ReadyPlanet.com


ค่าส่วนกลางหมู่บ้านจัดสรร


ดิฉันซื้อบ้านในหมู่บ้านจัดสรร (บ้านมือแรก) ตอนโอน เจ้าของโครงการเขากำหนดให้เสียค่าส่วนกลางตามขนาดของที่ดินล่วงหน้า 1 ปีค่ะ และเขาแจ้งว่าเมื่อเฟสนี้ขายหมดจะให้ตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านจัดการกันเอง (ซึ่งขายหมดแล้ว แต่โอนยังไม่หมด) พอปีที่ 2 เฟสนี้ขาย/โอนได้หมดแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน และเจ้าของโครงการก็ขอเก็บค่าส่วนกลางปีที่ 2 และแจ้งว่าถ้าทุกเฟสเสร็จหมดจึงจะตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน และขณะเดียวกันก็ผุดโครงการขึ้นต่ออีกจนถึงเฟสที่ 6 ซึ่งช่วงนี้ก็มีการชะลอตัว (ที่เหลือก็ยังขายได้ไม่หมดเฟส แต่เปิดไปจนครบตามจำนวนที่ดินจัดสรรที่เขามีอยู่) ยังไม่ทราบว่าเมื่อไหร่จึงจะมีคณะกรรมการหมู่บ้าน และช่วงนี้เขาจะขอเก็บรายปีไปเรื่อยๆ ซึ่งรายละเอียดการใช้เงินที่เขานำมาชี้แจงให้ดูเมื่อปีแรกนั้น จะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายหลายอย่างที่เราได้รับบริการน้อยกว่าที่ควร เช่น ค่ากวาดถนนในหมู่บ้าน ซึ่งจริงๆ แล้วเขาก็เอาคนงานของเขาทำเอง แต่ส่วนใหญ่ก็ทำความสะอาดเฉพาะเฟสที่เขาสร้างไม่เสร็จ เราจะได้รับบริการในเรื่องค่าเก็บขยะ ไฟฟ้าตามถนน และร.ป.ภ. แต่ในส่วนอื่นเช่นโครงการมาขุดท่อประปาให้กับคนที่มาซื้อบ้าน(เฟสแรกเพิ่งขายได้ เพราะที่สามเหลี่ยมไม่สวย โครงการบอกจะปล่อยให้เป็นที่ว่าง แต่สุดท้ายก็มาสร้างบ้าน บอกจะอยู่เอง แต่แล้วก็ขาย) แล้วไม่ยอมทำให้เหมือนเดิม

พวกเราที่เป็นลูกบ้านต้องการที่จัดคณะกรรมการหมู่บ้านกันเองเฉพาะเฟสแรก (หรืออาจจะมีเฟสอื่นที่ขายไปแล้วด้วย) แต่โครงการก็ยังไม่ยอม พวกเราจึงพร้อมใจกันไม่จ่ายค่าส่วนกลาง (จริงๆ ก็ไม่อยากทำหรอกค่ะ ไม่อยากเอาเปรียบใคร นี่ก็ขึ้นปีที่ 3 แล้วที่เราอยู่ที่นี่) ซึ่งโครงการเองก็ยังคงให้บริการตามปกติ ดิฉันเองไม่อยากมีปัญหา แต่ก็ไม่รู้ข้อกฏหมายเกี่ยวกับการจัดสรรเช่นนี้ ใครควรรับผิดชอบในช่วงที่ยังไม่มีคณะกรรมการหมู่บ้าน และการเก็บตามกฏหมายกำหนดให้เก็บลักษณะใด

รบกวนคุณทนายช่วยให้ความรู้ข้อกฏหมายเกี่ยวกับบ้านจัดสรรในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ณัฐยา :: วันที่ลงประกาศ 2007-05-08 12:10:09 IP : 203.170.231.232


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (947661)

--ขอสรุปหลักการย่อๆดังนี้ครับ.....เมื่อจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ผู้โอนและผู้รับโอนต้องยื่นคำขอการโอน...และสำเนาข้อบังคับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่...ดังนั้นคุณผู้ซื้อบ้านน่าจะทราบรายละเอียดของข้อบังคับของหมู่บ้านจัดสรรนั้นมาแต่แรก  ถ้าไม่ได้เก็บไว้ควรขอสำเนาจากเจ้าของโครงการ  ข้อบังคับจะมีสาระคัญคือ    ชื่อโครงการ... วัตุประสงค์     ที่ตั้ง   จำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องชำระล่วงหน้า     ทรัพย์ส่วนกลาง   การจัดการทรัพย์ส่วนกลาง   อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ของแต่ละราย  การเรียกประชุม    การแต่งตั้ง อำนาจหน้าที่วาระการดำรงตำแหน่งการพ้นตำแหน่งของผู้จัดการโครงการ    เป็นต้น

-เจ้าของร่วม(เจ้าของบ้านแต่ละราย) มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการได้ไม่เกิน 9 คน   การแต่งตั้ง  การดำรงตำแหน่ง  อำนาจหน้าที่  การพ้นจากตำแหน่ง  ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่

-การประชุมใหญ่ให้มีขึ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จดทะเบียนโครงการนั้นๆให้เป็นนิติบุคคล และประชุมใหญ่ปีละครั้งเป็นอย่างน้อย

--ปัญหาของคุณแสดงว่าไม่มีคณะกรรมการบริหารจัดการตามที่กฎหมายกำหนด  เพราะกฎหมายเขียนไว้ไม่ค่อยรัดกุมเท่าที่ควร  คือถ้าเจ้าของโครงการไม่จัดการให้มีคณะกรรมการก็ไม่ได้มีบทลงโทษที่ชัดเจน  ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของมหาดไทยที่บังคับกฎหมายก็ไม่ได้ให้ความรู้แก่ประชาชนแต่อย่างใดจึงเกิดปัญหาขึ้นเกือบทุกโครงการในประเทศครับ

--คำแนะนำให้คุณติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่เขต  หรืออำเภอให้เขาช่วยกำกับดูแลให้เจ้าของโครงการปฏิบัติตามกฎหมายคือให้มีคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการในหมู่บ้านเพื่อไม่ให้เจ้าของร่วมถูกเอารัดเอาเปรียบจนเกินไป

    หรือ แจ้งไปที่ สคบ. ให้เขาช่วยดำเนินการ ถ้ามีคณะกรรมการควบคุมน่าจะช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2007-05-09 04:54:02 IP : 125.26.106.209


ความคิดเห็นที่ 2 (3073844)

คุณณัฐยา อยู่หมู่บ้านเดียวกันกับผมแน่เลย ม ภัทรไพรเวท ใช่มั๊ย ผมก็อึดอัดมาก กำลังหาคนหัวอกเดียวกันอยู่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอส วันที่ตอบ 2009-11-09 16:43:35 IP : 61.91.73.21


ความคิดเห็นที่ 3 (3246436)

ถ้าหมู่บ้านไหนยังไม่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลฯ หน้าที่ในการจ่ายค่าดูแลบริการสาธารณูปโภค เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรทั้งหมด จะนำเงินที่เก็บจากลูกบ้านมาจ่ายไม่ได้ เช่น ค่าดูแลสวน รวมถึงคนกวาดถนน  ค่าน้ำประปาส่วนกลาง ค่าซ่อมถนน ค่าลอกท่อระบายน้ำ จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์พื้นที่ส่วนกลางให้กับนิติบุคคลฯก่อน ส่วนค่าบริการสาธารณะสามารถจัดเก็บได้ตามอัตราที่ได้แจ้งไว้ในตอนขออนุญาตจัดสรร ถ้ามีการจัดเก็บ บ้านที่ยังขายไม่ได้ผู้จัดสรรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบร่วมด้วยจนกว่าจะขายบ้านได้ ค่าบริการสาธารณะได้แก่ ค่าไฟฟ้าแสงสว่างถนน ค่าขยะ ค่าพนักงานอ็อฟฟิต ค่าพนักงานรักษาความปลอดภัย ส่วนเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน ผมว่าไม่จำเป็นจะต้องให้ทางผู้จัดสรรเป็นผู้จัดตั้ง ลูกบ้านทั้งหมดสามารถเรียกประชุมและจัดตั้งได้เอง แล้วแจ้งให้กับผู้จัดสรรทราบ คณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมายในการบริหารหมู่บ้านอยู่แล้ว จนกว่าจะจัดตั้งเป็นนิติบุคคล  แต่สามารถเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของหมู่บ้านได้ โดยถือว่าเป็นตัวแทนของพวกเราทุกคน เหมือนผู้นำชุมชน

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้จัดการนิติบุคคลฯ วันที่ตอบ 2011-05-27 22:40:24 IP : 125.24.224.21


ความคิดเห็นที่ 4 (4257996)

ถ้าหมู่บ้านที่เราซืืื้อมีค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายล่วงหน้าถึง 3 ปี เป็นส่วนของสระว่ายน้ำ ฟิตเนต และอื่นๆ แต่ถ้าสระว่ายน้ำ หรือว่าฟิตเนต หรือส่วนต่างๆ เหล่านี้ยังไม่ดำเนินการก่อสร้างเลย เราซึ่งซื้อบ้านและโอนบ้านแล้ว เรามีสิทธ์ฺทียังจะไม่จ่ายได้หรือไม่ค่ะ เพราะ ยังไม่มีการดำเนินการก่อสร้างส่วนกลางให้ลูกค้าเลย จึงขอเรียนถามท่านผู้ทราบค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น มยุรี ธนากร วันที่ตอบ 2018-06-16 12:29:46 IP : 124.183.133.130


ความคิดเห็นที่ 5 (4288735)

ซื้อบ้านใหม่ เก็บล่วงหน้าส่วนกลาง 2 ปี และครบกำหนดมาปีกว่าแล้ว พึ่งมีจดหมายให้ชำระค่าส่วนกลาง เป็น ราย 3 เดือน และราย 6 เดือน แต่มา ณ ปัจจุบันนี้ มากำหนดให้จ่ายที่ค้างให้ครบ หรืออย่างน้อย ต้องค้างชำระ ไม่เกิน 3 เดือน ถ้าเกินเค้าจะไม่ให้มาเก็บขยะ บ้านที่ค้างชำระเกิน ซึ่งกรณีนี้ ต้องทำงัยครับ ตอนนี้ยังไม่มีการแต่งตั้งนิติ ของหมู่บ้าน โครงการบอกยังขายไม่หมด  รบกวนด้วยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น จำเริญ (te9225-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-01-09 16:57:34 IP : 125.24.1.171


ความคิดเห็นที่ 6 (4291697)

 จ่ายครับ ค่าสระว่ายน้ำ ค่า รปภ. ค่าไฟทาง ทางตัดหญ้า รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาด sport club ฯลฯ ผมจ่ายตั้งแต่ซื้อ แต่ปัญหามันมีว่า บ้านที่ยังขายไม่หมด โครงการต้องจ่ายค่าส่วนกลางให้กับบ้านที่ขายไม่หมด ตอนไหน จ่ายเมื่อ ปิดโครงการหรือหลังตั้งนิติฯ

ผู้แสดงความคิดเห็น เปรม วันที่ตอบ 2019-01-24 20:41:38 IP : 118.174.180.8



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.