ReadyPlanet.com


พินัยกรรม


พ่อได้ทำพินัยกรรมไว้ 1 ฉบับ ที่อำเภอ  ต่อมาพ่อเสียชีวิตลง ลูกจึงไปขอพินัยกรรมที่อำเภอ ปรากฎว่าพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อำเภอลืมเซ้นต์ชื่อไป 1 คน จึงเป็นเหตุให้พี่น้องบางคนที่ต้องการผลประโยชน์มากกว่าอ้างว่าพินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ  ซึ่งมันก็เป็นโมฆะไปแล้วเพราะทางอำเภอทำผิดพลาด  ดังนั้นจึงเป็นปัญหาว่าจะไปฟ้องร้องต่อศาลโดยขอเปลี่ยนผู้จัดการมรดกและขอเปลี่ยนเจตนาของผู้ตายจากเดิมผู้ตายให้แบ่งมรดกให้เท่ากันทุก  แต่พี่ชายคนโตไม่ยอมจะขอเป็นผู้จัดการมรดกเองและขอแบ่งมรดกเอง แต่น้อง ๆ ไม่ไว้ใจเพราะเขามีอคติกับน้อง ๆ และน้องก็เป็นลูกแม่ใหม่ 2 คน ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับพ่อแต่ก็อยู่กินกันมานาน 33ปี  ชาวบ้านรับรู้และส่งเสียค่าเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนทั้งหมด  แต่ไม่ได้รับรองบุตร  อย่างนี้มีสิทธิได้รับพินัยกรรมหรือไม่  ส่วนพี่น้องพ่อแม่เดียวกันมี  5  คน อยากถามว่า

1. ถ้าขึ้นศาลขอเปลี่ยนผู้จัดการมรดก  ศาลจะถามความคิดเห็นของญาติพี่น้องหรือไม่  ว่ายอมหรือไม่

2.  และเจตนาเดิมของผู้ตายในพินัยกรรมนั้นยังใช้ได้หรือไม่  ถึงแม้ว่าพินัยกรรมนั้นจะเป็นโมฆะ  เพราะในพินัยกรรมได้ระบุให้แบ่งให้เท่ากันทุกคนที่มีรายชื่อระบุไว้ในพินัยกรรม

3. พินัยกรรมเป็นโมฆะเป็นการทำงานสับเพร่าของเจ้าหน้าที่อำเภอ  ซึ่งชาวบ้านอย่างเราไม่เข้าใจอย่างนี้ทางอำเภอเขามีสิทธิจะรับผิดชอบกับเราอย่างไรบ้าง  และทำให้เป็นปัญหาระหว่างพี่น้องจนถึงทุกวันนี้

4. ผู้จัดการมรดกเดิมทีเดียวพวกน้อง ๆ  และหลาน ๆ อยากให้เป็นผู้จัดการที่ผู้ตายตั้งมากกว่า  ไม่อยากให้เปลี่ยนผู้จัดการมรดกเลย  อย่างนี้เราคัดค้านได้หรือไม่

ขอรบกวนช่วยดอบหน่อยนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ(ด่วนมากค่ะ)

 



ผู้ตั้งกระทู้ นุช :: วันที่ลงประกาศ 2007-05-12 21:13:09 IP : 58.147.126.29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (953278)

-ถ้าคุณเป็นบุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้อง  น่าจะไม่มีสิทธิรับมรดกของบิดา  การเป็นบิดาตามความเป็นจริงและมีประชาชนทั่วไปรับทราบน่าจะใช้เป็นประโยชน์ในการรับมรดกไม่ได้......เว้นแต่บิดาทำพินัยกรรมมอบทรัพย์มรดกให้ครับ

1.ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียสามารถร้องศาลขอเปลี่ยนผู้จัดการมรดกได้  ถ้าผู้จัดการมรดกกระทำการที่ไม่สุจริตในการแบ่งปันทรัพย์มรดก   สำหรับคุณถ้าเป็นบุตรที่บิดามารดาไม่จดทะเบียนสมรสน่าจะไม่มีสิทธิร้องขอได้ครับ

2.  เมื่อพินัยกรรมเป็นโมฆะย่อมใช้ไม่ได้ทั้งหมด    แต่ถ้าทายาทมีความสมัครสมานสามัคคีปรองดองกันย่อมสามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกตามเจตนาที่แท้จริงของพินัยกรรมแม้เป็นโมฆะนั้นได้เสมอครับ     แต่....ทรัพย์สินเงินทองไม่เข้าใครออกใคร  ทายาทบางคนเมื่อทราบว่าถ้าแบ่ง 7 ส่วนย่อมได้ทรัพย์ส่วนแบ่งน้อยลง   เมื่อทราบว่าน้องต่างมารดา  2 คน  เกิดจากการไม่จดทะเบียนสมรสของบิดามารดาจึงถือโอกาสตัดคุณออกจากกองมรดก  ซึ่งเป็นเรื่องที่เศร้าและน่าเห็นใจครับ

3. อำเภอทำผิดพลาดแน่นอนต้องรับผิดต่อคุณที่ต้องสูญเสียสิทธิในการรับมรดก  คุณสามารถฟ้องร้องให้เขารับผิดได้  แต่..ก็ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ก่อนดำเนินการ   เพราะต้องว่ากันอีกยาวครับ

4. ทำได้ตามข้อ 1.

คำแนะนำ....จากที่คุณเล่ามาแสดงว่าพี่ชายคนโตมีปัญหาเพียงผู้เดียว  ถ้าพี่น้องคนอื่นๆยังเห็นอกเห็นใจคุณในฐานะที่มีบิดาคนเดียวกัน   คุณควรปล่อยให้เขาแบ่งทรัพย์มรดกไปตามปกติไม่ต้องโต้แย้งให้ยุ่งยาก   ตัวอย่างถ้าที่ดินที่เป็นมรดก  100  ไร่  ทายาทโดยธรรมแบ่ง 5 ส่วนเท่าๆกันจะได้คนละ  20ไร่    พี่น้อง 4 คนได้รวม 80 ไร่  ถ้าเขาเห็นแก่สายเลือดจริงก็สามารถนำมาแบ่งใหม่  6 ส่วน คือเพิ่มคุณและน้องที่เกิดจากภรรยาใหม่  ก็จะได้ประมาณคนละประมาณ 13 ไร่   ถ้าสามารถทำได้ดังที่ผมแนะนำจะช่วยลดความหมาดหมางกันในหมู่ญาติไม่ต้องมีคดีฟ้องร้องกันให้เสียเวลาทำมาหากิน  คุณลองๆนำแนวทางนี้ไปพูดคุยในหมู่พี่ๆทั้ง 4 คน ถ้าเขายอมตกลงเรื่องน่าจะจบลงด้วยดีครับ.....และบางทีคุณจะได้พิสูจน์น้ำใจของพี่ๆในยามยาก ว่าใครจริงใจมากน้อยเพียงใด ด้วยความเห็นอกเห็นใจครับ

-ขอเพิ่มเติมครับ  คุณแม่ของคุณแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับคุณพ่อของคุณ  แต่ได้ทำมาหากินก่อร่างสร้างตัวกันมาเป็นเวลานาน ตามกฎหมายถือว่าเป็นหุ้นส่วนกัน  เมื่อคุณพ่อเสียชีวิต  คุณแม่คุณสามารถขอแบ่งทรัพย์มรดกที่ทำมาหาได้ร่วมกันได้มาครึ่งหนึ่งครับ    อย่าลืมให้คุณแม่ของคุณทวงสิทธิในส่วนนี้ด้วยครับ   แ ละพี่ชายคนโตไม่สามารถโต้แย้งใดๆได้เพราะเป็นสิทธิโดยผลของกฎหมายครับ    แนะนำให้หาทนายความที่ดีๆไว้ปรึกษาบ้างน่าจะดีนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2007-05-13 11:07:58 IP : 125.26.106.171



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.