาคาร  ต้องแบ่งให้พี่น้องของป้า 5 คน  แล้ว   ส่วนหลานลูกลุงที่เสียชีวิต ก่อนป้าเสียชีวิต  จะมีสิทธิ รับมรดก ร่วมกันกับ พี่น้องของป้า  ได้ด้วยหรือไม่ค่ะ

หากได้รับ จะได้ในอัตราส่วน เท่าไหร่?  น่ะค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ black :: วันที่ลงประกาศ 2017-03-01 10:02:59 IP : 58.137.23.210


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4145710)

 สิทธิในการรับมรดก

  ในเมื่อป้า เป็นโสด  เมื่อตายลง  ทรัพย์มรดกของป้า จะตกทอดแก่   พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทุกคน  คนที่ตายก่อนก็ต้องให้บุตรของคนตายรับมรดกแทนที่  ไม่ใช่แบ่งเพียง 5 ส่วน เฉพาะผู้มีชีวิตอยู่  ถ้าลุงเป็นพี่น้องกับป้า  เมื่อลุงตายไปก่อน  ส่วนของลุง ก็ตกแก่ลูกของลุง (หลาน)  คือ มรดก ต้องแบ่งเป็น 6 ส่วนเท่าๆกัน  หลานก็รับ 1 ส่วน...ทีึ่ดิน 2 ไร่ ก็แบ่งแบ่ง 6 ส่วนเท่าๆกัน  ถ้าไม่อยู่ในวิสัยจะแบ่งปันกันได้   ก็ตีราคาเป็นตัวเงิน ตามราคาท่ี่เหมาะสม เช่นตีราคา 1,200,000 บาท  ก็แบ่งกันคนละ  200,000  บาท  ใครต้องการที่ดินทั้งหมดผู้เดียว ก็จ่ายเงิน ให้ทายาทอื่นๆคนละ  200,000  บาท ก็ได้  ส่วนเงิน ไม่มีปัญหา  สามารถแบ่งเป็น 6 ส่วนได้เสมอ ....ต้องให้ทายาท ร้องศาลเป็นผู้จัดการมรดกของป้าก่อน  จึงจะโอนที่ดิน และถอนเงินจากธนาคารได้   การตกลงกันใดๆระหว่างทายาท  ต้องทำสัญญาประนีประนอมไว้ให้ชัดเจน เพืิ่อไม่ให้มีเรื่องฟ้องร้องกันในภายหลัง ....ผู้จัดการมรดก เป็น หลายคนก็ได้  ถ้าเป็นคนเดียวอาจมีปัญหา ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-03-01 18:32:26 IP : 101.51.173.207


ความคิดเห็นที่ 2 (4146144)

เรียน  ท่านมโนธรรมค่ะ

ข้าพเจ้าและครอบครัว ได้อ่านข้อความตามที่ท่านมโนธรรม กรุณาสละเวลาเพื่อตอบคำถาม  

และเรื่องที่่นำมาถามนี้ มีเหตุทะเลาะถกเถียง เพราะทายาทชั้นหลานกำลังมีปัญหา สะสมมานาน ในช่วง 2 ปีย้อนหลังนี้ค่ะ  ก่อนคุณป้าท่านจะเสียชีวิตอีกค่ะ

และ หลังจากที่ได้รับคำตอบนี้   ข้าพเจ้าในฐานะหลาน และเป็นคนกลาง จะนำไปเพื่อใช้ดำเนินการเรื่องต่อตามขั้นตอนทางศาลฯ ค่ะ

ขอบกราบขอบพระคุณท่านมโนธรรม  และทีมงานของ สำนักงานกฎหมาย ปมุข   ที่ท่านได้โปรดชี้แสงสว่าง   เพื่อให้สามารถเดินเรื่องต่อได้อย่างถูกต้องต่อไปค่ะ 

กราบขอบพระคุณท่านอีกครั้งค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Black วันที่ตอบ 2017-03-02 09:55:29 IP : 58.137.23.210


ความคิดเห็นที่ 3 (4146386)

 การรับมรดกแทนที่

  ที่ตอบไป โดยยึดการของกฎหมายเป็นสำคัญ  คือ เมื่อบิดาผู้มีสิทธิรับมรดกตายก่อน  ก็ต้องให้ลูกของผู้ตายรับมรดกแทนที่  ถ้าการตอบทำให้ท่านพบทางแก้ปัญหาได้ ก็ยินดีด้วย เพราะเป็นเป้าหมายสูงสุด ของการมาตอบปัญหาในที่นี้  คิือสามารถช่วยเหลือ คนที่ประสบปัญหาได้ ...  แต่ควรใช้การเจรจากันก่อน   การฟ้องร้องสามารถทำได้ แต่อาจไม่คุ้ม ด้วยความปรารถนาดี ครับ

 

กรณีตัวอย่าง......

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2548

  ผู้ตายไม่มีบุตรและภริยา บิดามารดาของผู้ตายก็ถึงแก่กรรมไปหมดแล้วทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งรวมถึง ล. ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) เมื่อ ล. ถึงแก่กรรมภายหลังโดยยังไม่ได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกส่วนที่ ล. จะได้รับก็ตกแก่ ป. ผู้สืบสันดาน แต่ปรากฏว่า ป. ถึงแก่กรรมไปก่อน ล. แล้ว ทรัพย์มรดกส่วนที่ ป. จะได้รับก็ตกแก่ผู้ร้องและ ฉ. ผู้สืบสันดานซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ป. ตามมาตรา 1639 ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดกและเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (2)

คำพิพากษาย่อยาว

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า นายชื่น จงอ้อมกลาง ผู้ตาย เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางหลง เทียบกลาง ซึ่งเป็นมารดาของนายประกอบ เทียบกลาง บิดาผู้ร้อง ผู้ตายถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2530 ก่อนถึงแก่กรรมมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 20 หมู่ที่ 13 ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมก่อนนางหลง ทรัพย์มรดกจึงตกทอดแก่นางหลงและเมื่อนายประกอบบิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมก่อนนางหลงผู้ร้องจึงเป็นผู้รับมรดกแทนที่นายประกอบ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก และไม่ได้เป็นบุคคลผู้ต้องห้ามตามกฎหมาย การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ค่าคำร้องให้เป็นพับ
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงยุติฟังได้ว่า ผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางหลง เทียบกลาง ซึ่งเป็นมารดาของนายประกอบ เทียบกลาง บิดาของผู้ร้อง ผู้ตายไม่มีบุตรและภริยาได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2530 ส่วนนางหลงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2534 และนายประกอบถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2507 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่าสมควรแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า ผู้ตายไม่มีบุตรและภริยา บิดามารดาของผู้ตายก็ถึงแก่กรรมไปหมดแล้วทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมถึงนางหลงด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (3) เมื่อนางหลงถึงแก่กรรมโดยยังมิได้รับส่วนแบ่งมรดก ดังนั้น ทรัพย์มรดกส่วนที่นางหลงจะได้รับก็ตกแก่นายประกอบผู้สืบสันดาน แต่ปรากฏว่านายประกอบถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วทรัพย์มรดกส่วนที่นายประกอบจะได้รับก็ตกแก่ผู้ร้องและนายฉอ้อนผู้สืบสันดานซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่นายประกอบตามมาตรา 1639 ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดกและเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (2) ผู้ร้องและนายฉอ้อนมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เช่นเดียวกับนายเพ็ชร และนางปีพี่ของนายประกอบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าบุคคลทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายหรือยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ทั้งๆ ที่ผู้ตายถึงแก่กรรมไปก่อนยื่นคำร้องขอถึง 15 ปี ประกอบกับนายฉอ้อนผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นน้องของผู้ร้องก็มิได้ยื่นคำคัดค้าน ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้และศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1711 ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องขอ ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น"
พิพากษากลับ ให้แต่งตั้งนายแดง เทียบกลาง ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายชื่น จงอ้อมกลาง ผู้วายชนม์ ให้ผู้ร้องมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-03-02 15:24:43 IP : 101.51.182.128


ความคิดเห็นที่ 4 (4304579)

 ขอถามเพิ่มเติมเรื่องสัดส่วนในมรดกของคนโสดที่เสียชีวิต ถ้ามีพี่น้องสามคนแต่2คนเสียชีวิตแล้วและอีก1คนยังมีชีวิตอยู่ แต่คนที่เสียชีวิตแล้วมีบุตร 5คน อีก1คนมีบุตร3คน อยากทราบว่าบุตรของผู้ที่จะได้รับมรดกทั้ง8คนแทนบิดานั้น จะได้ในสัดส่วนเท่ากับน้องสาวของเจ้ามรดกรึเปล่า

วิธีแบ่งแบ่งยังไๆ หารสามส่วนตามพี่น้องก่อนรึเปล่า แล้วทายาทของพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้วไปหารแบ่งกันอีกที

หรือว่าหารเท่าๆกันหมดทั้ง9คน

ขอบคุณค่ะ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุธัญญา วันที่ตอบ 2019-04-18 23:11:33 IP : 58.10.107.149



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.