ReadyPlanet.com


pleas help me to answer this.


จากที่ได้รับคำตอบเกี่ยวกับการจัดมรดก ของวันที่ 17 มกราคม มีข้อสงสัยเพิ่ม ค่ะ
หลังจากน้าสาวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งของศาล ระยะเวลาที่เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นระยะเวลาประมาณ
7-10 ปี (แต่ผู้จัดการมรดกมิได้แบ่งแยกมรดกให้กับพี่น้องตามที่ยายได้ตกลงไว้) ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้จัดการมรดกและน้องชายได้นำโฉนดที่ดินแปลงแรก นำไปเข้าธนาคารโดยที่ ตัวพี่สาวคนโตไม่ได้รับรู้ (ส่วนที่นำไปเข้าธนาคารเป็นส่วนที่ยายได้เอ่ยปากที่จะยกให้พี่สาวคนโต มีพยานรู้เห็นและตัวทายาทรับรู้กันทั้งหมด)หลังจากผู้จัดการมรดกได้นำโฉนดที่ดินผืนแรกไปเข้าธนาคาร และกู้เงินออกมาจำนวนหนึ่ง และน้องชายได้ย้ายไปอยู่ในบ้านของพี่สาวคนโต โดยได้ต่อเติ่มส่วนหลังของบ้านหลังนั้นเป็นห้องแถว โดยที่ตัวน้องชายเองได้รายได้ทุกๆเดือน จากที่ดินของพี่สาวคนโต เป็นระยะเวลาประมาณเกือบๆ 3 ปี หลังจากนั้นไม่นาน ผู้จัดการมรดกและน้องชายได้ทะเลาะกัน น้องชายได้ติดต่อมาหาพี่สาวคนโตโดยที่เจราจาที่จะซื้อที่ที่ตัวน้องชายได้อยู่อาศัยและต่อเตื่มเป็นห้องแถวจากพี่สาวและต้องการที่จะแลกที่บางส่วน พี่สาวคนโตได้ตกลงที่จะขายที่ส่วนนั้นให้และแลกที่บางส่วนกันโดยมิได้ทำสัญญาไดๆเพียงตกลงกันโดยมีพยานรู้เห็น  หลังจากเวลาล่วงเลยมาประมาณ 3 เดือน พี่สาวได้มาตกลงให้น้องชายทำสัญญาเป็นลายลักอักษร โดยที่ผู้จัดการมรดกยินดีที่จะกระทำเป็นสัญญาทุกประการ แต่ตัวน้องชายไม่ตกลงที่จะทำสัญญาไดๆทั้งนั้นและไม่ยินดีที่จะยอมจ่ายส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้

    ข้อสงสัยมีอยู่ว่า  1) ผู้จัดการมรดกและน้องชายนำที่ไปเข้าธนาคารได้อย่างไร โดยที่พี่สาวคนโตไม่ได้เซ็น   ยินยอมไดๆทั้งนั้น

                               2) พี่สาวคนโตสามารถที่จะฟ้องร้องที่จะเรียกร้องสิทธที่ตนสมควรจะได้รับคืนได้ไหมๆ ถ้าได้จะใช้เวลาในการฟ้องร้องนานขนาดไหน

      ขอบคุณที่ตอบคำถามของดิฉันนะคะ และขอขอบคุณสำหรับเว็ปไซ้ดีๆที่คอยช่วยเหลือคนจนที่ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

          พลอยจรัส



ผู้ตั้งกระทู้ polyly :: วันที่ลงประกาศ 2008-01-23 03:49:24 IP : 84.238.88.228


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1423020)

1.ผู้จัดการมรดกเปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้ามรดก   สามารถจำหน่ายจ่ายแจก  จดทะเบียนโอนเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้เสมือนเป็นเจ้าของทรัพย์สินเอง.....ดังนั้นการนำไปค้ำประกันเงินกู้จากธนาคาร  เขาจึงสามารถทำได้เสมอ

2.  การที่ผู้จัดการมรดกไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมตามสิทธิ์ของแต่ละคน  ทายาทสามารถฟ้องร้องให้ถอดถอนผู้จัดการมรดกได้  หรือขอให้แบ่งปันตามสิทธิได้  ภายในอายุความ  10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-01-23 16:26:27 IP : 125.26.108.139


ความคิดเห็นที่ 2 (1423081)

ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ หลักๆ อยู่ 2 อย่างครับ คือ รวบรวมทรัพย์มรดก แล้ว นำมาแบ่งปันให้กทายาท

ผู้จัดการมรดก ไม่มีอำนาจ หรือหน้าที่ในการนำทรัพย์มรดกไปจำนอง หรือเป็นหลักประกันเงินกู้ครับ  ซึ่งโดยทั่วไป ทางธนาคารเค้าก็จะไม่รับจำนอง กับผู้จัดการมรดก ครับ

สัปดาห์ ก่อน แม่ คุณพลอยมาพบผม ๆ ได้ให้คำแนะนำไปแล้วครับ ว่า ควรตรวจสอบก่อน ว่า มีการจดทะเบียนจำนองทรัพย์มรดก ในส่วนแม่จริงหรือไม่ หากเป็นการจดทะเบียนจำนองจริง เป็นการจดทะเบียน ในฐานะผู้จัดการมรดก หรือในฐานะทายาท ที่ได้รับโอนมรดกมาแล้ว ซึ่งแม่คุณพลอย ก็รับปากว่าจะไปทำการตรวจสอบที่ สนง.ที่ดิน แล้วนำเอกสารมาให้ ตรวจสอบครับ

การตรวจสอบ เพื่อดูว่า ที่ดินแปลงดังกล่าว ผจก.มรดก ได้โอนไปหรือยัง และการจำนอง กระทำในรูปแบบใด ซึ่งจะแยกเป็น 2 กรณีครับ คือ

กรณีแรก ถ้าหากการตรวจสอบ แล้วพบว่า ผจก.มรดกนำทรัพย์มรดกไปจำนองในนาม ผจก.มรดก จริง ก็ถือได้ว่า ผจก.มรดกทำให้กองมรดก และทายาท ได้รับความเสียหายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากทายาท  ซึ่งอาจจะต้องฟ้อง ขอให้เพิกถอนผจก.มรดก หรือฟ้องให้เพิกถอนการจำนองต่อไป ซึ่งกรณีนี้ใช้เวลาประมาณ 6 -12 เดือน ขึ้นอยู่กับ การตกลงของทั้งสองฝ่าย ด้วยครับ

กรณีต่อมา หากตรวจสอบแล้วพบว่า ผจก.มรดก ทำการโอน ที่ดินในส่วนที่จะต้องโอนให้แก่แม่คุณ ไปให้แก่ ตัวเอง หรือให้แก่น้องชาย ในฐานะทายาท แล้ว กรณีนี้ อาจจะเข้าข่ายปิดบังทรัยพ์มรดก หรือยักยอกทรัพย์มรดก ซึ่งทำให้ทายาทเสียหาย อาจจะฟ้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดก และเรียกที่ดินคืนได้ ครับ

ซึ่งสามารถดำเนินคดีได้ทั้งสองกรณี

แต่ปัญหานี้ ก็ไม่ได้ง่าย อย่างที่บอก เพราะว่า ยังมีอุปสรรค์อยู่หลายอย่าง คือ

    1. ตอนที่คุณตา ยกให้ ทำโดยวาจา ไม่ได้ทำเป้นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากฟ้องเรียกคืน ในกรณีนี้ อาจจะมีปัญหาในภายหลัง เพราะการยกที่ดินให้ ต้องทำเป็นหนังสือ และไปจดทะเบียน ครับ หากไม่ดำเนินการดังกล่าว การยกให้เป็นโมฆะ ถึงแม้จะมีพยานบุคคลยืนยัน หรือทางฝ่าย ผจก.มรดก และทายาท อีกคนจะยอมรับก็ตาม

      2.ที่ดินแปลงที่จะต้องยกให้แม่คุณ (พี่สาวคนโต) มีภาระจำนอง กับสถาบันการเงิน ซึ่ง ธนาคารที่รับจำนอง เค้าไม่ทราบเรื่องภายในระหว่าง ผจก.มรดก และทายาท เมื่อมีคนนำที่ดินมาจำนอง ก็ต้องรับจำนอง กรณีถือว่ารับจำนองไว้โดยสุจริต กฎหมายก็ต้องคุ้มครองให้ ถ้าแม่คุณฟ้องขอเพิกถอนสัญญาจำนอง แม่คุณก็ต้องนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองที่ รับไว้โดยสุจริต ครับ จึงจะเพิกถอนจำนองได้  

      3.ที่ดินแปลงที่จะยกให้แม่ คุณ ปรากฏว่า น้องชาย ซึ่งเป็นทายาท อีกคนหนึ่ง ไปปลูกสร้างอาคาร ในที่ดิน ซึ่งไม่ปรากฏในชั้นนี้ ว่ามีการปลูกสร้าง โดยสุจริต หรือไม่ ซึ่งจะต้องฟ้องให้ น้องชาย ของแม่ให้ทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน อีกครั้งหนึ่งครับ

       ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากๆ และไม่แน่ว่า จะได้ผล ตามที่ต้องการหรือเปล่า โดยผมได้เสนอให้แม่ คุณพิจารณา แนวทางดังนี้ คือ

       1. ยื่นฟ้องขอแบ่งมรดก โดยนำที่ดินทั้งสองแปลง มารวม คำนวณ แล้วแบ่งเนื้อที่ออกเป็น 3 ส่วน ๆ ละเท่าๆ กัน แต่ว่าโดยสภาพ ไม่สามารถทำ ได้ เพราะว่า มีการปลูกสร้างอาคารลงไปในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้พื้นที่ถูกจำกัด ด้วยตัวอาคาร  ผมก็ได้เสนอให้แบ่งที่ดินออกเป็น 4 ส่วนๆ ละเท่าๆ กัน จำนวน 3 ส่วน ไปตามพื้นที่ของอาคาร และส่วนที่เหลือแบ่งกันไม่ลงตัว ให้ใส่ชื่อร่วมกัน ทั้ง 3 คน หรือ หากคนใด มีเงินจะซื้อเฉพราะส่วนนั้น ก็ได้ครับ

         2. เปิดการเจรจา กับน้องชายของแม่ ให้ น้องชายของแม่ ทำการ หาสถาบันการเงินใหม่ เพื่อกู้ และนำเงินมาชำระหนี้กับสถาบันการเงินเดิม และซื้อที่ดินของแม่คุณไป ตามราคาที่ตกลงกัน ครับ เพราะ หากคำนวณ ตามราคาประเมินแล้ว ราคาที่ดินยังพอคุ้มกับหนี้ ที่ค้างชำระ  ซึ่งวิธีการนี้จะดี กว่า วิธีฟ้องกันครับ เพราะ ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายต่างๆ  

ไม่ทราบว่าเป็นคำตอบที่ต้องการหรือเปล่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข วันที่ตอบ 2008-01-23 17:00:18 IP : 58.8.101.112



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.