ReadyPlanet.com


ความระงับของการจำนำ ม.769(2)


ท่านคิดอย่างไรกับการระงับของการจำนำ ตามมาตรา  769 (2)การจำนำระงับเมื่อ ทรัพย์จำนำกลับคืนสู่ความครอบครองของผู้จำนำ


ผู้ตั้งกระทู้ นศ.นิติศาสตร์ :: วันที่ลงประกาศ 2006-05-01 21:09:35 IP : 58.9.186.159


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (458910)

ก่อนอื่นขอนำกฎหมายเต็มๆ มาว่ากันนะ ..

 

“มาตรา 769  อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป

          (1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่นมิใช่เพราะอายุความ หรือ

          (2) เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ”

 

หัวใจของกฎหมายเรื่องการจำนำ คำนึงถึงการครอบครองทรัพย์มาก ไม่เหมือนกับการจำนอง ที่การครอบครองยังอยู่ที่ผู้จำนอง .. นั่นเพราะลักษณะของทรัพย์ที่สามารถนำไปจำนำ และจำนอง ต่างกัน ..ทรัพย์ที่จำนำได้ ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ เคลื่อนที่ได้ เปลี่ยนการครอบครองได้ง่าย .. ดังนั้น กฎหมายจำนำจึงกำหนดให้ สัญญาจำนำ ระงับ เมื่อ “ตัวผู้รับจำนำ” ยินยอม ปล่อยทรัพย์จำนำ ให้กลับไปสู่การครอบครองของ “ผู้จำนำ” ..

 

ขอเน้นว่า ... ต้องเป็นความยินยอมของผู้รับจำนำเท่านั้นนะ .. หากเป็นกรณีที่ผู้รับจำนำไม่ยินยอม .. เช่น ผู้จำนำ ไปขโมยทรัพย์กลับมา .. สัญญาจำนำไม่ระงับ เพราะผู้รับจำนำไม่ได้ยินยอม แต่ถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย .. ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ..

 

ขอแสดงความเห็นว่า .. เห็นด้วยกับตัวบทกฎหมายนี้แล้ว ..

 

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-05-01 21:41:10 IP : 203.172.55.203


ความคิดเห็นที่ 2 (459488)
ดิฉันว่ามันไม่ยุติธรรมกับผู้รับจำนำนะคะ (ม.769(2) )ถ้าสมมุติว่าผู้รับจำนำคืนทรัพย์จำนำให้  เพราะอยากให้ผู้จำนำมีเครื่องมือทำมาหากินต่อไป  ในกรณีจำนำเครื่องมือทำมาหากิน  กฏหมายไทยน่าจะคิดถึงหลักศีลธรรมอีกนิด
ผู้แสดงความคิดเห็น ปลา วันที่ตอบ 2006-05-02 14:09:59 IP : 203.146.119.241


ความคิดเห็นที่ 3 (459848)

ในความเห็นของคุณปลา .. ก็น่าคิด

แต่ขอแสดงความเห็นส่วนนี้ว่า.. หากเป็นกรณีของคุณปลา ก็ถือว่า ไม่ถือเป็นการจำนำ .. ซึ่งจะไปเข้าเรื่องของ การ***้ยืมเงิน ธรรมดา โดยผู้ให้***้จะไม่มีหลักประกันอะไรยึดถือไว้

ดังนั้น ผู้ให้เงิน***้ ก็ต้องลองพิจารณาดูเอาเองว่า ต้องการทรัพย์หลักประกันยึดไว้ในกรณีลูกหนี้ผิดนัดหรือไม่ ..

เพราะการจำนำ ทำให้ผู้รับจำนำได้สิ่งที่กฎหมายเรียกว่า บุริมสิทธิเหนือทรัพย์ที่จำนำ .. ในการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในทรัพย์จำนำนั้นๆ ก่อนเจ้าหนี้อื่น ..

นิเอง เป็นจุดที่ทำให้เป็นหลักกฎหมายจำนำ ต่างจากการให้***้ยืมเงินธรรมดา ..

กฎหมายลักษณะจำนำ ไม่ได้ ไม่คำนึงถึงหลักศีลธรรมนะ .. แต่เป็นเรื่องของการที่ผู้ให้***้ ต้องการสิ่งที่ยึดถือไว้ หากผู้***้ผิดนัด

กฎหมายจำนำ หรือ ***้ยืมเงิน หรือสัญญาอื่นใด ก็ตาม ถือเป็นข้อตกลงทางแพ่ง หมายถึงว่า คู่สัญญามีสิทธิที่จะแสดงเจตนาในการทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งหาก คู่สัญญาฝ่ายใดเห็นว่า เสี่ยงเกินไปกับการนำทรัยพ์ไปจำนำ .. ก็ไม่ควรทำสํญญา .. เพราะหากมองในด้านของเจ้าหนี้หรือผู้ให้***้ ย่อมต้องการความมั่นคงบางอย่างหากตกลงให้***้ยืมเงิน ..

 

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-05-02 21:58:57 IP : 203.153.172.169


ความคิดเห็นที่ 4 (460357)
เรียน   ท่านผู้แสดงความคิดเห็น เนื่องจากวันนี้ตัวผู้ตั้งกระทู้เอง  จะต้องทำการพรีเซนต์เรื่องความระงับของการจำนำ  จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ท่าน  ช่วยชี้แนะแนวทางและเนื้อหาในการนำเสนอ   จักขอบคุณยิ่ง
ผู้แสดงความคิดเห็น นศ.นิติศาสตร์ วันที่ตอบ 2006-05-03 12:30:49 IP : 58.9.190.5



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.