ReadyPlanet.com


เกี่ยวกับคดีวินัย


คำถาม         นายแดงเป็นข้าราชการ   ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่  ส่วนราชการตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย  ระหว่างสอบสวน  ทางราชการมีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน  เพื่อรอผลการสอบสวน  เมื่อการสอบสวนเสร็จแล้ว  คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นให้ไล่ออกจากราชการ  เนื่องจากมีหลักฐานว่าทุจริตต่อหน้าที่  ในระหว่างที่รอผลการวินิจฉัยตามรายงานการสอบสวน   นายแดงฟ้องศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งพักราชการ  และเพิกถอนความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนวินัย  ที่เสนอให้ไล่ออกจากราชการ  โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งไม่ชอบ

ขออนุญาตถามว่า        คำสั่งพักราชการและ  ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย  เป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่

ขอความกรุณาจากท่านได้โปรดตอบให้กระผมทราบตามประเด็นดังนี้

-          หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง,  -  ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับหลักกฎหมาย,   คำวินิจฉัย(ฟันธง)

ขอให้ท่านตอบให้ทราบตามอีเมล์      nusleo_4@hotmail.com      หรือ      tong.4.k.@chaiyo.com



ผู้ตั้งกระทู้ ส.ต.อ.ณัฐดนัย ขันบุตร :: วันที่ลงประกาศ 2006-08-15 14:12:54 IP : 203.151.140.122


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (588081)
เรื่องนี้คงต้องค้นเอกสารนานหน่อย  แต่ตอนนี้ขอตอบว่า คำสั่งพักราชการ เป็นคำสั่งทางปกครองครับ เพราะมีผลกระทบต่อผู้รับคำสั่งโดยตรง เป็นผลให้เกิดความเดือดร้อนเพราะอาจไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ส่วนความเห็นของคณะกรรมการสอบสวยทางวินัย ยังไม่เป็นคำสั่งทางปกครองครับ เพราะยังไม่มีการสั่งลงโทษ  หากผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษเมื่อใด ก็จะเป็นผลให้เป็นคำสั่งทางปกครองทันที เพราะทำให้เราเดือดร้อนตามข้างต้น เมื่อเราไม่เห็นด้วยกับความเห็น ก็ทำได้เพียงคัดค้านว่าเขาดำเนินการสอบสวนไปโดยผิดระเบียบว่าด้วยการสอบสวนทางวินัย (ต้องดูระเบียบของตำรวจนะครับ) ถ้าเขาสอบสวนผิดไปจากระเบียบ เช่น ไม่แจ้งให้เราทราบข้อกล่าวหา หรือไม่ให้โอกาสเราต่อสู้ข้อกล่าวหา ก็จะเป็นผลให้การสอบสวนนั้นไม่ชอบ เขาต้องทำการเริ่มสอบสวนใหม่ครับ  หากจะฟ้องศาลปกครองเราจะต้องอุทธรณ์ต่อผู้ออกคำสั่งก่อนนะครับ พอเขาไม่ตอบอุทธรณ์ หรือตอบไม่เป็นที่พอใจ เราถึงฟ้องได้ครับ โดยศาลจะพิจารณากฎ ระเบียบ เอกสารการทำสำนวน คำฟ้อง และคำให้การเป็นสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ศาลจะให้ส่งเอกสารหรือให้เราตอบเป็นหนังสือแก้คำให้การภายในกำหนดเวลา เราไม่ต้องไปให้การเอง  ทั้งนี้โดยส่วนตัวแล้ว เห็นว่าการจะทำให้สำนวนการสอบสวนอ่อนลงเราคงต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวนวินัย ให้ได้ครับ ซึ่งก็เหนื่อยหน่อย เพราะโดยปกติแล้ว หากต้องวินัยฐานทุจริต จะทำให้สำนวนอ่อนก็คงทำได้แต่ให้เหลือเพียงบกพร่องต่อหน้าที่เท่านั้น  ถ้าจะให้หาหลักกฎหมายเพิ่มเติมก็ส่งเมล์มาสอบถามได้นะครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น นิติบริกร วันที่ตอบ 2006-08-22 15:39:42 IP : 125.24.0.89


ความคิดเห็นที่ 2 (3936028)
กรณีตำรวจ ตชด. ถูกคำสั่งให้พักราชการ และให้ออกจากราชการในข้อหาลักทรัพย์ ปี 2542 ผลคดี ไม่มีพยานยืนยันตามข้อกล่าวหาอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง และถูกคำสั่งไล่ออกกรณีถูกร้องเรียน ปี 2543 เซ็นคำสั่งรับทราบ ให้ออกและไล่ออกวันเดียวกัน พร้อมกัน ปี 2544 อุทธรณ์คำสั่งต่อ กตร. แต่ยื่นเกินไป 1วัน (31 วัน) โดยเหตุสุดวิสัยกระเป๋าใส่หนังสือยื่นอุทธรณ์ยิบสลับกับบุคคลอื่น แต่ กตร.ไม่รับอุทธรณ์ จึงยื่นฟ้องศาลปกครอง โดยอ้างเหตุสุดวิสัยฯ ผลศาลปกครองส่วนภูมิภาคยกฟ้องตาม กตร. ต่อมาได้ยื่นอุทธรณ์ต่อ ศาลปกครองสูงสุด ผล มีคำสั่งยืนตาม ศาลปกครองชั้นต้น เมื่อปี 2556 ต่อมา มกราคม 2559 ได้ยื่นขอเอกสารคำสั่งสอบสวนวินัยโดยใช้สิทธิ์ตาม พ.ร.บข่าวสาร ปรากฏว่าการสอบสวนผิดขั้นตอนไม่ชอบตามกฎ ก.พ.2540 จึงได้ยื่นเพิกถอนคำสั่ง แต่ บช.ตชด. ไม่วินิจฉัยเรื่องการสอบสวนผิดขั้นตอนแต่อ้างว่าการดำเนินทางวินัยจบสิ้นตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ยกฟ้องแล้ว ถูกต้องหรือไม่ 1.ถ้าฟ้องศาลปกครองเพื่อเพิกถอนคำสั่ง จะอ้างมาตราใด(ม 49- ม.53 )ว่าการสอบสวนผิดขั้นตอนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 นั้น ฟ้องซ้ำหรือไม่ 2.คำสั่งไล่ออกจากราชการ ตชด.อ้างต่อ สำนักนายก(พ.ร.บ.ข่าวสาร)ว่าไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเอกสารสูญหายอยู่ระหว่างตั้งกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริง สำนักนายกให้เวลา 30วัน ในการสืบสวนเพราะ ตชด.หาเอกสาร มา 2ปีแล้วถามว่า ยื่นเพิกถอนคำสั่งต่อ บช.ตชด.ว่า การสอบสวนผิดขั้นตอน ตาม กฎ กพ.2540 ได้หรือไม่ 3.เจ้าหน้าที่ไม่แจ้งสิทธิ์ในการอุทธรณ์คำสั่งให้พักราชการ เป็นการผิดขั้นตอนตามพ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน 2535 และกฎ กพ.2540 ได้หรือไม่
ผู้แสดงความคิดเห็น สมจิตร ส้มแป้น (jit_law_ram-at-hotmail-dot-con)วันที่ตอบ 2016-02-01 16:28:08 IP : 49.229.98.134



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.