ReadyPlanet.com


ทำไมบางคดี


ทำไมบางคดีไม่ต้องมีพยาน หลักฐาน  ศาลดูแค่ว่าไม่เคยมีค.แค้นต่อกันมาก่อน  แล้วฟังผู้เสียหายเป็นหลัก  คดีหนักๆ  เช่น ฆ่าคนตาย  รุมโทรม  จะใช้หลักนี้ไหม



ผู้ตั้งกระทู้ ระฆัง :: วันที่ลงประกาศ 2006-09-20 00:30:22 IP : 61.47.70.63


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (628566)

คดีอาญา ไม่ว่าข้อหาอะไร .. ศาลจำต้องรับฟังพยานหลักฐานทั้งนั้นนะ .. โดยอาจเป็นพยานเอกสาร พยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ(รายงานแพทย์ รายงานการตรวจพยานต่างๆ) หรือพยานวัตถุ ..

โดยปกติ พยานที่สำคัญที่สุด คือ พยานบุคคล เช่น ผู้เสียหาย ผู้เห็นหรืออยู่ด้วยในเหตุการณ์ ผู้เกี่ยวข้องหลังเกิดเหตุ เช่น เป็นผู้นำส่งผู้เสียหายไปโรงพยาบาล .. แต่พยานอื่นๆ ก็สำคัญเช่นกัน

พยานบางอย่างก็รับฟังลงโทษจำเลยทันทีไม่ได้ เช่นคำรับสารภาพชั้นจับกุม หรือคำซํดทอดของคู่คดีด้วยกัน .. แต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับไม่ให้รับฟังนะ .. หมายถึงว่า พยานที่บอกมานี้มีน้ำหนักน้อยมากๆ จะรับฟังแค่นี้ลงโทษเลยไม่ได้ แต่สามารถนำมารับฟังประกอบพยานอื่นๆที่สำคัญได้นะ ..

ซึ่งศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดที่โจทก์นำมาสืบ แล้วจึงวินิจฉัยว่าจำเลยเกี่ยวข้องหรือไม่ และมีความผิดหรือไม่

ที่คุณถามมานะ .. เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของการรับฟังพยานหลักฐานเท่านั้น หากต้องการเข้าใจเหตุผลจริงๆ ก็ต้องอ่านคำพิพากษาทั้งหมดก่อนนะ แล้วจึงเข้าใจว่า ศาลใช้พยานอะไรมาเป้นตัววินิจฉัยคดี ..

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-09-20 21:26:37 IP : 203.153.175.69


ความคิดเห็นที่ 2 (628843)
คำซัดทอดของคู่คดีใช่คำให้การของผู้เสียหายหรือไม่ เคยได้ยินผู้เสียหายมีค.น่าเชื่อถือปากเดียวก็เอาผิดจำเลยได้ใช่หรือไม่ครับ  ช่วยตอบทั้ง 2 อย่างหน่อยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ระฆัง วันที่ตอบ 2006-09-21 05:15:52 IP : 61.47.68.99


ความคิดเห็นที่ 3 (630077)

ข้อ ๑. "คำซัดทอดของคู่คดี" .. หมายถึง คำให้การที่ซัดทอดความผิดกันเองระหว่างผู้กระทำผิดด้วยกัน .. เช่น ก. และ ข. ถูกจับข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกาย ก. ให้การว่า ตัวเองไม่เกี่ยวข้องแค่ขับรถไปกับ ข. โดย ข. เป็นผู้ลงมือชกต่อยคนเดียว .. เช่นนี้คำให้การของ ก. ถือเป็นคำซัดทอดว่า ข. มีความผิด

ตามกฎหมายพยาน ถือว่า มีน้ำหนักน้อยมาก ไม่อาจรับฟังลำพังเพื่อลงโทษ ข.

ข้อ ๒. คำให้การหรือคำเบิกความของผู้เสียหายเพียงปากเดียว ก็อาจมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังลงโทษจะเลยได้ .. ถูกต้องแล้วนะ .. โดยศาลจะต้องชั่งน้ำหนักว่า ผู้เสียหายเบิกความน่าเชื่อถือไหม เช่น โอกาสที่ผู้เสียหายสามารถจดจำจำเลยได้อย่างแม่นยำมีไหม ผู้เสียหายไม่มีเหตุโกรธเคืองจำเลยมาก่อน หรือผู้เสียหายให้การกับตำรวจทันทีหลังเกิดเหตุระบุจำเลยเป็นคนร้าย เป็นต้น ..

แต่ก็มีบางกรณีที่ ผู้เสียหายเพียงปากเดียว ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้ ก็คือในทางกลับกัน .. เช่น ศาลฟังว่า ขณะเกิดเหตุมืดมาก ไม่มีแสงใดๆ ผู้เสียหายไม่น่าจะเห็นหน้าจำเลยได้ หรือผู้เสียหายกับจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันมาก่อน .. หรือ ทิ้งเรื่องไว้เป็นเวลานาน จึงไปแจ้งเหตุกับตำรวจ ..

อย่างที่ให้ความเห็นมานะ .. ว่า ศาลจะพิจารณาพยานหลักฐานโดยรวมที่โจทก์นำมาสืบ โดยเฉพาะคดีอาญา ศาลมีหน้าที่ต้องรับฟังโดยปราศจากข้อสงสัย จึงจะลงโทษจำเลยได้ .. หากยังมีข้อสงสัยอันสมควรว่าจำเลยทำผิดหรือไม่ ศาลมักจะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลยไปก่อน คือยกฟ้อง

ตามหลักภาษิตที่ว่า ปล่อยคนผิดไปร้อยคน ดีกว่าลงโทษจำคุกคนถูกเพียงคนเดียว ..

แต่ก็อย่าตกใจไปนะ .. นอกจากศาลชั้นต้นแล้ว ประเทศไทย ยังมีศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา อีกนะ หากไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาได้อยู่เสมอนะ ..

ใช่ที่ต้องการไหมนะ

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-09-21 22:09:38 IP : 203.153.170.111


ความคิดเห็นที่ 4 (630300)

กรณีผู้เสียหายถูกข่มขู่ละครับ  เคยได้ยินโดนข่มขืนนานหลายปีแล้วมีคนพาไปแจ้งความทำไมยังจับได้  ทั้งที่ไม่มีร่องรอยการข่มขืน และมีผู้รู้เห็นเหตูการณ์คนเดียว(ผู้เสียหาย)

ผู้แสดงความคิดเห็น ระฆัง วันที่ตอบ 2006-09-22 02:25:08 IP : 61.47.66.130


ความคิดเห็นที่ 5 (631515)

อย่างที่บอกไปแล้วนะ .. ว่า การพิจารณาชั่งน้ำหนักพยาน ย่อมเป็นไปตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา .. กรณีที่คุณถามมา มันก็ไม่แน่เสมอไป แม้จะมีแค่ผู้เสียหายเพียงคนเดียว เป็นพยานยืนยันว่าโดนข่มขืน จากนั้นก็ยังโดนข่มขู่ไม่ให้แจ้งความอีก .. ศาลอาจจะรับฟังลงโทษจำเลยก็เป็นได้ .. แต่ก็เป็นเรื่องยากเอาการเหมือนกันนะ ที่จะทำให้ศาลเชื่อจริงๆ เว้นแต่จะมีพยานอื่นๆ เช่น เพื่อนของผู้เสียหาย ที่จะมาเบิกความรับรองว่า หลังเกิดเหตุ ผู้เสียหายมีอาการซึมเศร้า หรือผิดปกติอะไรไปอย่างไรบ้าง หรือเช่น ถูกข่มขืนในโรงแรมม่านรูด .. เด็กโรงแรมอาจเห็นรถของคนร้ายขับพาเข้ามาหรือไม่ .. ซึ่งก็ไม่แน่นะ บางทีพยานหลักฐานสำคัญอื่นๆ อาจยังคงหลงเหลืออยู่อีกบ้าง ..

แต่ต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่งนะ ว่ากระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่มีแค่ศาล แต่ยังมีตำรวจ อัยการ อีก .. บางทีก็หละหลวมหรือขี้เกียจค้นหาพยานหลักฐาน เพื่อนำมาสู่ศาล .. และศาลก็เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งศาลก็ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่อัยการ หรือตำรวจ ส่งเข้าสำนวนคดี .. และก็มีบางที ที่ศาลรับฟังหรือใช้ดุลพินิจแบบผิดหลงไปบ้าง .. ไม่ได้โทษใครนะ แต่คงต้องยอมรับว่า เราไม่มีจั่นเจา และไม่มีเปาบุ้นจิ้น ดังนั้นจะให้ทุกอย่างเป็นเหมือนหนังคงไม่ได้ .. ขอให้คิดว่า ทุกคนในกระบวนการยุติธรรม พยายามอย่างเต็มที่ที่จะช่วยเหลือ ผู้เสียหาย

ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร .. แต่ขอให้เชื่อว่า ทำดีต้องได้ดี ทำไม่ดี ไม่มีวันได้ดีนะ .. คนไม่ดี ย่อมต้องรับกรรมในสิ่งที่ตัวเองทำไปแน่นอนนะ

ผู้แสดงความคิดเห็น nor วันที่ตอบ 2006-09-22 21:55:24 IP : 203.153.175.5



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.