ReadyPlanet.com


ไม่ให้ฟ้องทิ้งร้างเกิน 1หรือ 3 ปี


จดทะเบียนแยกกันทํางานคนละที่เดิมกลับทุกอาทิตย์?นานหลายปีเข้าเดี๋ยวนี้ไม่กลับเลยแต่ขอหย่าฉันไม่หย่าให้และเดี๋ยวนี้ต้องเป็นฝ่ายไปเองเพื่อรักษาสิทธิ์ตนเองตามกฏหมายอยากถามว่าจะต้องไปในระยะเวลาเท่าไหร่ เดือนละ1 ครั้งพอไหมถ้า 2เดือนไปทีหนึ่งเขาจะฟ้องหย่าเราได้ไหมเวลาไปตอนนี้ต้องถ่ายรูปติดบ้านเลขที่ไว้เป็นหลักฐานมีลูกเป็นพยานเพราะข้อกฎหมายอื่นเขาไม่สามารถฟ้องหย่าเราได้


ผู้ตั้งกระทู้ เมียที่พร้อมจะสู้ :: วันที่ลงประกาศ 2006-03-19 14:22:10 IP : 203.151.46.131


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (422005)

ไม่ทราบว่า ใช้ pamooklaw@yahoo.com ได้อย่างไรครับ  อีเมลนี้ เป็นแอดเดรสที่ผมใช้อยู่นะครับ

 

ตามคำถาม  กฎหมาย ไม่สามารถบังคับ ให้ ใครอยู่ร่วมกันได้ครับ การอยู่ร่วมกัน ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสามี หรือภรรยา เพราะฉะนั้น หาก สามี พยายามจะทำให้เกิดเหตุอย่างที่คุณบอก เพื่อใช้เป็นเหตุในการฟ้องหย่า แล้ว ก็คงจะไปห้ามไม่ได้ ครับ เพราะว่า ศาลจะตัดสินให้หย่า หรือไม่นั้น ศาลจะดูพฤติกรรม เป็นเรื่องๆไปครับ ว่า เป็นเหตุในการฟ้องหย่า หรือไม่ หาก มีเหตุให้ฟ้องหย่า ศาลก็คงจะพิพากษาให้หย่าครับ

ตามเหตุที่คุณเล่า มา ถ้าหาก สามีคุณฟ้องหย่าจริงๆ คุณก็ควรต่อสู้คดีว่า สามีไม่มีเหตุฟ้องหย่า คุณ แต่คุณมีเหตุฟ้องหย่าสามีได้ เนื่องจากทิ้งร้าง และอาจจะเรียกค่าทดแทน จากฝ่ายสามี ครับ

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1) สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้อง

หย่าได้

(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญา

หรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่ว

อยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็น

อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือ

เหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีก

ฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีใน

ความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็น

เป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีก

ฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา

ได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี

ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็น

เวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือ

ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้น

ถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกัน

ฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยาก

จะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีก

ฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่ง

ฟ้องหย่าได้

(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรค

มีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้

ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1524 ถ้าเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516(3) (4) หรือ(6) เกิดขึ้นเพราะ

ฝ่ายผู้ต้องรับผิดชอบก่อให้เกิดขึ้นโดยมุ่งประสงค์ให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่อาจทนได้ จึงต้อง

ฟ้องหย่า อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากฝ่ายที่ต้องรับผิด

มาตรา 1525 ค่าทดแทนตามมาตรา 1523 และมาตรา 1524 นั้น ให้ศาลวินิจฉัยตาม

ควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวด ๆ มีกำหนด

เวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้

ในกรณีที่ผู้จะต้องชำระค่าทดแทนเป็นคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลคำนึงถึงจำนวน

ทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรส เพราะการหย่านั้นด้วย

2232/2535

โจทก์ เรือเอก ธ.

จำเลย นาง ส.

แพ่ง เหตุฟ้องหย่า ค่าทดแทน อายุความ (มาตรา 1516 (3),

(6)1525, 1529)

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วย

กฎหมาย ได้จดทะเบียนสมรสกัน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม

2526 และวันที่ 9 มีนาคม 2527 ไม่มีบุตรด้วยกันและไม่มีสินสมรส

หลังจากแต่งงานกันแล้วจำเลยซึ่งรับราชการอยู่ที่อำเภอประจำจังหวัด

น่าน ได้ขอย้ายตามโจทก์มาอยู่ร่วมกันที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

ต่อมาประมาณเดือนมกราคม 2528 โจทก์กับจำเลยเริ่มมีปากเสียง

ทะเลาะกันจนจำเลยหนีออกไปจากบ้านหลายครั้ง ครั้งละหลายวันเมื่อ

ต้นเดือนพฤษภาคม 2528 โจทก์เดินทางไปปฏิบัติราชการที่ชายแดน

ด้านจังหวัดตราด จำเลยได้ขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดออกไป

จากบ้านพักอันเป็นภูมิลำเนาปกติของโจทก์และจำเลย แล้วย้ายไปอยู่

ที่อื่นโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ อีกทั้งขอย้ายมารับราชการที่โรงเรียน

ศรีบุญยานนท์ โดยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเช่นเดียวกัน นับตั้งแต่วันที่

จำเลยย้ายออกบ้านจนบัดนี้เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี เป็นการ

จงใจละทิ้งโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควรและขณะที่จำเลยจัดการ

ตระเตรียมขนย้ายนั้น จำเลยได้ด่าว่าสาปแช่งโจทก์และบิดามารดา

โจทก์ด้วยถ้อยคำอันหยาบคายต่อหน้าบุคคลอื่น อันเป็นการหมิ่น

ประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความอับอาย

อย่างร้ายแรง ขอให้พิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนสมรสที่จดทะเบียน

ที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน เลขทะเบียนที่ 139/12144 ลงวันที่

9 มีนาคม 2527 ให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา

กัน หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าก็ให้ถือเอาคำพิพากษา

แทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การและฟังแย้งว่า เหตุแห่งการหย่านั้นโจทก์เป็นผู้ก่อ

แต่ผู้เดียวหลังจากที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันครั้งแรกแล้ว

จำเลยคงรับราชการที่จังหวัดน่านอยู่อีก 5 เดือนแล้วจึงย้ายมาอยู่

กับโจทก์ เมื่อจำเลยย้ายมาอยู่ร่วมกับโจทก์ โจทก์และจำเลยเริ่มมี

ปากเสียงทะเลาะกันเนื่องจากนางสมคิดอ้างว่าเป็นภริยาของโจทก์

ต่อมาโจทก์ยิ่งทำตัวเหินห่างกับจำเลยยิ่งขึ้น โดยทุกเย็นวันศุกร์

โจทก์จะต้องเดินทางไปจังหวัดตราดเพื่อไปหานางสมคิดและเดินทาง

กลับมาในวันจันทร์ ซึ่งจำเลยได้ออกไปทำงานแล้ว ระหว่างที่โจทก์

เดินทางไปจังหวัดตราดนั้น โจทก์ได้ทอดทิ้งให้จำเลยอยู่กับพลทหาร

รับใช้เพียงลำพังในบ้านพักจำเลยมีความหวาดกลัว ว้าเหว่ จำเลย

จึงได้ไปค้างที่บ้านเพื่อน ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2528 โจทก์

ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ชายแดนจังหวัดตราดอีก

โจทก์ยิ่งเดินทางมาหาจำเลยน้อยครั้ง และเวลากลับมาโจทก์ก็มา

ทะเลาะกับจำเลยบางครั้งก็ทำร้ายจำเลยจนได้รับบาดเจ็บและชวน

จำเลยแยกทาง จำเลยพยายามอดทนมาตลอด จำเลยเห็นว่าเวลา

โจทก์กลับมาก็มีแต่เรื่องทะเลาะกันทำให้จำเลยได้รับความอับอาย

จึงได้ทำเรื่องขอย้ายตัวเองออกมาให้ห่างกับโจทก์สักระยะหนึ่งเพื่อ

โจทก์จะได้กลับตัวกลับใจในทางที่ดีบ้าง ซึ่งในการที่จำเลยขอย้าย

ตัวเองโจทก์ก็รู้เห็นด้วย จำเลยได้ขอย้ายมาช่วยราชการที่โรงเรียน

ศรีบุญยานนท์ และระหว่างจำเลยย้ายมาช่วยราชการนั้นได้เดินทาง

ไปหาโจทก์ที่กองพันทหารราบที่ 1 กรมนาวิกโยธิน กองทัพเรือสัต***

เป็นประจำ ไม่ใช่จงใจละทิ้งโจทก์โดยไม่มีเหตุอันควรแต่อย่างใด และ

จำเลยไม่เคยด่าว่าสาปแช่งโจทก์และบิดามารดาโจทก์ด้วยถ้อยคำ

อันหยาบคายต่อหน้าบุคคลอื่น อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และ

บุพการีของโจทก์ โจทก์ได้อุปการะเลี้ยงดูนางสมคิดและยกย่อง

นางสมคิดเป็นภริยาจนมีบุตรด้วยกัน 1 คนตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ประมาณ

1 ปี โจทก์ไม่เคยให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยตามสมควร

อย่างเช่นสามีภริยาโดยทั่วไป อีกทั้งโจทก์ยังกระทำการเป็นปฏิปักษ์

ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โดยหาเหตุทะเลาะวิวาทกับ

จำเลยเพื่อให้จำเลยทนอยู่กับโจทก์ไม่ได้ และทำให้จำเลยต้องอับอาย

เพื่อนบ้านข้างเคียงการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความ

เสียหาย ขอให้โจทก์ชำระค่าทดแทนให้จำเลยเป็นจำนวนเงิน

200,000 บาท และการกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยต้องยากจนลง

รายได้ไม่เพียงพอกับการเลี้ยงชีพ จำเลยขอคิดค่าเลี้ยงชีพเป็นจำนวน

เงิน 50,000 บาท ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็น

สามีภริยากัน และหากโจทก์ไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าขอให้ถือเอา

คำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า

ได้ให้เพิกถอนทะเบียนสมรสที่ 139/12144 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2527

ด้วย และให้โจทก์ชดใช้ค่าทดแทนเป็นเงิน 200,000 บาท กับค่าเลี้ยง

ชีพเป็นเงิน 50,000 บาท แก่จำเลยพร้อมทั้งชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อย

ละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินทั้ง 2 รายการนี้นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะ

ชำระเสร็จ

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยอยู่กินเป็นสามี

ภริยากันนั้น โจทก์ไม่เคยยกย่องนางสมคิดเป็นภริยา และไม่มีบุตรด้วย

กัน โจทก์อุปการะเลี้ยงดูจำเลยตามกำลังของโจทก์ พักอาศัยอยู่ด้วยกัน

ให้เงินค่าใช้จ่ายไม่เคยทอดทิ้งจำเลย โจทก์ไม่เคยทำร้ายจำเลย และการ

ที่จำเลยขอย้ายโรงเรียนและที่พักอาศัยจำเลยไม่เคยปรึกษาหารือโจทก์

โจทก์ไม่ทราบและเป็นการกระทำโดยไม่เคารพโจทก์ในฐานะหัวหน้า

ครอบครัวตามประเพณีที่ดี จงใจละทิ้งโจทก์เกินกว่า 1 ปี ทั้งหมิ่น

ประมาทโจทก์และบุพการีโจทก์อย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่า

จำเลยได้ ทั้งการหย่าขาดจากกันก็ไม่ทำให้จำเลยยากจนลงแต่ฐานะ

การเงินกลับเพิ่มขึ้น จำเลยคงรับราชการครูมีความก้าวหน้า ไม่เคยเช่า

บ้านและไม่มีเหตุจะเช่าบ้าน จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพ ฟ้องแย้ง

ของจำเลยเคลือบคลุม และขาดอายุความแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องหย่า

เรียกค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เหตุหย่าเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ แต่

จำเลยทราบเหตุหย่าเรื่องโจทก์ยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาเมื่อเดือน

กุมภาพันธ์ 2528 แต่ฟ้องแย้งวันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งเกิน

กำหนด 1 ปี ฟ้องแย้งจำเลยถึงขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์

และยกฟ้องแย้งจำเลย

โจทก์จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันตามฟ้อง

แย้งของจำเลย ให้โจทก์ชำระเงินค่าทดแทนจำนวน 100,000 บาท

พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้ง

ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ประการแรกมีว่า

เหตุหย่าเกิดจากความผิดของโจทก์หรือจำเลย ตามข้อนำสืบของโจทก์

มีตัวโจทก์เบิกความว่า ได้รับคำบอกเล่าจากพลทหารรับใช้ที่บ้าน 2 คน

ว่าจำเลยได้สาปแช่งโจทก์ว่าถ้าพิการก็เลี้ยงดูเอาเอง หากตายก็จะกลับ

มาเอาเงิน ทั้งผู้บุพการีของโจทก์เป็นผู้ใหญ่เสียเปล่าทำตัวไม่น่านับถือ

เข้าข้างโจทก์และนายบุญเหลือ สังข์ทอง พลทหารรับใช้โจทก์เบิกความ

ว่า ขณะจำเลยขนของออกจากบ้านโจทก์ จำเลยด่าโจทก์ซึ่งไปราชการ

ชายแดนว่า ขอให้มีอันเป็นไปตายแล้วจะมารับเงิน หากไม่ตายให้เลี้ยง

ดูกันเอง และบิดามารดาโจทก์ไม่ให้ความยุติธรรมแก่จำเลย และนาย

เสน่ห์ สินสมุทร พลทหารรับใช้อีกคนหนึ่งเบิกความว่า เคยได้ยินจำเลย

แช่งด่าโจทก์ว่า ***สัตว์ ***หน้าตัวเมีย ***ไม่เลิกกับ***ง่าย ๆ หรอก

ออกชายแดนงวดนี้ถ้าแขนขาขาดก็ไปเลี้ยงดูกันเอาเอง ถ้าตายจะ

กลับมารับเงิน ถ้อยคำดังกล่าวถ้าหากจำเลยได้กล่าวต่อพลทหารรับใช้

ทั้งสองคนจริง จะเป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์หรือ

บุพการีโจทก์อันเป็นการร้ายแรงหรือไม่ น่าจะเห็นได้ว่าในเบื้องต้นเมื่อ

จำเลยย้ายมาพักอยู่กับโจทก์แล้ว ต่อมามีเหตุที่ทำให้ระแวงสงสัยว่า

โจทก์อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น เป็นเหตุให้จำเลยไม่พอใจและมีการ

ทะเลาะกับโจทก์เสมอ แม้เวลาโจทก์ไม่อยู่บ้านจำเลยจะกล่าวถ้อย

คำอย่างที่พยานเบิกความจริง ก็มิใช่เป็นการหมิ่นประมาทหรือ

เหยียดหยามโจทก์หรือบุพการีของโจทก์ เป็นถ้อยคำที่จำเลยกล่าว

ด้วยความน้อยใจที่จำเลยทราบว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น และ

มิใช่เป็นคำกล่าวที่ร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ ส่วนที่

จำเลยละทิ้งโจทก์ไปนั้น ปรากฏว่าจำเลยได้ออกจากบ้านที่พักอยู่กับ

โจทก์ไปจริง แต่อ้างว่าโจทก์มีนางสมคิด เป็นภริยาอีกคนหนึ่ง ได้

ทะเลาะกันเป็นประจำจำเลยทนอยู่กับโจทก์ไม่ได้ในช่วงนั้นโจทก์จะ

อุปการะเลี้ยงดูนางสมคิดหรือไม่จะได้วินิจฉัยภายหลัง แต่โจทก์รับ

ว่าหลังจากจำเลยออกจากบ้านไปแล้ว โจทก์ได้นางสมคิดเป็นภริยา

จริงและมีบุตรด้วยกัน 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2529 เมื่อ

พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์และข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายปรากฏว่าใน

ช่วงที่จำเลยออกจากบ้านโจทก์ ทั้งสองฝ่ายรับว่าได้มีการทะเลาะ

กันระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นประจำเริ่มเรื่องทะเลาะกันเมื่อ

ประมาณเดือนมกราคม 2528 โดยจำเลยกล่าวหาว่าโจทก์มี

ภริยาน้อย และจำเลยเคยไปเล่าเรื่องโจทก์เกี่ยวกับนางสมคิดให้

นาวาโทเทอดศักดิ์ผู้บังคับบัญชาโจทก์ฟัง แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขอะไร

ได้ เมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์มีภริยาน้อยและทะเลาะกันเป็นประจำ ก็

ได้แยกไปอยู่ที่อื่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2528 ต่อมาจำเลยก็ได้อยู่กิน

กับนางสมคิดจนมีบุตรด้วยกัน 1 คนเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2529

แม้จะเป็นเวลาประมาณ 12 เดือน นับแต่จำเลยออกจากบ้านโจทก์ไป

แต่นางสมคิดจะคลอดบุตรจะต้องตั้งครรภ์ประมาณ10 เดือน ถ้าโจทก์

ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับนางสมคิดมาก่อน ก็แสดงว่าเมื่อจำเลยออก

จากบ้านไปประมาณ 2 เดือน โจทก์ก็ได้นางสมคิดเป็นภริยา แต่ตาม

ลักษณะของพฤติการณ์ที่ปรากฏมิได้เป็นเช่นนั้นเลย เหตุที่โจทก์กับ

จำเลยทะเลาะและแตกแยกกันก็มีสาเหตุมาจากนางสมคิด และภาย

หลังโจทก์ก็ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับนางสมคิดจริง เป็นพฤติการณ์

แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความสัมพันธ์กับนางสมคิดมาก่อน เป็นกรณี

ที่โจทก์อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา และทำการเป็น

ปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา เมื่อจำเลยไม่สามารถทนอยู่กินกับ

โจทก์และแยกไปอยู่ที่อื่น มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์

อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ แต่กรณีที่โจทก์อุปการะเลี้ยงดู

หญิงอื่นฉันภริยาและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา

จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ ส่วนจะขาดอายุความหรือไม่นั้น เห็นว่า

ขณะนี้โจทก์ยังอยู่กินฉันสามีภริยากับนางสมคิด เป็นการอุปการะเลี้ยง

ดูหญิงอื่นและกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาตลอดมา

การกระทำของโจทก์ยังมีเหตุที่จะฟ้องหย่าได้ตลอดเวลาที่การกระทำ

ไม่สิ้นสุดฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาเกี่ยวกับค่าทดแทน

โดยโจทก์ฎีกาว่าสูงเกินไปนั้น เห็นว่า ในเรื่องค่าทดแทน มาตรา 1525

แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่

พฤติการณ์ เมื่อพิเคราะห์ถึงการกระทำของโจทก์ที่อุปการะเลี้ยงดู

หญิงอื่น และจำเลยรับราชการครู เป็นผู้มีฐานะตำแหน่งหน้าที่และ

เกียรติในทางสังคม ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ 100,000 บาทพอเหมาะ

แก่รูปคดีแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

(ก้าน อันนานนท์ - อุดม เฟื่องฟุ้ง - อัมพร ทองประยูร)

*หมายเหตุ ประเด็นเรื่องอายุความในการฟ้องหย่า เพราะเหตุที่สามียกย่องหญิงอื่น

ฉันภริยา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 นี้ คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้วินิจฉัยในแนว

ที่ถือว่า "โจทก์ยังอยู่กินฉันสามีภริยากับ ส. เป็นการอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น และ

การกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาตลอดมา การกระทำของโจทก์ยังมี

เหตุที่จะฟ้องหย่าได้ตลอดเวลาที่กระทำไม่สิ้นสุด" ซึ่งหมายความว่า หากสามี

ยังคงอยู่กินกับหญิงอื่นฉันภริยา ไม่ว่าจะอยู่กินกันเป็นเวลากี่ปีก็ตาม ภริยาสามารถ

ฟ้องหย่าได้เสมอ เพราะเท่ากับว่ายังไม่มีการเริ่มนับอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา

1529 แต่อย่างใด ซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวนี้ทำนอง

เดียวกับคำพิพากษาฉบับนี้ไว้หลายคำพิพากษาฎีกา เช่น คำพิพากษาศาลฎีกา

ที่ 1425/2494, 1456/2502 (ประชุมใหญ่), 63/2520, 769/2523, 2820/2528 เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตามเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2526 วินิจฉัยในประเด็น

ดังกล่าวนี้ไว้แตกต่างกับคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้น โดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่

3471/2526 วินิจฉัยว่า "จำเลยได้หญิงอื่นและรับเข้ามาอยู่ในบ้าน อันเป็นการเลี้ยงดู

หรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ...เหตุนี้เกิดเมื่อปี พ.ศ.

2519 โจทก์รู้ความจริงดังกล่าวในปีเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2523

คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529"

ปราโมทย์ ธรรมพนิชวัฒน์

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2006-03-20 20:41:10 IP : 58.136.4.150



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.