ReadyPlanet.com


พินัยกรรม / ลูกภรรยาเก่า


สามี : หย่ากับภรรยาเก่า เมื่อปี 44 มีบุตรชาย 1 คน (อยู่กับภรรยาเก่า) ทรัพย์สินที่มีอยู่ ภรรยาเก่าเอาไปหมดและแจ้งที่อำเภอว่า "จะไม่เกี่ยวข้อง/รับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดที่มีหรือจะมีขึ้นในอนาคต" ***************************** ดิฉัน : -) จดทะเบียนสมรสกับสามี เมื่อปี 45 (เรา... เริ่มต้นใหม่ ทั้งชีวิต การงาน การเงิน) -) ก่อตั้งและจดทะเบียนบริษัทฯ ปี 44 เปลี่ยนชื่อบริษัทฯ ปี 46 -) ปัจจุบันยังไม่มีบุตร -) กิจการงานเติบโตดี มั่นคง มีทรัพย์สิน -) ลำบากมามาก..ไม่อยากให้ใครได้ของเราที่สร้างมา -) ปัจจุบันอยากจะทำพินัยกรรมเก็บไว้เพื่อป้องกัน -) ดิฉันมีพี่น้อง 3 คน (รับราชการทหาร) ***************************** สงสัยค่ะว่า.. 1) ลูก/ภรรยาเก่า... มาเรียกร้องอะไรได้บ้าง 2) สามี พ่อแม่เสียแล้ว มีพี่น้อง 9 คน และมีประเภทเอาแต่ชื่อ มาเป็นหุ้นส่วนบริษัท 3 คน จะฟ้องขอแบ่งมรดกได้หรือไม่หากสามีเสียชีวิต 2) ควรป้องกันอย่างไร และควรทำพินัยกรรมอย่างไร 3) ต้องไปแจ้งยกเลิก "ชื่อบุคคลที่จะมาเรียกร้องรับมรดก" ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือไม่? *** มีข้อแนะนำอื่นๆโปรดแนะนำด้วยค่ะ ***


ผู้ตั้งกระทู้ ดาว :: วันที่ลงประกาศ 2006-04-04 10:02:48 IP : 203.188.47.101


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (436041)

คุณมีสิทธิทำพินัยกรรม ยกทรัพย์สินให้กับใครก็ได้นะ .. ผลของพินัยกรรมคือ บุคคลทีไม่มีชื่อในพินัยกรรม ไม่มีสิทธิได้ทรัพย์สินของคุณเลย

แบบของพินัยกรรม มี 4 แบบ

1 ทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น

2  พินัยกรรม ที่คุณเขียนขึ้นเองทั้งฉบับ กล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองทั้งหมด ต้องเขียน วัน เดือน  ปี และลายมือชื่อของตัวเองด้วย

3 พินัยกรรม แบบที่เรียกว่า เอกสารฝ่ายเมือง คือ

             (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน

             (2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง

             (3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

             (4) ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตาม (1) ถึง (3) ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ

4  พินัยกรรม แบบที่เรียกว่า เอกสารลับ  คือ

             (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม

             (2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น

             (3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอดผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย

             (4) เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวัน เดือน  ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้กรมการอำเภอผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

 

หมายเหตุ ถ้าไม่เข้าใจ ให้อ่าน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1655 - 1672  นะ

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-04-04 21:44:26 IP : 203.153.172.224


ความคิดเห็นที่ 2 (439288)

-บุตรของสามีคุณย่อมมีสิทธิรับมรดกของสามีคุณในฐานะทายาทโดยธรรม  คุณสามารถทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติของคุณให้ใครก็ได้ตามที่มีผู้แนะนำข้างต้น ........แต่ทรัพย์สินส่วนที่ไมใช่ของคุณ.....คุณไม่สามารถทำพินัยกรรมยกให้ใครได้ ตัวอย่างง่ายๆ...ถ้าคุณและสามี...มีทรัพย์สินรวมกัน 10 ล้านบาท  ถ้าสามีเสียชีวิต  คุณในฐานะภรรยาจะได้รับส่วนแบ่ง  5  ล้านในฐานะคู่สมรส ---อีก 5 ล้านบุตรจากภรรยาเก่าและตัวคุณก็มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละเท่าๆกัน....ส่วนญาติของสามีคงไม่มีสิทธิได้รับมรดกแต่อย่างใด.....ถ้าไม่ต้องการให้บุตรจากภรรยาเก่ามีสิทธิได้รับมรดก...คุณและสามีของคุณต้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลที่คุณต้องการ....ถ้าทำพินัยกรรมเฉพาะคุณผู้เดียว...ผลย่อมเป็นดังที่ยกตัวอย่าง......สมบัติผลัดกันชม...อย่าไปคิดห่วงอาลัยให้มากเกินควร.....ตายไปแล้วใครจะเอาไปไหนก็แล้วแต่บุญกรรมของแต่ละคน.....ทำวันนี้ให้ดีที่สุดน่าจะเพียงพอ......

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2006-04-08 13:03:04 IP : 203.113.57.37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.