ReadyPlanet.com


รบกวนผู้รู้ช่วยด้วยค่ะ


การรับฟังพยานเอกสารจากสื่ออิเลคทรอนิคส์ในศาลยุติธรรมกับศาลชำนาญพิเศษต่างกันยังไงคะ 

จะค้นคว้าข้อมูลได้ที่ไหนคะ เพราะต้องการแบบละเอียดเลย

ขอบพระคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ว่าที่ :: วันที่ลงประกาศ 2006-04-13 00:51:43 IP : 58.9.55.72


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (444524)

ศาลที่ขณะนี้ยอมรับการรับฟังพยานหลักฐานอิเลคทรอนิกส์ มีเพียง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ .. ส่วนศาลอื่นๆ เช่น ศาลยุติธรรม ศาลแรงงาน ศาลล้มละลาย ศาลเยาวชนฯ ยังไม่ยอมรับนะ ..

 

โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ กำหนดวิธีการรับฟังไว้ใน ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญา ฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยสรุป คือ

 

ในการรับฟังข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานในคดี ต้องพิจารณาให้ได้ความตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๓๓ และ ข้อ ๓๔ ว่า

๑ การบันทึกข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นการกระทำตามปกติในการประกอบกิจการของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

๒ การบันทึกและการประมวลผลข้อมูลเกิดจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง และแม้หากมีกรณีการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้องก็ไม่กระทบถึงความถูกต้องของ ข้อมูลนั้น 

มีคำรับรองของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือดำเนินการนั้นแนบมาด้วย

มีการยื่นคำแถลงยื่นแสดงความจำนงขอเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อศาลและมีการระบุข้อมูลที่จะอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานตามป.วิ.พ. มาตรา ๘๘

๕ มีสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นในจำนวนเพียงพอเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล เว้นแต่เข้ากรณีตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๓๔ () และ ()

 

การคัดค้านการอ้างข้อมูล

การคัดค้านจะต้องทำเป็นคำแถลงและจะต้องยื่นต่อศาลก่อนการสืบข้อมูลนั้นเสร็จ โดยเหตุคัดค้านจะต้องเป็นข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

ข้อมูลดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขของการรับฟังตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๓๓

๒สื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นปลอม หรือ สำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน

 

ศาลอาจอนุญาตให้คัดค้านหลังการสืบข้อมูลนั้นเสร็จแล้ว หากมีเหตุอันสมควรที่ผู้คัดค้านไม่อาจทราบเหตุแห่งการคัดค้านได้ก่อนสืบข้อมูลนั้นเสร็จ โดยคู่ความที่คัดค้านต้องทำคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลก่อนพิพากษาคดี อนึ่ง หลักเกณฑ์ในการรับฟังข้อมูลและการคัดค้านการอ้างข้อมูลข้างต้นให้นำมาใช้บังคับแก่การรับฟังข้อมูลที่บันทึกไว้ในหรือ ได้มาจากไมโครฟิล์ม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นโดยอนุโลม (ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๓๖)

 

          ส่วนศาลอื่นๆ เช่น ศาลยุติธรรม ศาลแรงงาน ศาลล้มละลาย ศาลเยาวชนฯ  ซึ่งยังไม่ยอมรับ หลักการฟังพยานก็จะเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ และอาญาฯ

 

หากต้องการค้นข้อมูลอย่างละเอียด แนะนำให้ไปซื้อหนังสือกฎหมายลักษณะพยาน มาอ่าน เพราะคงมีอธิบายไว้เยอะ

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-04-13 22:07:31 IP : 203.153.170.22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.