ReadyPlanet.com


"หนี้ที่เกิดจากทะเบียนสมรส" (แก้ไขข้อความค่ะ)


 ดิฉันอยากทราบเรื่องเกี่ยวกับการจดทะเบียนค่ะ คือเรื่องมีอยู่ว่า อาของดิฉันได้จดทะเบียนแต่งงานกับชายคนหนึ่งแล้ว วันหนึ่งเกิดแยกทางกัน แต่ไม่ได้จดทะเบียนอย่า แล้วชายคนนี้ก็ไปจดทะเบียนแต่งงานกับผู้หญิงอีกคน ไม่นานเขาได้ล้มตายไป และยังมีหนี้สินมากมายที่ยังไม่ได้ใช้  แต่ภรรยาที่เขาอยู่ด้วยในปัจจุบันนี้ไม่ยอมรับในหนี้สิน และบอกว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวเรื่องนี้ และบอกให้อาของดิฉันเป็นคนใช้หนี้แทนทุกอย่าง ดิฉันอยากทราบว่าเราควรจะทำอย่างไรดีค่ะ  และการจดทะเบียนสองครั้งเป็นการจดทะเบียนซ้ำใช่ใหม   เราต้องรับผิดชอบเรื่องนี้หรือเปล่าค่ะ ดิฉันอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้  ช่วยกรุณาตอบด้วยน่ะค่ะ ขอขอบพระคุณค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ หนูน้อยจอมซน 474302 :: วันที่ลงประกาศ 2007-06-10 17:29:52 IP : 202.5.89.60


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (997071)
ภรรยาคนหลังแม้จดทะเบียนซ้อน..ตามกฎหมายถือว่าเป็นโมฆะ    แต่เมื่อยังไม่มีคำสั่งศาลเพิกถอน  ถือว่าเขาเป็นภรรยาที่ถูกต้องอยู่   ดังนั้นหนี้สินของสามีเขายังรับผิดอยู่ในฐานะคู่สมรส    รวมทั้งอาของคุณด้วยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2007-06-11 20:40:20 IP : 125.26.106.151


ความคิดเห็นที่ 2 (1000475)
บอกไม่ได้ครับ ข้อเท็จจริง การก่อหนี้ไม่เพียงพอ แต่ข้อแรก ก็บอกก่อนว่า ไม่จ่าย (กรณีจะจ่ายต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น อาร์ท สรัญญู วันที่ตอบ 2007-06-13 21:20:07 IP : 202.5.89.60


ความคิดเห็นที่ 3 (1000477)
การก่อหนี้ของคู่สมรสต้องได้รับความยินยอของคู่สมรสด้วยคับ แล้วได้เซ็นยินยอมหรือรับทราบหรือเปล่าคับ
ผู้แสดงความคิดเห็นวันที่ตอบ 2007-06-13 21:20:59 IP : 202.5.89.60


ความคิดเห็นที่ 4 (1000479)
ต้องรับผิดชอบในส่วนสินสมรสของฝ่ายชาย สินสมรสคือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสของชายและหญิง พูดง่ายๆ คือทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกัน เมื่อหย่ากันก็ต้องแบ่งครึ่งหนึ่ง เมื่อตายและฝ่ายใดมีหนี้ ก็ต้องนำสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นไปชำระก่อน เมื่อไม่พอก็ใช้สินสมรสในส่วนของฝ่ายนั้นไปชำระ เท่าที่ส่วนของตนมี ไม่กระทบสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด...ไม่ต้องกลัว...ไม่หมดตัวหรอกน้อง...

ผู้แสดงความคิดเห็น มั่วแม่น วันที่ตอบ 2007-06-13 21:21:41 IP : 202.5.89.60


ความคิดเห็นที่ 5 (1000481)
ต้องพิจารณาในแต่ละประเด็นคือ.
1.การก่อหนี้ของฝ่ายชายนั้น ได้ก่อหนี้ในเรื่องใด เป็นหนี้ส่วนตัว หรือ หนี้เนื่องจากกิจการของครอบครัว หรือ หนี้ส่วนตัวแต่ภริยาให้สัตยาบันแล้ว ถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีกับภริยา เจ้าหนี้สามารถฟ้องภริยาให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวได้ ส่วนทรัพย์สินที่จะนำมาใช้หนี้นั้นต้องเป็นสินสมรส หากไม่พอจำนำสินส่วนตัวของภริยามาใช้หนี้
2.หากเป็นหนี้ส่วนตัวของสามี (นอกจากข้อ 1.) และสามีเสียชีวิต และมีสินสมรส ทรัพย์สินในส่วนของสินสมรสของสามีจะตกเป็นมรดก เจ้าหนี้สามารถฟ้องทายาทให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวได้ แต่การรับผิดจะไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับมา
3.หากเป็นหนี้ส่วนตัวของสามี และสามีตายแต่ไม่มีสินสมรส ไม่มีทรัพย์สินใดของสามีที่จะตกเป็นทรัพย์มรดก เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิฟ้อง เรียกร้องจากทายาท แต่หากฟ้องทายาทสามารถต่อสู้คดีได้
หมายเหตุ สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส หรือ ดอกผลของสินส่วนตัว ยกเว้น ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนสมรส หรือ การได้รับทรัพย์โดยทางมรดก หรือ เครื่องใช้ส่วนตัว
ผู้แสดงความคิดเห็น พงส. วันที่ตอบ 2007-06-13 21:23:31 IP : 202.5.89.60


ความคิดเห็นที่ 6 (1000495)
มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่
ไม่ได้
มาตรา 1496 คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ ฝ่าฝืน มาตรา1449มาตรา1450 และ มาตรา1458 เป็นโมฆะ
คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบxxxของคู่สมรส อาจร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสีย
จะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้
มาตรา 1488 ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้
ก่อไว้ ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่ พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น
มาตรา 1489 ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจาก
สินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับ
ครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลใน
ครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีก
ฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน
มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ
กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น
มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี
ซื้อ ทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่
บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่
ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส /สกม 1
ผู้แสดงความคิดเห็น สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม วันที่ตอบ 2007-06-13 21:31:23 IP : 202.5.89.60


ความคิดเห็นที่ 7 (1000502)
แต่ถ้าหาก ไม่มีใครยอมใช้หนี้ล่ะค่ะ จะทำยังไงและอยากทราบว่าจะผิดกฎหมายตามมาตราข้อใหนบ้างค่ะ และเป็นกฎหมายประเภทใหนค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น มายองนัง วันที่ตอบ 2007-06-13 21:34:58 IP : 202.5.89.60


ความคิดเห็นที่ 8 (1000503)
สรุปสั้นๆ หลังจากเลิกกันการหนี้ของสามีไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายในครัวเรือน และฝ่ายหญิงไม่ยินยอม สามีต้องรับผิดชอบหนี้จำนวนนี้แต่เพียงผู้เดียว โดยใช้หนี้จากทรัพย์สินส่วนตัวของสามีก่อน จากนั้นแบ่งสินรสคนละครึ่งเป็นของสามีเท่าไรก็เอาไปใช้หนี้เท่านั้น สำหรับการสมรสซ้อนเป็นโมฆะ สมัยนี้ไม่น่าจะมีการจดทะเบียนซ้อนเพราะเป็นระบบออนไลน์แล้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น พงส.น. วันที่ตอบ 2007-06-13 21:35:36 IP : 202.5.89.60



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.