ReadyPlanet.com


เพื่อนบ้านเจาะรูมาขออาศัยระบายน้ำลงรางบ้านเราแต่ทำผิดข้อตกลงเราจึงปิดรูนั้น และเขาก้ฟ้องเรียกค่าเสีย


 พอดีมีหมายศาล นัดไตร่สวนมูลฟ้องมา หาบ้านเรานัดไปศาลวันที่12/9/60 คดีเรียกค่าเสียหาย ข้อหาทำลายทรัพย์สินเขา /แต่เรื่องนี้โจทย์ ยื่นเรื่องขอดำเนินคดีเอง โดยไม่ผ่านพนักงานสอบสวน ....., 

"" เนื้อเรื่องก้คือ "
บ้านเรากะโจทย์ ทั้ง4 เขาติดกัน โดยที่บ้านโจทย์ทั้ง4หันหลังให้บ้านบ้านเราแล้วทีนี้ บ้านโจทย์ เขาไม่มีทางระบายน้ำ จะไประบายข้างหน้าก้ไม่ได้ เพราะเปนที่สาธารณะ เลยมาขออาศัยใช้รางบ้านเราด้วยการเจาะรูตรงกำแพงบ้านเพื่อให้น้ำไหลลงรางระบายบ้านเราโดยมีข้อตกลงกันปากป่าว ตามประสาเพื่อนบ้าน ก่อนทำว่าห้ามเปนน้ำที่เปนสิ่งปฏิกูล น้ำอุจาระปัสสาวะ น้ำเหม็น ได้แค่น้ำชำระล้างจาน อาบน้ำเท่านั้น หากผิดสัญญาเราจะปิดรู ต่อมา บ้านโจทย์ทั้งสี่ ทิ้งสิ่งน้ำเสีย ออกกมาส่งกลิ่นเหม้น สร้างความเดือดร้อน ผิดข้อตกลงกัน เพราะมันไหลมารางระบายบ้านเรา ชาวบ้านเขาก้มาว่าบ้านเราว่าเหม็น ส่งกลิ่นเหม็น บ้านเราก้เลยไปตักเตือนโจทย์ทั้ง4ว่า ให้แก้ไขด้วย ตอนนี้มันเหม้นห้ามทิ้งน้ำเสียตามตกลงกันไว้ แต่ก้ไม่ได้รับการแก้ไข หลายครั้งที่บ้านเราไปเตือนโจทย์ก้จะใช้คำพูดประชดประชันไม่ดีใส่และไม่ดำเนินการใดๆ จนกระทั่งเราตัดสินใจแจ้งผู้ไหญ่บ้านว่าจะปิดรางระบายน้ำล่ะนะ ไม่อยากให้โจทย์ใช้แล้ว เตือนโจทย์หลายครั้ง โจทย์ก้ไม่แก้ไขอะไร และพูดไม่ดีใส่ โดยมีหนังสือแจ้งผุ้ไหย่บ้านรับทราบ แล้ว และผู้ไหญ่บ้านก้เซนรับทราบแล้ว บ้านเราก้เลยจ้างช่างมาปิดรูนั่นที่อยู่กับรางระบายน้ำ เพื่อไม่ให้โจทย์ระบายของเสียเน่าเหม้นออกมา  /ต่อมาโจทย์แจ้งผู้ไหญ่บ้านมาไกล่เกลี่ย ผู้ไหญ่บ้านบอกว่า ทำไรไม่ได้ เพราะเปนกรรมสิทในบ้านเรา โจทย์ก้กลับบ้านไป /3-4วันต่อมา โจทย์พาตำรวจมาไกล่เกลี่ย แต่ตำรวจก้บอกทำไรไม่ได้ บ้านเราไม่ยอมเปนกรรมสิทบ้านเราโจทย์ก้กลับบ้านไป//  และโจทย์ก้เลย ไปฟ้องกับทนายเพื่อขอ ดำเนินคดีเอง เพื่อเรียกค่าาเสียหาย กับบ้านเราโทษฐานที่บ้านเราไปปิดรู เขา โดยบอกว่าเราทำความเดือดร้อนให้เขาเพราะ ต้องไปทำรางระบายน้ำไหม่ โดยมีค่าใช้จ่าย 2หมื่นกว่าบ้าน จึงฟ้องบ้านเราเพื่อให้จ่ายชดเชย ให้ เปนจำนวนเงิน2หมื่นกว่าบาท และค่าทนายทั้งหมด !!!! 
📍ซึ่งเราอยากรู้ว่า ในที่นี้ วันนัดไตรสวน ศาลจะถามอะไรบ้าง ?
📍ศาล จะพิจารณาเปนไปในแนวทางไหน ? 
ขอบคุณค่ะ 


ผู้ตั้งกระทู้ สุพัตรา :: วันที่ลงประกาศ 2017-08-13 17:31:25 IP : 182.232.74.43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4205989)

 เมื่อถูกฟ้อง

  ก็ควรมีทนายความช่วยเหลือ  ในการยื่นคำให้การต่อสู้ตามข้อเท็จจริงว่า ที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร  ถ้าไม่ยื่นคำให้การ อาจเสียเปรียบ  คือนำพยานหลักฐานเข้านำสืบโต้แย้งไม่ได้  ตามที่เล่า คุณคงไม่มีความผิด  ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย  แต่เมื่อถูกฟ้อง ก็จำเป็นต้องต่อสู้คดีไปตามขั้นตอน....คุณก็พลาดเอง  ที่ลืมนิทานเรื่อง "ชาวนากับงูเห่า"  จึงต้องเดือดร้อน  ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-08-14 05:13:12 IP : 101.51.44.220


ความคิดเห็นที่ 2 (4205999)

หนูควรจะปรึกษาทนาย เรื่องคำให้การ ในวันไตรสวน หรือทางที่ดี พาทนายไปด้วย ใช่ไหมค่ะ ? แต่ติดตรงที่ ทนายบอกให้ไปเองได้เลยไปเล่าให้ศาลฟังว่าเราได้รับความเดือดร้อนอย่างไร แล้วให้ศาลพิจารณา หากเรื่องไม่จบ เขาไม่ยอม เราไม่ยอม ค่อยสู้คดีทนายค่อยเข้าช่วย

ผู้แสดงความคิดเห็น สุพัตรา วันที่ตอบ 2017-08-14 09:30:10 IP : 182.232.67.189


ความคิดเห็นที่ 3 (4206013)

เมื่อถูกฟ้อง(ต่อ)

  การยื่นคำให้การ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ  เพราะการยื่นคำให้การ จะมีการระบุบัญชีพยานไว้ด้วย  ถ้าไม่ทำตามขั้นตอนนี้ ย่อมเสียเปรียบ  ในกรณีการเจรจาไม่เป็นที่ตกลง  ศาลก็คงให้สืบพยาน   คุณมีพยานสำคัญ   เช่น การแจ้งผู้ใหญ่บ้าน  การแจ้งตำรวจ  ซึ่งย่อมเป็นหลักฐานสำคัญว่า คุณได้รับความเดือดร้อน  ได้บออกล่าวยกเลิกสัญญา ให้ทำทางระบายน้ำมารางระบายน้ำของคุณแล้ว  เมื่อคุณใช้สิทธิปิดทางน้ำ คุณจึงไม่มีความผิด....ถ้าไม่ระบุบัญชีพยานเหล่านี้ไว้  ศาลอาจไม่ให้นำพยานเหล่านี้ มากล่าวอ้าง   คุณย่อมเสียเปรียบ...เรื่องศาลให้เจรจาประนีประนอมกันนั้น  คงมีอยู่แล้ว  แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องสืบพยาน  ถ้าไม่ระบุบัญชีพยานไว้  จะนำพยานมาสืบได้อย่างไร อาจแพ้คดีได้ง่ายๆ  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-08-14 13:04:30 IP : 101.51.75.173


ความคิดเห็นที่ 4 (4206039)

 ขอบคุณมากๆค่ะ ได้แนวทางที่แคบลงเยอะเลยค่ะ แล้วหนูจะเร่งดำเนินการในส่วนพยาน หลักฐานให้รัดกุม แล้วจะมา อัพเดตให้คุณทนายฟังอีกครั้งนะคะ ขอบพระคุณท่านทนายอย่างสูงค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุพัตรา วันที่ตอบ 2017-08-14 20:21:31 IP : 180.183.119.15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.