ReadyPlanet.com


ถูกยึด ใบน.ส.3 โดยไม่ได้ทำตามแบบจำนอง


นำใบ น.ส.3 ไปจำนองไว้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือแต่ให้ผู้รับจำนองยึดใบ น.ส.3ไว้ประมาณ 10 กว่าปีแล้วเมื่อขอไถ่คืนผู้รับจำนองไม่ยอมคืน น.ส.3 แล้วเพิ่งมาแสดงเจตนาที่จะครอบครอง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผู้จำนองอนุญาตให้ทำกินในที่นั้นแทนดอกเบี้ยอยู่แล้ว ขณะนี้ผู้รับจำนองได้ตายไปแล้วโดยยังไม่ได้ไปดำเนินการตามขั้นตอนการครอบครองปรปักษ์แต่อย่างใด    ต่อมาบุตรของผู้ตายได้แสดงเจตนาที่จะยึดถือที่ดินนั้นเป็นของตนโดยไม่ยอมรับการไถ่จำนองแต่อย่างใด      อยากถามว่าผู้จำนองจะดำเนินการอย่างใดถึงจะได้ที่ดินที่มี น.ส.3 นั้คืนมา     ขอบพระคุณมากค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ น้ำหวาน :: วันที่ลงประกาศ 2006-07-14 15:26:17 IP : 210.1.7.12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (539263)

การนำ น.ส.๓ ไป ไว้แก่เจ้าหนี้ โดยไม่ได้ จดทะเบียน จำนอง ต่อ เจ้าพนักงานที่ดิน นั้น ไม่ถือว่าเป็นการจำนอง นะครับ เป็นการนำเอา เอกสารที่ดินไปเป็นประกันเงิน***้ เฉยๆ

ถ้าหากว่า กรณีของคุณ ไม่มีการจดทะเบียน จำนอง ที่ดิน ต่อ เจ้าพนักงานที่ดิน ก็ไม่ถือว่าเป็นการจำนองกันตามกฎหมายครับ

กรณีตามคำถาม ตอนนี้ ควรจะตรวจสอบ กับ ทางสำนักงานที่ดินก่อนครับ ว่า น.ส.๓ ดังกล่าว ได้มีการเปลี่ยนชื่อไปหรือยัง หรือว่า มีการจดทะเบียน จำนอง ไว้หรือไม่

หาก ไม่มีการจดทะเบียน จำนอง , และไม่มีการเปลี่ยนชื่อ ก็ ถือว่าที่ดินยังเป็นสิทธิของผู้จำนองอยู่

ถ้าหาก ผู้จำนองต้องการไถ่ถอนที่ดินที่จำนอง ก็สามารถทำได้ โดยการนำเงินไปวาง ที่สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งตั้งอยู่ ที่ สำนักงานบังคับคดี ครับ ต้องนำสัญญา***้ หรือสัญญาจำนองที่เกี่ยวข้องไปด้วย  หาก มีการวางทรัพย์ แล้ว ถือว่า ทางลูกหนี้ได้ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว และหากทางเจ้าหนี้ไม่ยอมให้ไถ่ถอน จอนอง เจ้าพนักงานวางทรัพย์ ก็จะดำเนินคดีไปตามกฎหมายครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข ๐๒๖๙๓๓๓๓๑-๒ วันที่ตอบ 2006-07-14 21:19:29 IP : 58.136.8.97


ความคิดเห็นที่ 2 (539795)

ขออนุญาตแสดงความเห็นอีกมุมหนึ่งต่างจากคุณปมุข......

-กรณีที่เล่ามาน่าจะป็นการจำนองที่ดินตามแบบความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไป...ซึ่งในแถบชนบทหลายแห่งมักเรียกว่าเป็นการ "จำนำที่ดิน"  คือการเอาเอกสารสิทธิ์ของตนไปไว้กับนายทุนและให้นายทุนทำประโยชน์ในที่ดินของตนเสมือนเป็นค่าดอกเบี้ย..........เมื่อถึงกำหนดเจ้าของที่ดินก็นำเงินไปไถ่คืน.....ซึ่งมักใช้กันแพร่หลายในแถบชนบททั่วๆไป...ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้วไม่มีบทกฎหมายรองรับในการกระทำดังกล่าวนี้แต่อย่างใด.....คือไม่ใช่ทั้งการจำนำและการจำนอง.....แต่เท่าที่ประสบมามักไม่มีปัญหาแต่อย่างใด...เมื่อเจ้าของทั่ดินนำเงินไปใช้หนี้คืน...นายทุนก็มอบที่ดินให้เจ้าของพร้อมเอกสารสิทธิ์ที่ยึดไว้คืนเรื่องการจบ.....ส่วนมากมักไม่มีการทำสัญญาใดๆก็ถือปฏิบัติสืบกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้.....

-กรณีของคุณสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นทำนองเดียวดังที่ผมกล่าวข้างต้น......ถ้าว่ากันตามกฎหมายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เป็น  นส.เจ้าของเพียงเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง...ถ้าถูกผู้อื่นยึดครองเพื่อตน(แย่งการครอบครอง)หากไม่มีการโต้แย้งคือฟ้องร้องภายใน 1 ปี  อาจหมดอำนาจฟ้อง.( ป.แพ่งฯม.1375)..และต้องสูญเสียที่ดินไปอย่างง่ายดาย

-คำแนะนำ..ให้คุณหาทางติดต่อกับทายาทผู้รับจำนองเพื่อขอไถ่ที่ดินคืน...หากเขาไม่ยินยอมให้ไถ่คืน..ให้ปฏิบัติตามที่คุณปมุขแนะนำ......แต่ถ้าหากเป็นการจำนองแบบชาวบ้านตามที่ผมกล่าวถึงคุณต้องรีบฟ้องภายในอายุความ 1 ปีนับตั้งแต่เขาแสดงเจตนาว่า..เขาจะครอบครองเพื่อตน.....คุณต้องไปตรวจสอบที่สำนักที่ดินว่ามีการที่ดินแปลงนี้มีการจำนองถูกต้องหรือไม่....ถ้าเป็นการจำนองแบบชาวบ้านต้องรีบโต้แย้งภายในอายุความ 1 ปีครับ....เรื่องการครอบครองปรปักษ์เขาไม่สามารถทำได้เพราะการครอบครองปรปักษ์ใช้ในกรณีที่ที่ดินนั้นเป็นโฉนดที่ดินครับ.....

-ต้องไม่สับสนว่าความเห็นของผมกับของคุณปมุขไม่ได้ขัดแย้งกัน...แต่เป็นคนละมุมมองเท่านั้น....ถ้าจำนองโดยชอบ--ต้องดำเนินการตามที่คุณปมุขแนะนำนั้นชอบแล้ว......แต่ถ้าเป็นการจำนองแบบชาวบ้านตามที่ผมประสบมา....ก็ต้องดำเนินการตามที่ผมแนะนำครับ.....ขอให้โชคดี

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2006-07-15 17:20:29 IP : 203.113.57.38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.