ReadyPlanet.com


กรณีขับรถโดยประมาท คู่กรณีได้รับบาทเจ็ด


 สวีดดีค่ะ ขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ

คือขับรถยนต์มาทำงานตามปกติถนน6เลน ดิฉันขับมาบริเวณทางกลับรถ เพื่อที่จะข้ามไปถนนเส้นใน โดยมีการเปิดสัณญานไฟเลี้ยว และมีรถที่สวนมาเป็นรถกระบะ แต่รถกะบะชลอความเร็ว ดิฉันจึงขับรถเพื่อที่จะข้ามไป แต่มีรถมอเตอร์ไซต์ ที่อยู่หลังกะบะแซงขึ่นมาจึงมาชนกันรถของดิฉัน บริเวณด้านข้างของประตู ซึ่งดิฉันดูแล้วว่าไม่มีรถมอเตอร์ไซต์ คู่กรณีได้รับบาดเจ็บที่ข้อมือซ้ายกระดูกหัก เบื้องต้นดิฉันได้ไปดูแล และออกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น หลังจากนั้นได้ไกล่เกลี่ยที่สถานีตำรวจ จำนวน2ครั้ง ตำรวจชี้ว่าดิฉันประมาท คู่กรณีเรียบค่าเสียหายจำนวน150000บาท แต่ประกันให้ได้แค่ 78000บาท และดิฉันเพิ่มอีก26000บาท แต่คู่กรณีไม่พอใจ ทางตำรวจจึงให้เข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย ดิฉันอยากทราบว่า

1. การไกล่เกลี่ยในชั้นศาล มีขั้นตอนอย่างไรบ้างค่ะ คือการตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณีใช้ไหมค่ะ 

2.ประกันจะช่วยจัดการอย่างไรบ้าง ประกันชั้น1ค่ะ

3.ดิฉันรับข้าราชการจะมีผลเสียมั้ยค่ะ

ขอความกรุณาให้ความกระจ่างด้วยค่ะ ขอบคุณคะ



ผู้ตั้งกระทู้ มณีรัตน์ (nee_480-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2018-04-01 21:25:09 IP : 49.48.248.55


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4247165)

 อุบัติเหตุ

1. การไกล่เกลี่ยในชั้นศาล มีขั้นตอนอย่างไรบ้างค่ะ คือการตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณีใช้ไหมค่ะ 

ตอบ...ศาลคงให้ผู้ประนีประนอมของศาล  ดำเนินการไกล่เกลี่ย  ซึ่งวิธีการ ก็ไม่แตกต่างจากการ เจรจากันที่โรงพัก ก็สามารถเจรจาต่อรองเรื่องค่าเสียหายทางแพ่งได้ ตามความเหมาะสม   ถ้าตกลงกันได้  ก็ให้มีการทำสัญญาประนีประนอม  และศาลจะพิพากษาตามยอม...ส่วนความรับผิดทางอาญา (ถ้ามี) จะมีความผิดทางอาญาต้อง มีการบาดเจ็บสาหัส  เช่น เสียแขน เสียขา หรือรักษาเกินกว่า 20 วัน เป็นต้น จะมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี....(ปอ.ม.300)

2.ประกันจะช่วยจัดการอย่างไรบ้าง ประกันชั้น1ค่ะ

ตอบ...เงื่อนไขความรับผิดของประกัน  ต้องดูกรมธรรม์  หรือ สอบถามตัวแทนประกัน

3.ดิฉันรับข้าราชการจะมีผลเสียมั้ยค่ะ

ตอบ...ถ้าอัยการมีการฟ้องฐานประมาท  จนผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส  ตาม ปอ.ม.300  ถ้าให้การรับสารภาพแต่แรก  และมีการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งตามควร  ศาลคงปรานีลงโทษสถานเบา  น่าจะไม่ถูกจำคุก ตาม ปอ. ม.56 และ ม.78(ลองเปิดอ่านดูในเน็ต) ดังนั้นในการเจรจา ถ้า สามารถตกลงกันได้ด้วยดี  ย่อมมีผลต่อคดีอาญา  บางทีอาจต้องยอมรับภาระหนักที่หนักไปบ้าง เพื่อไม่ให้มีปัญหา  คือการลงโทษเป็นดุลยพินิจของศาล   ถ้าศาลให้ลงโทษจำคุกเพียง  1 เดือน(สมมุติ)  ย่อมส่งผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่  เพราะข้าราชการละทิ้งหน้าที่เกินกว่า 15 วันไม่ได้ จะหมดสภาพการเป็นข้ารชการ คือให้ออก...ตามความเห็น  ถ้ารับสารภาพ และยอมชดใช้ค่าเสียหายตามควร อาจไม่ถึงกับทำให้คู่กรณีพึงพอใจ  ศาลคงปรานีลงโทษสถานเบา  และถ้ามีการฟ้องศาล  ควรยื่นหลักฐาน  การประกอบคุณงามความดี ให้ศาลได้พิจารณา ในการบรรเทาโทษให้ เช่น การรับเครื่องราชฯ  คุณงามความดีที่ประจักษ์  มีผู้รับรอง เป็นต้น  น่าจะไม่ถูกจำคุก  แต่เรื่องดุลยพินิจของศาล  คงไปสรุปไม่ได้ว่า จะลงโทษอย่างไร  จึงต้องเตรียมการไว้เพื่อความไม่ประมาท.....คดีแบบนี้ ไม่ได้ร้ายแรงอะไรนัก   ถ้าสามารถเจรจากันได้ที่โรงพัก ตำรวจอาจไม่ส่งเรื่องให้อัการฟ้องศาลก็ได้ ลองขอให้ตำรวจเจรจากันอีกที ก็ได้...ถ้าคุณไม่เป็นข้าราชการ  คดีนี้แทบไม่มีปัญหาอะไร  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2018-04-02 08:40:19 IP : 101.51.151.138



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.