ReadyPlanet.com


สัญญาจะซื้อจะขาย


ทำสัญญาซื้อขายบ้านโดยผู้ซื้อเป็นผู้ออกค่าโอนแต่พอวันโอนปรากฎว่ามีค่าภาษีเฉพาะธุรกิจของผู้ขายด้วยซึ่งผู้ซื้อไม่ได้ตกลงด้วยเพราะผู้ขายไม่ได้บอกว่าจะต้องออกค่าภาษีธุรกิจเฉพาะของตนให้ด้วยซึ่งผู้ซื้อเข้าใจว่าเฉพาะที่เกี่ยวกับค่าโอนบ้านเท่านั้นจึงได้เซ็นต์สัญญาไปซึ่งถ้าผู้ซื้อได้รู้ก่อนก็คงจะไม่ได้ทำสัญญาฉบับนี้ขึ้นซึ่งค่าภาษีเฉพาะธุรกิจของผู้ขายนั้นสูงมากตั้ง80,000กว่าบาทซึ่งเราไม่ได้ตกลงจะออกให้เพราะผู้ซื้อเองก็เข้าใจว่าสัญญานั้นเหมือนกับฉบับก่อนที่ว่าค่าภาษีทุกชนิด(ซึ่งผู้ซื้อเข้าใจว่าเกี่ยวกับค่าโอนที่เกี่ยวกับบ้านเท่านั้น)แต่ฉบับก่อนไม่มีปัญหาเพราะผู้ขายเป็นผู้ออกแต่พอมาฉบับนี้มารู้ความจริงตอนวันโอนที่ใบเสร็จที่ที่ดินออกให้เราเลยกับมาดูที่สัญญาปรากฎว่าในสัญญาใหม่นี้เขียนว่าค่าภาษีทุกชนิดที่เกิดจากการทำสัญญาซื้อขายเหตุการณ์เป็นอย่างนี้จะมีวิธีใดที่จะไม่ต้องจ่ายในส่วนที่เราไม่ได้ตกลงได้หรือไม่เพราะว่าสัญญาอีกฉบับกำลังจะถึงกำหนดโอนแล้วในเดือนมีนาคมนี้เพราะการที่ผู้ขายทำเช่นนี้เหมือนกับปกปิดข้อความจริงกับผู้ซื้อทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในตัวสัญญาและไม่ยอมบอกตั้งแต่ต้นว่าเราต้องจ่ายให้กับเขาด้วยซึ่งตามความเป็นจริงเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องออกส่วนนี้จะบอกว่าเป็นความประมาทเลินเลอของตัวผู้ซื้อเองนั้นก็คงจะไม่ถูกเสียที่เดียวเพราะผู้ซื้อก็เข้าใจไปตามที่กล่าวมาแล้วนั้นเองซึ่งผู้ขายไม่ยอมปริปากบอกแม้แต่น้อยแล้วจะเป็นฉ้อโกงได้หรือไม่ค่ะเพราะผู้ซื้อรายอื่นเท่าที่คุยกันก็โดนแบบเดียวกันซึ่งจะมารู้ความจริงก็ตอนวันที่ได้ใบเสร็จจากที่ดินแล้วถ้าไม่มีกรณีตัวอย่างให้กับคนแบบนี้บ้างก็คงจะหาผลกำไรจากช่องว่างทางกฎหมายและความไม่รู้ของประชาชนคนอื่นอีกไปเรื่อยๆเลยอยากขอความกรุณาท่านช่วยหาทางออกให้หน่อยค่ะถ้าไม่มีทางออกก็จะได้เรียนรู้ไว้เป็นอุทธาหรณ์จึงรบกวนท่านให้ความรู้ในส่วนนี้กับดิฉันด้วยจะเป็นความกรุณาอย่างสูงที่ช่วยไขข้อข้องใจให้ขอบคุณค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ บัวหลวง :: วันที่ลงประกาศ 2006-03-11 13:42:53 IP : 203.153.174.190


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (413932)

กฎหมายกำหนดว่า

๑.การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ

แต่หากเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของคุณเอง คุณจะถือเอาความสำคัญผิดมาเป็นประโยชน์แก่ตัวคุณไม่ได้

๒.การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ  แต่กลฉ้อฉล จะต้องถึงมากขนาดที่หากไม่มีกลฉ้อฉล และคุณจะทำนิติกรรมนั้น

 

กรณีของคุณ เท่าที่อ่านข้อเท็จจริงมาก็คือ คุณได้มีโอกาสอ่านสัญญาฉบับนั้นแล้ว และตกลงเซ็นต์สัญญาจะซื้อจะขาย .. จึงถือเป็นความประมาทของคุณ .. ซึ่งไม่น่าจะถึงกับเป็นความประมาทร้ายแรง เพราะสัญญาครั้งก่อนๆ .. คุณไม่ได้เป็นฝ่ายเสียภาษีใดๆ เลย .. สัญญาน่าจะเป็นโมฆะ ซึ่งคุณยกขึ้นต่อสู้ว่าสัญญา ไม่ผูกพันคุณได้ .. หรือคุณอาจต่อสู้ว่า เหตุที่เซ็นต์สัญญา เพราะครั้งก่อนๆ คุณก็ไม่เคยเสียภาษีใดๆ เลย และการที่ยินยอมเซ็นต์ ก็เพราะอีกฝ่าย ใช้วิธีการหลอกล่อให้คุณรีบๆ เซ็นต์สัญญา .. ซึ่งถือว่าคุณโดนกลฉ้อฉลของอีกฝ่าย และคุณก็มีอำนาจบอกล้างสัญญาได้

 

โมฆะ หมายถึง ไม่เคยมีนิติกรรมนั้นเกิดขึ้นเลย คู่สัญญากลับสู่สถานะเดิม ได้เงินอะไรมา ก็ต้องคืนเขาไป

โมฆียะ หมายถึง นิติกรรมที่ไม่สมบูรณื ต้องมีการบอกล้าง(บอกหรือแสดงเจตนายกเลิก) แล้วคู่สัญญาก็จะกลับไปสู่สถานะเดิมเช่นกัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-03-11 22:19:39 IP : 203.153.174.124



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.