ReadyPlanet.com


ขอความช่วยเหลือด่วน


เรียน ท่านทนาย ปมุข

ดิฉันขอคำปรึกษาคะ

      คือว่าดิฉันเป็นผู้จัดการสาขา เป็นบริษัทเกี่ยวกับการรับซื้อไม้ บริษัทมีคำสั่งให้เหมาไม้ ช่วงแรกบริษัทก็ได้กำไรหลายล้านบาท แต่ช่วงหลังขาดทุน 500000 บาท ฝ่ายกฎหมายบริษัทเลิกจ้างเพราะสาเหตุประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง มีหลายสาขาที่เหมาไม้ขาดทุนแต่ไม่โดนเลิกจ้าง ดิฉันเริ่มเป็นคนแรกที่โดน ประเด็นมีว่า

 ดิฉันก็ไปวัดพื้นที่จริงโดยใช้ตลับเมตรวัด แต่พื้นที่กลับขาดหายไปประมาณ 30 ไร่ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าบริษัทไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยให้ พอเหมาขาดทุนจึงมีมาให้ โดยใช้ช่างรังวัดมีความเชี่ยวชาญมาวัดถึงรู้ว่าพื้นที่ขาด การใช้ตลับเมตรวัดมีโอกาสผิดพลาดสูง จากการสอบถามช่างรังวัดคะ แต่ชั่งรังวัดมาวัดเฉพาะแปลงที่ขาดทุนและเวลาตัดไม้เสร็จแล้วจังรังวัดง่าย ก่อนที่จะเหมาไม่เห็นบริษัทให้มารังวัดให้ เลยส่วนความสูงของไม้ก็ใช้สายตาวัดเอา เพราะไม่มีเครื่องให้เลย พอแต่หลายสาขาขาดทุนจึงเริ่มมีเครื่องมือให้

  ดิฉันอยากถามว่า การกระทำของดิฉันมีเหตุประมาทเลินเล่อจนให้บริษัทได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือไม่ เพราะดิฉันก็ทำตามหน้าที่ดีที่สุดแล้ว คนที่ผิดน่าจะเป็นบริษัท ที่ปล่อยให้ลองผิดลองถูกพอพลาดและขาดทุนขึ้นมา ก็ไล่ออกเลย ส่วนความดีที่สร้างไม่เห็นมีประโยชน์อะไรเลย ดิฉันทำงานมา 5 ปีแล้ว พอจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง เพราะไม่มีการตักเตือนใดๆทั้งสิ้นเลย

  ใช่ว่าดิฉันจะเหมาขาดทุนคนเดียวมีผู้จัดการ หลายสาขาก็เหมาขาดทุนเหมือนกัน ทำไมไม่เห็นเลิกจ้าง การกระทำอย่างนี้เท่ากับว่าเลือกปฏิบัติ ไม่ยุติธรรมเลย

 กิจการที่บริษัททำมีลักษณะทำการค้า ก็ต้องมีการได้กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง เป็นของธรรมดา เพราะจะต้องสู้กับคู่แข่งหลายด้าน การตัดสินกับพนักงานอย่างนี้ถือว่าไม่ถูกต้องนะคะ พอได้กำไร ไม่เห็นให้อะไรพิเศษเลย แต่พอทำให้เขาขาดทุนกับไล่ออก ทั้งที่ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว เพราะน้ำหนักไม้เป็นการประมาณการ แม้วิศวะก็ไม่สามารถคำนวณได้แม่นยำแน่นอน อีกประการหนึ่งเฒ่าแก่ หรือผ้รับเหมาก็ขาดทุนเหมือนกัน เป็นหลายล้านบาทด้วย ดิฉันพอจะฟ้องศาลแรงงานได้หรือไม่ และจะเรียกอะไรได้บ้างคะ พอจะโต้แย้งกับบริษัทได้บ้างไหมเพราะดิฉันเห็นว่าไม่ยุติธรรมเลย พอมีคำพิพากษาศาลแรงงาน มาต่อสู้ได้บ้างใหม

                           ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ขอความช่วยเหลือด่วน :: วันที่ลงประกาศ 2005-12-30 21:10:08 IP : 58.147.24.181


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (341890)

กรณี ของคุณ เป็นเรื่องของการเลิกจ้างครับ ซึ่ง จากกรณีที่คุณถาม มา พอดี ไม่ได้ให้ รายละเอียด อะไรมาก  ครับ  แต่ พอจะแนะนำได้ว่า ถ้าคุณสามารถพิสูจน์ได้ว่า  สาเหตุ ที่บริษัท ขาดทุน ไม่ได้เป็นผล มาจากการ ประมาทเลินเล่อของคุณ ก็พอแล้วครับ  คำว่าประมาทเลินเล่อ หมายความ ว่า การทำงาน ที่ต้องใช้ความระมัดระวัง แต่ไม่ใช้ ซึ่งบุคคลในวิสัย และภาวะการเช่นนั้น จำต้องมี 

ซึ่งหากคุณไม่ได้ประมาแล้ว คุณก็พอที่จะฟ้องได้ครับ เป็นการฟ้อง เรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งคุณจะสามารถเรียกร้องได้ดังต่อไปนี้ ครับ

๑.ค่าชดเชย ในอัตราค่าจ้างเดือนสุดท้าย ๑๘๐ วัน

๒ ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้าง = ๑ งวดการชำระเงิน

๓.ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ครับ เช่น ถ้าคุณอายุมากแล้ว ไม่สามารถหางานใหม่ได้ หรือ

พอจะมีตัวอย่างคดี คล้ายๆ กับของคุณครับ ลองอ่านดู ถ้าหาได้ตรงๆจะนำมาลงให้ใหม่ นะคร้บ

4692/2538

โจทก์ นายวิชัย ลีลาสิริโชติ

จำเลย ธนาคารกรุงไทย จำกัด

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ข้อ 47)

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและไม่บอกกล่าว

ล่วงหน้า ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าว

ล่วงหน้า เงินทุนเลี้ยงชีพ เงินบำเหน็จพิเศษ เงินโบนัส และค่าเสียหาย

พร้อมดอกเบี้ย

จำเลยให้การว่า จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน

เนื่องจากโจทก์จงใจปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของจำเลย ทำให้ได้รับ

ความเสียหายอย่างร้ายแรง โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินต่างๆ ตามฟ้อง

ขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 202,980

บาท และเงินทุนเลี้ยงชีพ จำนวน 656,777 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา

ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างสำหรับค่าชดเชยและนับแต่วันฟ้อง

สำหรับทุนเลี้ยงชีพเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นนอก

จากนี้ให้ยกเสีย

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะ

ปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์จำเลยว่า การกระทำของโจทก์เป็นกรณี

ร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงาน

กลางว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลย

มิได้เกิดจากการทุจริตหรือประมาทเลินเล่อ หากแต่เป็นการผ่อนสั้นผ่อน

ยาวช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาอันสืบเนื่องจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ

โดยธนาคารจำเลยก็ได้รับผลประโยชน์จากการเบิกเงินเกินบัญชีและรับซื้อ

ลดตั๋วเงินที่ผิดระเบียบดังกล่าว และสาขาอื่นของธนาคารจำเลยก็มีการ

ปฏิบัติทำนองข้างต้น ดังนี้ การกระทำของโจทก์ที่ฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่ง

เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยเจตนา

เพื่อประโยชน์ของธนาคารจำเลย หาได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย

แก่ธนาคารจำเลยไม่ จึงไม่อาจถือเป็นความผิดร้ายแรงดังศาลแรงงานกลาง

วินิจฉัยถูกต้องแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

(วินัย วิมลเศรษฐ -ชลิต ประไพศาล -ชูชาติ ศรีแสง)

กำจัด พ่วงสวัสดิ์ - ย่อ

*หมายเหตุ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2538 วินิจฉัย เรื่องการฝ่าฝืนระเบียบหรือ

คำสั่งของนายจ้างในกรณีร้ายแรง ซึ่งมีข้อพิจารณา ดังนี้

1. หลักกฎหมาย

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) บัญญัติว่า

"(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอัน

ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ซึ่งหนังสือ

เตือนนั้นต้องมีผลบังคับไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับทราบหนังสือเตือน เว้นแต่

กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำต้องตักเตือน"

สาระสำคัญของการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งในกรณีร้ายแรง

1) ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบ หรือ คำสั่งของนายจ้าง

2) ในกรณีร้ายแรง

3) นายจ้างเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องตักเตือน

4) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

2. การฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งในกรณีร้ายแรง

กฎหมายมิได้ให้คำนิยามหรือกำหนดหลักเกณฑ์ไว้อย่างไรจึงถือว่าเป็นกรณี

ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ และการกระทำของลูกจ้างเป็นรายๆ ไป

ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า การฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนาย

จ้างที่ทำให้นายจ้างเสียหายมาก ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง เช่น โจทก์ไม่ติดตามทวงหนี้

ทำให้ลูกหนี้ของจำเลยค้างชำระหนี้ถึง 275 เรื่อง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2526)

หรือ โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยต้องสูญเงินไปถึง 7

ล้านบาทเศษ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2530)

ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2538 ที่หมายเหตุนี้ ได้ความว่า

โจทก์ผู้จัดการธนาคารสาขาได้อนุมัติให้เบิกเงินเกินบัญชีและรับลดตั๋วเงินเกิน

อำนาจและผิดระเบียบทำให้จำเลยเสียหายเป็นเงิน 5 แสนบาทเศษ นับว่าเป็นการทำให้

จำเลยเสียหายค่อนค้างมาก แต่การกระทำของโจทก์ได้กระทำโดยเปิดเผยมีการทำสัญญา

และลงหลักฐานทางบัญชีไว้ สามารถติดตามทวงถามได้ และหนี้บางส่วนก็มีหลักทรัพย์

และบุคลค้ำประกัน จึงมิใช่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ และโจทก์ได้กระทำดังกล่าว

เพื่อประโยชน์แก่จำเลยไม่มีข้อเท็จจริงว่าทำเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตัวโจทก์หรือผู้อื่น

จึงมิใช่การกระทำโดยสุจริต และยังได้ความว่าธนาคารสาขาอื่นก็ปฏิบัติทำนองเดียวกันนี้

อีกทั้งจำเลยก็ได้รับประโยชน์จากการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วย จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืน

ในกรณีร้ายแรง

3. หลักเกณฑ์เทียบเคียงกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2538

3.1 การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้องตามตามระเบียบข้อบังคับ แม้จะทำเพื่อประโยชน์

ของนายจ้าง ก็ยังถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ

3.2 การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ แม้บุคคลอื่นจะปฏิบัติเช่น

เดียวกัน ก็อ้างมาปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้กระทำฝ่าฝืนมิได้

3.3 การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ หากทำโดยประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้

นายจ้างเสียหายมากเป็นการฝ่าฝืนที่ร้ายแรง

3.4 การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับที่กระทำโดยทุจริต คือ ทำเพื่อแสวงหา

ประโยชน์ที่ควรมิได้สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ถือว่าฝ่าฝืนในกรณีร้ายแรง

3.5 การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ แต่ทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้างเป็นการฝ่าฝืน

ที่ไม่ร้ายแรง

3.6 นายจ้างได้ยอมอรับเอาประโยชน์จากการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของลูกจ้าง

แล้วต่อมาจะอ้างว่าการฝ่าฝืนของลูกจ้างเป็นกรณีร้ายแรงมิได้

3.7 การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ ที่กระทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้างแม้จะเกิด

ผลเสียหายแก่นายจ้าง จะถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหายมิได้

รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-12-30 22:02:45 IP : 58.136.0.135


ความคิดเห็นที่ 2 (341892)

2011/2540

โจทก์ นายสมวงค์ วัฒนะสุต

จำเลย ธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน)

พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม (มาตรา 49)

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ข้อ 46, 47)

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินจำนวน 4,174,458 บาท

พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 22,625 บาท

นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จและดอกเบี้ยในอัตรา

เดียวกันของต้นเงิน 99,330 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จ

ให้แก่โจทก์

จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์เพราะโจทก์อาศัย

ตำแหน่งที่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้

จำเลยได้รับความเสียหาย และประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้

รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยว

กับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและ

ค่าเสียหายใดๆพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่

หากแต่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้

รับความเสียหายอยู่บ้างแต่ไม่ถึงกับร้ายแรงซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 8 (4) จำเลยจะเลิกจ้าง

โจทก์ต้องทำหนังสือตักเตือนก่อน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุ

ดังกล่าวโดยมิได้ทำหนังสือตักเตือนก่อน จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 281,435 บาท ค่าชดเชย 99,330 บาท

ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 5,518 บาทและเงินบำเหน็จ

211,076.25 บาท รวมเป็นเงิน 597,359.25 บาท แก่โจทก์พร้อม

ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน 99,330 บาท นับแต่วัน

เลิกจ้างไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขออื่นให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริง

ว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขา

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536 ขณะโจทก์

ทำงานเป็นสมุห์บัญชีประจำสาขาหนองแขม โจทก์เป็นผู้อนุมัติให้จ่ายเงิน

ตามที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตขวัญนครมาขอเบิกเงินสดไป 12 ครั้ง รวม

เป็นเงิน 93,282 บาท โดยโจทก์มิได้รับประโยชน์จากการอนุมัติให้

จ่ายเงินดังกล่าว การเบิกเงินสดของลูกค้าดังกล่าวทางสาขาจะทำ

ใบเบิก 3 ฉบับ ฉบับที่หนึ่งส่งมอบให้แก่ลูกค้า ฉบับที่สองส่งไปให้ส่วน

บัตรเครดิต สำนักงานใหญ่ส่วนฉบับที่สามทางสาขาเก็บไว้เอง

โจทก์ในฐานะสมุห์บัญชีมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานจัดพิมพ์หนังสือ

นำส่งมาให้โจทก์ลงนามเพื่อนำส่งเบิกให้ส่วนบัตรเครดิต สำนักงานใหญ่

ในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ลูกค้ามาเบิกเงินสด แต่ปรากฏว่าใบเบิกทั้ง 12

ครั้ง ได้ส่งให้ส่วนบัตรเครดิตสำนักงานใหญ่ช้ากว่า 120 วัน เป็นเหตุ

ให้จำเลยไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารที่ลูกค้าถือบัตรเครดิตได้

ทำให้จำเลยต้องทวงหนี้หรือฟ้องร้องลูกค้าที่มาขอเบิกเงินดังกล่าวเอง

ต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากการ

เป็นลูกจ้างของจำเลย โดยจำเลยไม่เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ก่อน

พิเคราะห์แล้ว ปัญหาข้อแรกที่จำเลยอุทธรณ์มีว่า โจทก์ทุจริตต่อ

หน้าที่หรือไม่เห็นว่าการที่โจทก์อนุมัติให้จ่ายเงินสดแก่ลูกค้าผู้ถือบัตร

เครดิตขวัญนครที่มาขอเบิกเงินโดยโจทก์มิได้รับประโยชน์หรือ

เรียกร้องเอาผลประโยชน์จากการอนุมัติ ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการอนุมัติ

ไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ควบคุมดูแล

พนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ให้ส่งใบเบิกไปให้ส่วนบัตรเครดิต

สำนักงานใหญ่ในวันรุ่งขึ้นตามระเบียบของจำเลยจึงถือได้แต่เพียงว่า

เป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อเท่านั้น หาใช่เป็น

การทุจริตต่อหน้าที่อย่างใดไม่ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาข้อที่สองมีว่า การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและ

ประมาทเลินเล่อดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้นทำให้จำเลยได้รับความ

เสียหายร้ายแรงและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ

ทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่า จำนวนเงินที่โจทก์อนุมัติ

ให้จ่ายแก่ลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตขวัญนครมาขอเบิกตามฟ้อง แม้จำเลย

จะเรียกเก็บจากธนาคารที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตมาขอเบิกไม่ได้

เนื่องจากล่วงเลยเวลากว่า 120 วันแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่

จะทวงถามหรือฟ้องบังคับเอาแก่ลูกค้าผู้มาขอเบิกได้การปฏิบัติ

หน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อของโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่พอที่

จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบ

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงดังที่จำเลยอุทธรณ์

ปัญหาข้อที่สามมีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

หรือไม่เห็นว่าขณะเกิดเหตุโจทก์ทำงานตำแหน่งสมุห์บัญชีมีหน้าที่ดูแล

การเงินในสาขาของจำเลยการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและ

ประมาทเลินเล่อย่อมทำให้จำเลยเสียหาย แม้ความเสียหายดังกล่าว

จะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงดังได้

วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุ

สมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้าง

โจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาข้อสุดท้ายมีว่า

จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เห็นว่า สำหรับค่าเสียหายนั้น

เมื่อกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังได้

วินิจฉัยมาแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ส่วน

ค่าชดเชยนั้น จำเลยไม่ต้องวินิจฉัยรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ต่อ

เมื่อการเลิกจ้างเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง

การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 แต่การเลิกจ้างของจำเลยคดีนี้ไม่เข้า

ข้อยกเว้นดังกล่าว เพราะโจทก์เพียงแต่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ

เกี่ยวกับการทำงานไม่ถึงขั้นกรณีที่ร้ายแรง และจำเลยเลิกจ้าง

โจทก์โดยไม่ได้เตือนเป็นหนังสือก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระ

ทำผิดในประการอื่นอีก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์สำหรับ

ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อโจทก์มิได้หยุดพักผ่อนประจำปี

ตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับ

วันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามฟ้อง ส่วนเงินบำเหน็จนั้น ตาม

ระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จ เอกสารหมาย ล.3 กำหนดว่า จำเลย

ไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์เฉพาะกรณีที่โจทก์ต้องออกจากงาน

ตามข้อ 5.1 และข้อ 5.2 กล่าวคือ ข้อ 5.1 ออกโดยมีเวลาทำงานไม่ครบ

10 ปี ข้อ 5.2.1 กระทำการทุจริตหรือแนะช่องทางหรือสมรู้ร่วมคิด

กระทำการทุจริต5.2.2 ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีพฤติการณ์ไม่น่า

ไว้วางใจ 5.2.3 ปฏิบัติงานโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุ

ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของธนาคารอย่างร้ายแรง

5.2.4 จงใจขัดคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชา ฝ่าฝืนระเบียบวินัย

เกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน มีหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องคำพิพากษาให้

จำคุกในความผิดซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำ

โดยประมาท แต่การกระทำของโจทก์ตามที่ได้วินิจฉัยมาเป็นเรื่องที่

โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่ออันไม่ทำให้จำเลยได้

รับความเสียหายร้ายแรง จึงไม่เข้ากรณีที่จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ

ให้แก่โจทก์ตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามระเบียบว่า

ด้วยเงินบำเหน็จที่กล่าวแล้ว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้อง

จ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ สรุปแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟ้งขึ้นเป็นบางส่วน"

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างที่ไม่

เป็นธรรมให้แก่โจทก์นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

(พิมล สมานิตย์ - อัมพร ทองประยูร - อำนวย หมวดเมือง)

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-12-30 22:04:56 IP : 58.136.0.135


ความคิดเห็นที่ 3 (2891947)

อยากได้คำปรึกษา ค่ะ

ข้อมูลตามด้านล่างนี้ค่ะ

ชั่วเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ นายสมเดชลูกจ้างระดับธรรมดาคนหนึ่งก็มีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากลูกจ้างอื่นถึงสองครา สามวันที่แล้ว ได้พาลูกจ้างสี่คนบุก (เข้าหาโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก เลขานุการ) ไปพบกรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อร้องเรียนว่าลูกจ้างทั้งสี่คนทำงานล่วงเวลาแล้ว แต่ฝ่ายการเงินไม่ยอมจ่ายค่าล่วงเวลาให้

เมื่อวานนี้ ได้เขียนหนังสือขึ้นฉบับหนึ่งเรียกร้องว่า “ให้บริษัทจัดตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบผู้แทนบริษัท 4 คน ผู้แทนลูกจ้าง 8 คน ให้  คณะกรรมการนี้ประชุมหารือเรื่องราวและปัญหาต่างๆ เดือนละครั้ง” แล้วนำหนังสือนั้นไปใส่ตู้รับความคิดเห็น (SUGGESTION BOX) ของบริษัทที่ประชุมกรรมการบริษัทพิจารณาหนังสือข้างต้นแล้ว ต่างมีความเห็นผิดแผกกันไป บ้างให้ทำตามหนังสือเรียกร้องนั้น บ้างก็ว่าเป็นเรื่องไร้สาระไม่ต้องสนใจใด ๆ บ้างให้เรียกนายสมเดชมาตักเตือนให้ลดความวุ่นวายบ้างก็ว่าพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ ให้หัวหน้างานจับตาและคอยควบคุม บ้างก็ว่าให้ออกหนังสือเตือนบ้างให้ย้ายไปสาขาที่ห่างไกล  และบ้างก็ให้ตัดไฟแต่ต้นลม โดยเลิกจ้างไปแต่จ่ายค่าชดเชยอยากรู้ว่าพฤติกรรมและตัดสินใจดำเนินการต่อนายสมเดช เป็นอย่างไร

 

ผู้แสดงความคิดเห็น กบ วันที่ตอบ 2008-08-14 17:34:21 IP : 124.120.146.33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.