ReadyPlanet.com


ช่วยวินิจฉัยหน่อยครับ ลองคุยกับเพื่อนเเล้วมันไม่ตรงกัน


นายหน่ึงทาสัญญาจะขายที่ดินให้แก่นายสอง โดยยินยอมให้นายสองใช้ประโยชน์ในท่ีดินนั้นก่อนได้ ต่อมานายสองเอาที่ดินท่ีจะซื้อนั้นไปทาสัญญาเช่าซื้อกับนายสาม และนายสามได้ส่งเงินตามงวดเรื่อยมาจนครบทุกงวด ตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งพอดีกับที่นายสองได้รับโอนกรรมสิทธ์ิในที่ดินจากนายหนึ่งมาพอดี
(1) ผู้ให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินก่อนหรือขณะทาสัญญาเช่าซื้อเสมอหรือไม่ อย่างไร
 (2) จงวินิจฉัยว่า นายสามจะได้กรรมสิทธ์ิในที่ดินท่ีเช่าซื้อจากนายสองหรือไม่ อย่างไร 


ผู้ตั้งกระทู้ เพท :: วันที่ลงประกาศ 2020-04-03 02:25:29 IP : 171.101.101.218


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4369589)

 การเช่าซื้อ

(1) ผู้ให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินก่อนหรือขณะทาสัญญาเช่าซื้อเสมอหรือไม่ อย่างไร

ตอบ....แม้ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์  ก็สามารถให้เช่าซื้อได้  สัญญาจึงไม่เป็นโมฆะ  ตาม แนวคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 4912/2554 ที่ยกมาข้างล่าง
 (2) จงวินิจฉัยว่า นายสามจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เช่าซื้อจากนายสองหรือไม่ อย่างไร 

ตอบ  นายสามย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผ่อนงวดครบถ้วน  นายสองต้องโอนที่ดินให้นายสาม...ถ้าไม่โอนให้ ก็ฟ้องให้โอนให้ตามสัญญาเช่าซื้อได้...



ฎีกาที่ 4912/2554


  การที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันโดยมิได้ฝ่าฝืนอำนาจของเจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้อ แม้โจทก์ที่เป็นฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้ออันเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติ มาตรา 572 ของป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 เช่าซื้อ ที่กำหนดให้เจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้ แต่กรณีนี้มีลักษณะพิเศษโดยเจ้าของทรัพย์สินให้ความยินยอมทำให้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและมาตรา 572 ก็มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้สัญญาเช่าซื้อจะแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย มาตรา 572 แต่ก็เป็นสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อที่มิใช่เจ้าของทรัพย์สินได้รับความยินยอมของเจ้าของทรัพย์สินให้นำทรัพย์สินออกให้เช่าซื้อได้จึงไม่เป็นโมฆะมีผลผูกพันคู่กรณี กรณีนี้เป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาไปก็ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246 มาตรา 247
 


 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2020-04-03 08:24:13 IP : 118.174.77.59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.