ReadyPlanet.com


สอบถามเรื่องกฏหมายและความกระจ่างของ พรบ คอมพิวเตอร์ค่ะ


เนื่องจากทางดิฉันมีอาชีพคือเป็นผู้ให้บริการพื้นที่ในการจัดทำเวบไซต์ คือดิฉันจะซื้อเครื่อง server มาแล้วก็ลงโปรแกรมต่าง ๆ เเพ่อให้ใช้งานเป็น webserver ได้ หลังจากนั้นก็นำเครื่อง server เครื่องนั้นไปเช้าที่ ที่ กศท ค่ะ เช่ากับ datacenter รายหนึ่ง พอดิฉันเช่าพื้นที่ในการวางเครื่องได้แล้วก็ดำเนินการหาลูกค้ามาใช้บริการค่ะ ใน 1 เครื่อง server จะรับลูกค้าไม่เยอะค่ะ 120-150 คนค่ะ ดิฉันชำระภาษีถูกต้องตามกฏหมายค่ะ เรื่องมีอยู่ว่า

มีลูกค้ารายหนึ่งที่ใช้บริการพื้นที่ hosting ในเครื่อง server A เค้ากระทำกิจการที่เข้าข่ายการกระทำผิดค่ะ(มีหนังสือแจ้งมาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติแจ้งมาค่ะ) แต่ว่าลูกค้ารายอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องเดียวกันซึ่งเป็นบริษัท บุคคลธรรมดา รวมถึงชาวต่างชาติที่ทำธุรกิจในไทย ไม่ได้รับแจ้งว่ากระทำผิดและเค้าก็ทำเวบพวกส่งออก หรือแฟนคลับ โรงเรยน มูลนิธิ แม้กระทั่งเวบของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเอง (ในส่วนงานหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ก็ยังใช้บริการพื้นที่กับทางเราค่ะ แต่ดิฉันได้รับแจ้งให้ส่งข้อมูลของลูกค้าดิฉันทั้งหมดไปให้ทางตำรวจตรวจสอบ (ซึ่งกิจการของดิฉันก็ทำมาได้สักพักแล้ว และก็มีเครื่อง server มากกว่า 1 ค่ะ) ดิฉันสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แจ้งมาว่าทำไมไม่เอาข้อมูลทั้งหมดของ เจ้าของเวบไซต์ที่เค้าแจ้งมาว่าทำความผิดคะ เพราะลูกค้ารายอื่นเค้าไม่เกี่ยวข้องและมันเป็นฐานข้อมูลลูกค้าของเราซึ่งไม่น่าจะเอามาเปิดเผยมันสำคัญกับธุรกิจเราด้วยน่ะค่ะ อีกทั้งหากลูกค้าท่านอื่นทราบเรื่องความน่าเชื่อถือของเราก็ลดลงกว่าจะอธิบายให้ลูกค้าทุกคนเข้าใจคงใช้เวลาและเป็นไปได้ยาก แต่ทางตำรวจกลับบอกว่า เอามาทั้งหมดหรือคุณจะรับผิดแทนลูกค้า

ดิฉันขอความกรุณาท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยให้คำตอบดิฉันด้วยนะคะ เพราะว่าธุรกิจตอนนี้นอกจะขายไม่ได้แล้วหนำซ้ำหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีกลูกค้าทั้งหมด (หลักพันราย)เค้าขอเงินคืนดิฉันก็ไม่รู้ว่าจะเอาจากใหนมาคืนพวกเขา ให้ได้แค่ชีวิตของดิฉันเองแหล่ะค่ะ

ขอถามดังนี้นะคะ

1 ดิฉันต้องให้ข้อมูลลูกค้าทั้งหมดที่มีไปให้ตำรวจตามที่เค้าแจ้งมาใหมคะ

2 หากตำรวจบอกว่าข้อมูลไม่ครบจะขออายัดเครื่อง โดยมีหมายศาล แล้วลูกค้าในเครื่องนั้นเสียหายเพราะเค้าก็ทำธุรกิจ ขาดรายได้ไป อันนี้ใครรับผิดชอบคะ

3 ทั้งนี้ดิฉันมีข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น log ที่เค้ากำหนด และที่อยู่ ชื่อ+นามสกุล และบริษัทที่คนกระทำผิดเค้าทำงานอยู่ และตอนนี้ก็ยังติดต่อได้มีตัวตนจริง ทำไมทางตำรวจไม่สนใจตรงนี้เพื่อจะดำเนินคดีคะ แต่สนใจข้อมูลลูกค้าดิฉันทั้งหมด หากไม่ให้ก็บอกว่า จะรับผิดแทนลูกค้าหรอ ตรงนี้ดิฉันจะทำอย่างไรคะ

4 ให้เช่าอพาทเมนต์ มีอยู่ 4 ตึก แต่ละตึกจะมี 150 ห้อง นาย ก ห้อง 30 ตึก a ทำผิด แต่ตำรวจจะขอข้อมูลลูกค้าทั้ง 4 ตึก 600 ห้อง ไปตรวจสอบ อย่างนี้สามารถทำได้ใหม ในเมื่อตำรวจก็รู้ว่า นาย d ห้อง 39 ตึก a ทำผิดทำไมไม่จับแค่นาย ก คะ

ทั้งนี้ดิฉันเครียดมากเลยค่ะนอกจากจะเครียดกับพิษเศรษฐกิจว่าจะหาค่าเทอมและข้าวให้ลูกรับประทานในแต่ละวันอย่างไร ยังต้องมาเครียดกับเรื่องนี้อีกค่ะ ทั้งนี้ในอาทิตย์หน้าดิฉันต้องเดินทางไปตามจดหมายที่ทางตำรวจส่งมาพร้อมทั้งข้อมูลที่เค้าขอแล้วค่ะ

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงในคำตอบนะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ รักชนก ดีรอด :: วันที่ลงประกาศ 2007-11-07 09:56:25 IP : 203.170.212.180


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1242444)

1. ตามกฎหมายคุณจำเป็นต้องให้ข้อมูลพนักงานเจ้าหน้าที่ครับ

2.  ถ้ามีคำส่งศาลหรือคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่คุณจำเป็นต้องปฏิบัติตามครับ  ถ้าฝ่าฝืนอาจถูกปรับไม่เกิน 200,000  บาท หรือปรับวันละ  5,000  บาทจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง.......ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่นำข้อมูลไปเปิดเผยโดยมิชอบมีโทษจำคุกไม่เกินสามปีครับ

3-4  กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องศาล  เพื่อสั่งให้ผู้บริการส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล   ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับผู้ให้บริการที่ต้องทำมาหากินโดยสุจริต   ผู้ยกร่างกฎหมายคงมองว่า  ผู้ประกอบการบางราย ใช้คอมพิวเตอร์  ไปในทางเสื่อมเสียทั้งศีลธรรมอันดีและเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ  ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว  จำเป็นต้องมีเครื่องในการสกัดกั้นอย่างมีประสิทธิภาพ  คุณจึงพบปัญหาดังที่ประสบอยู่ครับ    จงอดทนต่อไปเถิดครับ  คงมีวันของคุณบ้าง  ขอให้กำลังใจ...

-ขอแนะนำให้คุณ เข้าไปค้นคว้าดู  พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ.  2550  ใน  www.krisdika.go.th   เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบการในธุรกิจนี้ด้วยความปลอดภัยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2007-11-07 20:52:44 IP : 125.26.107.253



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.