ReadyPlanet.com


อยากถามว่าการขอผัดฟ้องในคดีเด็กและเยาวชนนั้นเป็นอย่างไร อยากให้อธิบายให้ฟังหน่อย


อยากถามว่าการขอผัดฟ้องในคดีเด็กและเยาวชนนั้นเป็นอย่างไร อยากให้อธิบายให้ฟังหน่อย และอยากถามว่าอนุญาโตตุลาการคืออะไร ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยนะค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ นัท :: วันที่ลงประกาศ 2006-04-18 17:20:55 IP : 203.209.117.229


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (447612)

(ขอตอบอีกครั้งนะ จากกระทู้เดิม)

การผัดฟ้องคดีเด็กฯ เมื่อจับกุมเด็กแล้ว  ตำรวจต้องส่งตัวเด็กไปที่สถานพินิจฯ และรีบสอบสวน และส่งสำนวนการ สอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการ เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนฯ ภายใน 30วัน นับแต่วันที่เด็กถูกจับกุม

กรณีที่เป็นความผิดซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินห้าปี หากยื่นฟ้องไม่ทัน 30 วัน ต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน แต่ได้ไม่เกินสองครั้ง

 

กรณีเป็นความผิดซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกเกินห้าปี ถ้าศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสองครั้งแล้ว มีสิทธิขอผัดฟ้องต่อไปอีก โดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้อีก ครั้งละไม่เกิน 50 วัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้ง

 

(ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534)

 

ส่วนการขอประกันตัว สามารถทำได้ตั้งแต่ชั้นจับกุมเลย ..โดยทำกับสถานพินิจฯ นะ

 

....................................

 

ส่วนอนุญาโตตุลการ

 

อนุญาโตตุลาการ หมายถึง บุคคลที่สามที่มีอำนาจในการกำกับให้เกิดข้อยุติ โดยผู้เป็นอนุญาโตตุลาการจะมีกี่คนหรือมาจากไหน ต้องแล้วแต่คู่สัญญาจะตกลงกัน และอนุญาโตตุลาการมีอำนาจมากน้อยแล้วแต่จะกำหนดและตกลงโดยคู่เจรจา ปัจจุบันประเทศไทย มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ อนุญาโตตุลาการ คือ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530

 

หลักสำคัญของ กฎหมายนี้ คือ

 

1 คู่สัญญาที่ตกลงให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ เพื่อชี้ขาดข้อพิพาทของสัญญาของตนเอง ต้องยอมรับผลแห่งการชี้ขาดนั้นๆ  จะคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ไม่ได้ (มาตรา 21 และ มาตรา 22)

 

2 (มาตรา 23)  ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาด ห้ามมิให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้น

เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจและศาลได้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น คำร้องขอนี้ให้ยื่นภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีแล้ว

เมื่อศาลได้รับคำร้องขอแล้ว จะรีบทำการไต่สวนและมีคำพิพากษาโดยด่วน ทั้งนี้ และต้องให้คู่กรณีฝ่าย

ที่จะถูกบังคับมีโอกาสคัดค้านก่อน

 

3 (มาตรา 24)  ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้น หรือเป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำ หรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือคำขอของคู่กรณีให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้น

 

ใช่ที่ต้องการไหมนะ


 

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-04-18 21:45:21 IP : 203.153.175.55



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.