ReadyPlanet.com


ร่างพินัยกรรม


อยากทราบว่า อัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการร่างพินัยกรรม ที่บ.ปมุข ประมาณเท่าไหร่ครับ ร่างเสร็จต้องการให้ทนายความเซ็นเป็นพยานได้ด้วยหรือไม่


ผู้ตั้งกระทู้ คนเดินดิน :: วันที่ลงประกาศ 2007-05-01 01:41:40 IP : 202.57.173.190


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (934642)

--ขออนุญาตเสนอความคิดเห็นเรื่องของพินัยกรรมเพื่อเป็นกรณีศึกษาของผู้ใฝ้รู้ทุกท่านครับ...

--พินัยกรรมสามารถทำได้หลายแบบคือ

   -แบบที่ 1 ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีที่ทำ  และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน   พยานต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น..(ป.แพ่งฯ ม.1656)

      -แบบที่ 2 พินัยแบบเขียนเองทั้งฉบับ  โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเอง ซึ่งข้อความทั้งหมด วันเดือนปี  และลายมือชื่อของตนเอง(การพิมพ์ลายมือ หรือแกงได หรือตราประทับใช้ไม่ได้) (ป.แพ่งฯ ม.1657)

      -แบบที่ 3 เป็นเอกสารฝ่ายเมือง  โดยผู้ทำพินัยไปแจ้งต่ออำเภอพร้อมพยานอย่างน้อยสองคน ให้ฝ่ายอำเภอจดแจ้งการทำพินัยกรรม  อ่านให้ฟัง  และให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้ ฝ่ายอำเภอลงลายมือชื่อ และวันเดือนปี และประทับตราประจำตำแหน่ง(ป.แพ่งฯม.1658)

      -แบบที่ 4 พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลายมือชื่อในพินัยกรรม  ผนึกซองลงลายมือชื่อคาบรอบผนึก   นำพินัยกรรมไปที่อำเภอพร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้ถ้อยคำว่าเป็นพินัยกรรมของตน ฝ่ายอำเภอจดถ้อยคำและลงวันเดือนปีประทับตราตำแหน่ง..(ป.แพ่งฯม.1660)

--ที่จริงมีพินัยกรรมอีกหลายแบบขอนำเสนอเพียงเท่าที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่

-แบบพินัยกรรม(แบบที่ 1)

                    พินัยกรรม

เขียนที่...............

วันที่....เดือน...ปี..

      ข้าพเจ้า.................เลขประจำตัวประชาชน...............อายุ.....ปี ที่อยู่.....ชื่อบิดา.........ชื่อมารดา.........ได้ทำพินัยกรรมเพื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าดังนี้

    -ระบุทรัพย์มรดกชิ้น(ถ้าเป็นเอกสารสิทธิ์ระบุทะเบียนให้ชัดเจน)ใดมอบให้ใคร(ระบุชื่อ/สกุล  เลขประตัวประชาชน..ชื่อบิดา/มารดาเป็นต้น)

         ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์  ปราศจากการถูกข่มขู่หรือการกระทำการใดๆที่ข้าพเจ้าไม่อาจขัดขืนได้ และได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 2 คน

     -เอกสารแนบท้ายคือสำเนาบัตรประจำตัวของผู้ทำพินัยกรรมและพยานที่ลงลายมื่อชื่อรับรองสำเนาเอกสารแล้ว

           ลงชื่อ...............ผู้ทำพินัยกรรม

           ลงชื่อ...............พยาน

           ลงชื่อ...............พยาน

--นี่เป็นเพียงตัวอย่างซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมครับ   จะให้ทนายความลงลายมือเป็นพยานด้วยหรือไม่ก็ได้

--ข้อดีข้อเสียของพินัยกรรม

      -ข้อดี  เมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิตลงทรัพย์มรดกสามารถแบ่งสันปันส่วนไปในหมู่ทายาทหรือบุคคลที่เจ้ามรดกต้องการได้อย่างลงตัวไม่มีปัญหาโต้แย้งในหมู่ทายาทว่าใครควรได้รับทรัพย์ส่วนใด เพราะเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาไว้แล้วอย่างชัดเจน

--ข้อเสีย

      -อาจมีการโต้แย้งว่าพินัยกรรมปลอมหรือผู้ทำพินัยกรรมถูกข่มขู่หรือถูกหลอกให้ทำพินัยกรรมด้วยความหลงผิด  ย่อมทำให้การแบ่งมรดกยุ่งยากได้

     -เรื่องเล็กๆน้อยๆอาจทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ได้   เช่นพยานลงลายมือในภายหลัง  ดังที่เป็นข่าวใหญ่ ทำให้พินัยมีปัญหาได้

   -ถ้าเจ้ามรดกไม่อยู่กับร่องกับรอยหรือเลอะเลือนไปเพราะวัยสูงขึ้น  อาจเขียนพินัยกรรมขึ้นหลายฉบับและมอบทรัพย์มรดกชิ้นเดียวกันแก่ทายาทหลายคน ผลคือพินัยกรรมฉบับล่าสุดเท่านั้นที่ใช้บังคับได้  ซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดหมางในหมู่ญาติได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2007-05-01 09:21:16 IP : 125.26.106.94



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.